IMF แนะธนาคารในเอเชียเข้มนโยบายการเงิน หลังเสี่ยงหนี้ท่วม
กฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการ แผนกเอเชียและแปซิฟิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) กล่าวว่า นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางเอเชียส่วนใหญ่ยังต้องรัดกุมและเข้มงวดต่อไป เนื่องจาก เงินเฟ้อสูงเกินเป้าหมาย และสกุลเงินอ่อนค่าลง จากแรงหนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา สกุลเงินเอเชียจำนวนมากอ่อนค่าลง “ค่อนข้างมาก” เพราะค่าเงินสหรัฐฯ ตึงตัว นำไปสู่ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น ผลักดันให้ต้นทุนการนำเข้าสำหรับประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้น กฤษณะ ประเมินว่า เงินเฟ้อจะถึงจุดสูงสุดภายในสิ้นปี 2565 และการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยนเงินจำนวนมาก จะเป็นฉนวนให้อัตราเงินเฟ้อสูงและอยู่นานขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ทั่วโลกขยับอัตราดอกเบี้ยอย่างเข้มข้น เราจึงต้องการให้ยกระดับนโยบายการเงินเอเชียให้เข้มงวดเร็วขึ้น “ปัจจัยเรื่องค่าเงินและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการเงินในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมีหนี้สินสูง และขณะนี้ เอเชียเป็นลูกหนี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว และหลายประเทศมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาหนี้สิน” ด้าน Sanjaya Panth รองผู้อำนวยการ แผนกเอเชียและแปซิฟิกของ IMF เปิดเผยกับรอยเตอร์ วานนี้ (13 ตุลาคม 2565) ว่า หนี้ที่เพิ่มขึ้นของเอเชียส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในประเทศจีน แต่ยังเห็นได้ในประเทศเศรษฐกิจอื่นๆ “เราไม่สามารถตัดเรื่องความตึงเครียดในบางตลาดออกได้ แต่สถานะการเงินที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในบางประเทศทำให้เราสบายใจ […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 12 ต.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,560.78 จุด ลดลง 1.90 จุด (-0.12%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 12 ต.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,560.78 จุด ลดลง 1.90 จุด (-0.12%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,557.74 จุด และสูงสุดที่ 1,567.03 จุด มูลค่าการซื้อขาย 47,612.63 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ AOT ปิดที่ 71.00 บาท ลดลง 0.50 (-0.70%) มูลค่าการซื้อขาย 1,823.28 ลบ. DELTA ปิดที่ 640.00 บาท ลดลง 26.00 (-3.90%) มูลค่าการซื้อขาย 1,625.44 ลบ. BANPU ปิดที่ 12.70 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 (+0.79%) มูลค่าการซื้อขาย 1,508.67 […]
สายการบินเอเชีย ‘เพิ่มเที่ยวบิน’ ‘ค่าตั๋วยังแพง’ เหตุขาดแคลนแรงาน
หลังจากหลายประเทศเริ่มใช้นโยบายอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 เปิดพรมแดน อนุญาติให้ผู้คนเดินทางไปมาหาสู่กันได้ ล่าสุดเว็บไซต์ข่าวซีเอ็นบีซี รายงานวานนี้ (11 ต.ค.) ว่า เที่ยวบินจำนวนมาก ที่ถูกยกเลิกระหว่างการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เริ่มกลับมาดำเนินการอย่างคึกคัก อีกครั้งในเดือนต.ค.นี้ เริ่มจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส และสกู๊ต ประกาศเพิ่มเที่ยวบินหลายสิบเที่ยวไปยังเมืองต่างๆ ทั่วเอเชีย เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นและการจำกัดพรมแดนที่เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น โดยสายการบินทั้งสองแห่งประกาศเพิ่มเที่ยวบินระหว่างสิงคโปร์และญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวันมากขึ้น สายการบินสกู๊ตเปิดบริการเที่ยวบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวไปยอกยาการ์ตาและเปกันบารู ในเดือนต.ค.หลังจากเที่ยวบินส่วนใหญ่สามารถกลับมาให้บริการได้เต็มที่แล้ว แต่สกู๊ตเพิ่มเส้นทางใหม่ 2-3 เส้นทางในเดือนนี้ โดยจะเริ่มบินจากสิงคโปร์ไปยังลอมบอกและมากัสซาร์ ประเทศอินโดนีเซีย อีกทั้งสายการบินสกู๊ตยังเพิ่มเที่ยวบินแบบไม่แวะพักตามฤดูกาลไปยังซัปโปโรด้วย สายการบินทั้งสองแห่งกำลังเตรียมพร้อมเพื่อเพิ่มเที่ยวบินไปจีน สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส โดยเปิดบริการสู่กรุงปักกิ่ง ในเดือนก.ย. ในเดือนนี้ ก่อนจะเริ่มบินไปเฉิงตู และให้บริการเที่ยวบินไปเสิ่นเจิ้น ซึ่งที่ผ่านมา สายการบินให้บริการไปเมืองต่างๆ ของจีนแล้ว 4 เมือง โดยมีเที่ยวบินไปอู่ฮั่นและเจิ้งโจว ซึ่งจะเริ่มในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม สกู๊ตไม่ใช่ผู้ให้บริการสายการบินประหยัดเพียงแห่งเดียวที่เพิ่มเที่ยวบินในภูมิภาค สายการบินเซบู แปซิฟิก […]
BBLAM เสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 6/22’ วันที่ 12-18 ต.ค.นี้
