วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด
วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด หรือ -0.08% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,735.61 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,729.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 61,332.08 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.GPSC ปิดที่ 70.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,349.48 ลบ. 2.EA ปิดที่ 55.75 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 2,294.61 ลบ. 3.ADVANC ปิดที่ 218.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย […]
BF Monthly Economic Review มิ.ย. 2562
BF Economic Research สรุปประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน มิ.ย. 2562 ในช่วงเดือน มิ.ย. ภาพเศรษฐกิจยังคงดู Soft ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แต่ตลาดกลับให้ผลตอบแทนที่ดีเนื่องด้วยตลาดมีความคาดหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในแง่ของพื้นฐานของเศรษฐกิจเรายังไม่คิดว่า Fed จะด่วนปรับทิศทางนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วขนาดนั้น เพราะตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ก็ยังแข็งแกร่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ยังขยายตัวได้ แต่ในแง่นัยยะของการลงทุนนั้น เรายังคิดว่าความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยยังมีอยู่ ผนวกกับตลาดก็ยังก็มีความคาดหวังผลสัมฤทธิ์ในเรื่องการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่ง ณ ตอนนี้ สองความคาดหวังนี้ก็เป็นแรงส่งให้ตลาดให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ดี ตามที่เรียนไปข้างต้นว่า ตลาดเคลื่อนไหวด้วยความคาดหวัง นั่นหมายความว่า หากตลาดหวังผิดทาง ตลาดก็อาจจะปรับตัวลงมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น นักลงทุนอาจจะต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง ในช่วงตลาดขาขึ้นด้วย เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ณ ตอนนี้ ยังไม่ได้ดีขนาดนั้น สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจรายประเทศนั้น เราพบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเทศในกลุ่ม East Asia ได้รับผลกระทบจาก […]
สภาเศรษฐกิจโลกร่วมมือเนเธอร์แลนด์-แคนาดาทดสอบการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบ
สภาเศรษฐกิจโลก ร่วมกับรัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์ และแคนาดา เปิดตัวโครงการต้นแบบการเดินทางแบบไร้กระดาษ (เปเปอร์เลส ทราเวล) ระหว่าง 2 ประเทศที่สนามบินมอนทรีออล แคนาดา โดยโครงการต้นแบบนี้จะใช้งานแพลตฟอร์มชื่อว่า Known Traveller Digital Identity (KTDI) ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มแรกที่ทำให้สามารถใช้ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลของนักเดินทางสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศแบบไร้กระดาษได้ โดยแพลตฟอร์มนี้จะทำงานร่วมกับระบบของพันธมิตร มีการทดสอบภายในปีนี้ คาดว่าจะเปิดตัวการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบได้ช่วงต้นปี 2020 โครงการต้นแบบนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ได้แก่ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง สนามบิน ผู้ให้บริการเทคโนโลยี และสายการบิน สร้างระบบที่ใช้งานร่วมกันเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยและราบรื่น “ในปี 2030 คาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางระหว่างประเทศทางอากาศ 1,800 ล้านคน เพิ่มขึ้น 50% จากปี 2016 ซึ่งระบบปัจจุบันในสนามบินไม่สามารถรองรับได้ โครงการนี้จะเสนอทางเลือกใช้ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่ใช้งานร่วมกันได้ ผู้โดยสารจะได้ประโยชน์จากระบบเรื่องความปลอดภัยและการเดินทางไร้รอยต่อ เปลี่ยนอนาคตการบินและความปลอดภัย” Christoph Wolff หัวหน้าฝ่ายโมบิลิตี้ สภาเศรษฐกิจโลก กล่าว KTDI เป็นข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่ใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งเชื่อมโยงกับเอกสารประจำตัวบุคคลที่รัฐบาลออกให้ (อีพาสปอร์ต) […]
Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจกลุ่ม CLM
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา กัมพูชา เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2018 เติบโตสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ 7.5% (ประมาณการเบื้องต้น) จาก 7.0% ในปี 2017 โดยการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก การส่งออกรองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดขยายตัว 17.6% ในปี 2018 มากที่สุดในรอบ 5 ปี ด้านเศรษฐกิจในประเทศก็ยังขยายตัวได้ดี เห็นได้จากการนำเข้ารถยนต์และเหล็กที่เป็นตัวชี้วัดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศและการก่อสร้างในประเทศที่มีการขยายตัว 50% และ 48% ตามลำดับ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจาก -9.7% ต่อ GDP เป็น -10.4% แต่ได้รับการชดเชยด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2018 ที่ 13.4% […]
Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจเวียดนาม
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP เวียดนาม ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 6.8% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 7.3% YoY ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกของปี เกิดจากแรงส่งสำคัญจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 8.6% YoY (Prev.8.9% YoY) ประกอบกับภาคบริการที่ขยายตัว 6.5% YoY (Prev.7.0% YoY) ทั้งนี้ การขยายตัวของภาคการผลิตที่มีแนวโน้มเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนุนให้เศรษฐกิจของเวียดนามมีโมเมนตัมที่เติบโต สะท้อนภาพการได้รับประโยชน์จากประเด็นการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จากยอดคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IP) เดือน พ.ค.2019 ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.0% YoY (จากเดือนก่อนที่ 9.3% YoY) ซึ่งแม้ว่าจะชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี ซึ่งหลักๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิตและแปรรูปซึ่งคิดเป็น 80% ของภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามทั้งหมด […]
Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจสิงคโปร์
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา จากประมาณการสุดท้าย (Final Estimate) GDP ของสิงคโปร์ ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 1.2% YoY ต่ำกว่าการประมาณการก่อนหน้า (Advanced Estimate) และในไตรมาสก่อนหน้าที่ 1.3% โดย GDP ไตรมาส1/2219 นี้ขยายตัวในอัตรา ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส นับตั้งแต่ ไตรมาส4/2015 เป็นผลเนื่องมาจาก GDP ภาคการผลิตที่พลิกมาหดตัวในรอบ 3 ปี โดยได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน บวกกับการอ่อนแรงลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ ประกอบกับ GDP ภาคบริการชะลอลงสองไตรมาสติดต่อกัน (โดยในไตรมาส 4/2018 และไตรมาส 1/2019 ภาคบริการขยายตัวต่ำที่ 1.5% YoY) อย่างไรก็ดีในรายสาขาธุรกิจ เราพบว่า ภาคการก่อสร้างฟื้นตัวหลังจากหดตัวยาวนานกว่า 2 ปี […]
Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจฟิลิปปินส์
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 5.6% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลงที่ 7.4% YoY เป็นหลัก (Prev. 12.6% YoY) เนื่องจากความล่าช้าในการผ่านร่างงบประมาณประจำปี 2019 ซึ่งประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต เพิ่งลงนามเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ยังคงได้รับแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่มีโมเมนตัมขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวที่ 6.3% YoY (Prev. 5.3% YoY) สำหรับการขาดดุลการค้าของของฟิลิปปินส์ในเดือน เม.ย. อยู่ที่ -3,499 ล้านดอลลาร์ฯ เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขาดดุล -3,140 ล้านดอลลาร์ฯ อันเนื่องมาจากการส่งออกเดือน เม.ย. ปรับตัวลงมาที่ 5,506.24 ล้านดอลลาร์ฯ ต่ำกว่าเดือนก่อนที่ 5,913.86 ล้านดอลลาร์ฯ ขณะที่ การนำเข้ายืนอยู่ที่ระดับ […]
Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจมาเลเซีย
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.7% YoY (Prev. 8.4% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่พลิกมาหดตัวที่ -3.5% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 0.6 % YoY โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวที่ -13.2 % YoY เนื่องมาจากการชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐกลับขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.3% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.0 % YoY ส่วนการส่งออกแทบไม่ขยายตัว (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.1% YoY) ซึ่งเป็นการสะท้อนผลกระทบของสงครามการค้าต่อการส่งออกของมาเลเซียโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มาเลเซียเกินดุลการค้าในไตรมาส1/2019 รวม 36,900 ล้านริงกิต หรือขยายตัว 10.7% YoY […]
Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจอินโดนีเซีย
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจอินโดนีเซียในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 อินโดนีเซียขยายตัวที่ 5.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 5.2% YoY โดยการบริโภคขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ 5.0% YoY เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ลงทุนขยายตัวชะลอลงที่ 5.0% จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.0% YoY ในทางตรงกันข้ามการส่งออกและการนำเข้าหดตัวลง -2.1% YoY (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 4.3%) และ -7.8% YoY (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 7.1%) ตามลำดับ สะท้อนภาพการชะลอลงของความสามารถในการส่งออกที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สำหรับการค้าระหว่างประเทศของอินโดนีเซียพบว่าดุลการค้าในเดือนพ.ค.พลิกกลับมาเกินดุลได้ที่ 207.6 ล้านดอลลาร์ฯจากเดือนก่อนที่ขาดดุล -2,286.5 ล้านดอลลาร์ฯ ผลจากการนำเข้าที่หดตัวสูงกว่าการส่งออก แต่หากพิจารณาดุลการค้า 5 เดือนติดต่อกันก็ยังขาดดุลสุทธิที่ -2,142 ล้านดอลลาร์ฯ ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 ในระยะข้างหน้ายังคงมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย จากผลการเลือกตั้งที่ออกมาตามความคาดหมาย โดยการกลับมาเป็นผู้นำของนายโจโค วิโดโด […]
Economic Update Thailand Uncategorized
Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจไทย
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับแรงส่งจากการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหนุนจากยอดขายรถยนต์ที่ทำ New High ทุกเดือน (ยอดขายรถยนต์ YTD อยู่ที่ 4.37 แสนคันทำลายสถิติยอดขายรถยนต์ในช่วงเดียวกันในรอบหลายปี) มีส่วนช่วยหนุน GDP ในไตรมาส 1/2019 (2.8% YoY vs prev 3.6% YoY) ค่อนข้างมาก ส่วนการบริโภครายสินค้าอื่นๆ นั้น ไม่มีรูปแบบการขยายตัวที่ชัดเจน ซ้ำยังเห็นการหดตัวของการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนในบางเดือน เป็นการสะท้อนถึงการแตกแยกของการใช้จ่ายของคนไทย กล่าวคือกลุ่มคนรายได้สูงมีอำนาจการซื้อมากขึ้นแต่คนรายได้ต่ำกลับลดการบริโภค ด้านการลงทุนภายในประเทศนั้น เราพบการลงทุนในภาคเอกชนที่ชะลอลงและการลงทุนภาครัฐหดตัว แสดงให้เห็นว่านักลงทุนรอความชัดเจนด้านการเมือง ส่วนการส่งออกของประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2018 ถึงเดือน พ.ค. ได้หดตัวต่อเนื่องในเกือบทุกรายสินค้าสำคัญอันเป็นผลจากฐานสูงปีก่อนและผลจากสงครามการค้าส่งผลให้การส่งออกไปจีนหดตัวในหลายรายการ เช่น ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง, เคมีภัณฑ์, ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์ไทยทำสถิติสูงสุดทุกเดือน (คัน) ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 ความเสี่ยงและแนวทางด้านนโยบาย เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าปีก่อนจากการส่งออกสินค้า […]