BBLAM เสนอขาย IPO กองทุนรวมรวมบัวหลวงธนรัฐ 6/22 หรือ Bualuang Thanarat 6/22 เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ IPO 12-18 ตุลาคม 2565 รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า BBLAM เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมรวมบัวหลวงธนรัฐ 6/22 หรือ Bualuang Thanarat 6/22 (B6/22) อายุประมาณ 6 เดือน ประมาณการผลตอบแทน 0.90% ต่อปี ขนาดโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 10,000 บาท สำหรับ บัวหลวงธนรัฐ 6/22 จะนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 11 ต.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,562.68 จุด ลดลง 7.89 จุด (-0.50%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 11 ต.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,562.68 จุด ลดลง 7.89 จุด (-0.50%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,559.22 จุด และสูงสุดที่ 1,569.13 จุด มูลค่าการซื้อขาย 51,876.61 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ CPALL ปิดที่ 55.00 บาท ลดลง 0.75 (-1.35%) มูลค่าการซื้อขาย 2,081.23 ลบ. AOT ปิดที่ 71.50 บาท ลดลง 1.00 (-1.38%) มูลค่าการซื้อขาย 1,674.20 ลบ. DELTA ปิดที่ 666.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 (+0.60%) มูลค่าการซื้อขาย 1,616.65 […]
ญี่ปุ่น เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 68 ประเทศ ฟรีวีซ่า เดิมพันรายได้
ญี่ปุ่นเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยว 68 ชาติ เดินทางเข้าประเทศ โดยไม่ต้องขอวีซ่า วันแรก รับอานิสงส์เยนอ่อนค่า หวังท่องเที่ยวฟื้นเศรษฐกิจเท่ายุคก่อนโควิด ท่ามกลางปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคบริการ วันที่ 11 ตุลาคม 2565 บลูมเบิร์ก รายงานว่า ญี่ปุ่นกลับมารับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ผ่านการฉีดวัคซีนตามที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จาก 68 ประเทศ โดยไม่ต้องมีวีซ่าอีกครั้ง ในวันนี้ (11 ต.ค.) นับเป็นการสิ้นสุดการควบคุมชายแดนที่เข้มงวดในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ ญี่ปุ่นเผชิญค่าเงินเยนเทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าทำสถิติต่ำสุดในรอบศตวรรษ อัตราเงินเฟ้อค่อนข้างคุมได้ ทำให้ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ในราคาที่ไม่แพง นักท่องเที่ยววัย 32 ปี รายหนึ่งบอกกับบลูมเบิร์กว่า นี่เป็นโอกาสพิเศษที่จะได้เดินทางทันที หลังจากที่พรมแดนเปิดแล้ว โดยเขาเตรียมการเดินทางเข้าญี่ปุ่น ในวันที่ 12 ต.ค. และพักอยู่นานกว่า 1 สัปดาห์ พร้อมกับวางแผนจะใช้จ่ายเล็กน้อย แม้ราคาอาหารและโรงแรมในญี่ปุ่นตอนนี้จะมีราคาที่ดี เพราะเงินเยนอ่อนค่าลงก็ตาม ญี่ปุ่นพึ่งพาท่องเที่ยว หวังฟื้นเศรษฐกิจให้เทียบเท่าก่อนโควิด ญี่ปุ่นในฐานะหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจร่ำรวยกลุ่มบนสุดของโลก […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 ต.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,570.57 จุด ลดลง 9.09 จุด (-0.58%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 ต.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,570.57 จุด ลดลง 9.09 จุด (-0.58%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,562.35 จุด และสูงสุดที่ 1,573.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 53,323.57 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTT ปิดที่ 34.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,000.07 ลบ. CPALL ปิดที่ 55.75 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+3.72%) มูลค่าการซื้อขาย 2,926.61 ลบ. BANPU ปิดที่ 12.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 (+2.44%) มูลค่าการซื้อขาย 1,426.23 ลบ. DELTA ปิดที่ […]
ทุนสำรองญี่ปุ่นลดฮวบเป็นประวัติการณ์ ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดด้วยงบเงิน 2.8 ล้านล้านเยนป้องกันเยนร่วง
ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นลดลง 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังความวุ่นวายในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อมูลค่าตราสารหนี้ต่างประเทศ จึงทำให้ญี่ปุ่นต้องเข้าแทรกแซงเพื่อสกัดการไหลลงของเงินเยน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.238 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 โดยข้อมูลจากกระทรวงการคลังประกาศออกมาหลังจากที่ได้มีการเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา โดยใช้วงเงินถึง 2.8 ล้านล้านเยน หรือ 1.932 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาเพื่อพยุงค่าเงินเยน ก่อนหน้านี้ ตลาดตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขายพันธบัตรสหรัฐฯ เพื่อเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราหลังจากที่เงินเยนญี่ปุ่นปรับตัวร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 24 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการรายงานของกระทรวงการคลังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันข้อสังเกตของตลาด เนื่องจากมูลค่าหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรสหรัฐฯ ที่สำรองไว้มีการลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม นายชูนิชิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะยืนยันเรื่องดังกล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าแทรกแซงตลาด โดยระบุกับนักข่าวว่าตัวเลขที่ลดลงนั้นส่วนหนึ่งมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดที่ลดลงจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากของพันธบัตรรัฐบาล รวมถึงมูลค่าเงินดอลลาร์สหรัฐของสินทรัพย์ยุโรป ที่ค่าเงินก็อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการขายสกุลเงินต่างประเทศเพื่อทำการแทรกแซง แม้ว่าในปีนี้ โดยเฉพาะในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับค่าเงินในอีกหลาย ๆ ประเทศจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด มีความเข้มงวดกับนโยบายการเงินอย่างแข็งกร้าว ส่งผลให้เกิดความไม่สงบในตลาดการเงิน ที่สำคัญอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่สูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของการขึ้นดอกเบี้ยยังทำให้มูลค่าตราสารหนี้ทั่วโลกลดลงด้วยเช่นกัน […]
BF Monthly Economic Review EU India Japan
BBLAM Monthly Economic Review ตอน ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย…ท่ามกลางข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM ยูโรโซน ในช่วงเดือนที่ผ่านมา Sentiment เชิงลบยังคงกดดันตลาดยูโรโซนอยู่ต่อเนื่อง และเมื่อมองไปข้างหน้าในไตรมาส 4/2022 ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิด Downside risk ได้อีกมาก โดยหลักๆ คือ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ช่วงนี้กลับมามีท่าทีแข็งกร้าวกันมากขึ้น รวมถึงการตอบโต้ของฝั่งตะวันตกที่เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย ทั้งนี้ อีกหนึ่งความผันผวนที่เข้ามากระทบดัชนีหุ้นยุโรปเมื่อช่วงปลายเดือนก.ย. ที่ผ่านมา คือ การที่รัฐบาลอังกฤษประกาศมาตรการลดภาษี ซึ่งเป็นการลดครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่า จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านไปทั้งในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดเงินที่ผันผวนอย่างมากในช่วงสัปดาห์นั้น โดยปอนด์อ่อนค่าแรง จนเกือบจะแตะระดับ 1 ปอนด์ต่อ 1 ดอลลาร์ฯ ส่งผลให้หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษออกมากล่าวว่า จะไม่ยื่นเสนอแผนนี้เข้าสภาแล้ว เนื่องจากเผชิญแรงต้านทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน และส.ส. ภายในพรรคเอง […]
B-GLOB-INFRA BBLAM Weekly Investment Insights
BBLAM Weekly Investment Insights 10-14 ตุลาคม 2022
2022 – Opportunities are never lost INVESTMENT STRATEGY ปัจจุบันพอร์ตกองทุนหลักของ B-GLOB-INFRA มีสัดส่วนรายได้สัมพันธ์โดยทางตรง และทางอ้อม กับภาวะเงินเฟ้อประมาณ 90 – 95% นั่นหมายความว่า รายได้ของธุรกิจที่ลงทุนตามสัญญารัฐจะชดเชยให้ตามเงินเฟ้อ หรือในกรณีที่เป็นค่าบริการก็มีโอกาสปรับตามภาวะเงินเฟ้อ ผู้จัดการกองทุน LM ClearBridge Global Infrastructure Income Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-GLOB-INFRA ให้ข้อมูลอัพเดทความเคลื่อนไหวของพอร์ตลงทุน และเล่าถึงผลกระทบกรณีที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นกรณีการปรับเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตร รวมถึงโอกาสลงทุนของกองทุนที่มีต่อไปในปี 2023 สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนที่ผ่านมา หุ้นที่กองทุนลงทุนจะได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งผู้จัดการกองทุนเองมองว่า ผลกระทบตรงนี้เกิดขึ้นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะหุ้นที่กองทุนลงทุนในพอร์ตตอนนี้ ส่วนมากเป็นหุ้นของธุรกิจประเภท Regulated utilities เช่น สายส่งไฟฟ้า ท่อส่งน้ำ เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้จะมีรัฐเป็นคนควบคุม ซึ่งรวมถึงรายได้ด้วยที่มักจะมีการตกลงปรับเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าบริการอาจจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของระบบราชการซึ่งทำให้ระยะสั้นล่าช้าไปบ้าง และด้วยเหตุนี้สิ่งที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งในอดีต คือ […]