B-GLOBAL B-GLOBALRMF BBLAM Weekly Investment Insights
BBLAM Weekly Investment Insights 25-29 กันยายน 2023
The Rise of Asia INVESTMENT STRATEGY BBLAM X WELLINGTON MANAGEMENT “ผู้จัดการกองทุนเชื่อว่าในระยะถัดไปอันใกล้ ด้วยแรงหนุนจากที่หลายอุตสาหกรรมมีผลการดำเนินงานในแดนบวกจะช่วยดันตลาด นอกจากนี้ ทิศทางของตัวเลขการจ้างงานก็ดูสมเหตุสมผล รวมถึงโอกาสที่เงินเฟ้อจะปรับตัวลงมาและคลายความกดดันต่อ Fedในการขึ้นดอกเบี้ย” ผู้จัดการกองทุนจาก WELLINGTON MANAGEMENT ซึ่งบริหารจัดการกองทุนหลักให้กับ B-GLOBAL และ B-GLOBALRMF ของ BBLAM เปิดรายงานสรุปผลภาวะการลงทุนในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมกับเปิดมุมมองการบริหารพอร์ต โดยสรุปได้ว่า Market review ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคม เนื่องจากความเชื่อมั่นของตลาดได้รับผลกระทบจากข้อมูลเศรษฐกิจในจีนที่อ่อนตัวลง ราคาพลังงานที่สูงขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น แม้จะมีความกังวลว่าเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะเกิดขึ้น แต่ตลาดแรงงานก็ฟื้นตัวได้ อัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มลดลงในตลาดโลกส่วนใหญ่ แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ยังต้องจับตากันใกล้ชิด โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะคงดอกเบี้ยสูงต่อไปอีกนาน ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าการเติบโตในภูมิภาคสำคัญอื่นๆ จะชะลอตัวลง โดยเฉพาะยุโรปและจีน นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นจีนในจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่เศรษฐกิจของจีนถดถอย และวิกฤตหนี้ของหนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของจีนทำให้ตลาดการเงินสั่นคลอน และจุดประกายความกลัวเกี่ยวกับความเสียหายที่ฝังรากลึกต่อระบบสินเชื่อและเศรษฐกิจของจีน ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นในการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ทั่วโลกจากออสเตรเลีย เนื่องจากมีการนัดหยุดงานในโรงงาน LNG ที่สำคัญแห่งหนึ่ง […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ก.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,522.59 จุด เพิ่มขึ้น 8.33 (+0.55%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ก.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,522.59 จุด เพิ่มขึ้น 8.33 (+0.55%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,509.66 จุด และสูงสุดที่ 1,527.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 57,160.61 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ SCB ปิดที่ 103.50 บาท ลดลง 5.00 (-4.61%) มูลค่าการซื้อขาย 8,332.56 ล้านบาท PTT ปิดที่ 33.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 (+0.75%) มูลค่าการซื้อขาย 3,002.73 ล้านบาท KBANK ปิดที่ 126.00 บาท ลดลง 1.00 (-0.79%) มูลค่าการซื้อขาย […]
‘เงินเฟ้อญี่ปุ่น’ ส.ค.66 เหนือเป้าหมาย BOJ ติดต่อเป็นเดือนที่ 17
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นทรงตัวในเดือนสิงหาคม และอยู่เหนือเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ BOJ เริ่มพิจารณายกเลิกการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultra-loose Policy) โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด แต่รวมเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 3.1% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงกว่าการคาดการณ์เฉลี่ยของตลาดที่ระดับ 3.0% โดยดัชนี CPI พื้นฐานเดือนส.ค.ขยายตัวในระดับเดียวกับเดือนก.ค.ซึ่งอยู่ที่ 3.1% แม้ว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะกดดันค่าสาธารณูปโภค แต่ราคาอาหารและของใช้ในชีวิตประจำวันก็ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อคงที่กำลังครอบงำในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่ ดัชนีราคาบริการเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคม หลังจากเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งบ่งชี้ว่า ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่แรงกดดันด้านราคาในวงกว้างในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ส่วนดัชนี Core-Core CPI ซึ่งไม่รวมทั้งราคาเชื้อเพลิงและราคาอาหารสด เพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี และเป็นการขยายตัวในอัตราเดียวกับเดือนก.ค.เช่นกัน ที่มา: […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ก.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,514.26 จุด เพิ่มขึ้น 6.36 (+0.42%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ก.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,514.26 จุด เพิ่มขึ้น 6.36 (+0.42%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,503.23 จุด และสูงสุดที่ 1,517.37 จุด มูลค่าการซื้อขาย 42,372.48 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ BDMS ปิดที่ 26.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,452.33 ล้านบาท SCB ปิดที่ 108.50 บาท ลดลง 1.50 (-1.36%) มูลค่าการซื้อขาย 2,011.67 ล้านบาท PTT ปิดที่ 33.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,425.77 ล้านบาท AOT ปิดที่ 70.00 บาท […]
วิกฤตอสังหาฯ จีนกระทบเศรษฐกิจเอเชีย
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ระบุในรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียในปีนี้จะต่ำกว่าคาดเล็กน้อย เนื่องจากความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดความเสี่ยงในภูมิภาค ADB ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเอเชียในปี 2023 ลงเหลือ 4.7% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.8% ในเดือนกรกฎาคม ส่วนคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียในปีหน้า ที่ประกอบด้วย 46 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ถูกปรับเพิ่มเล็กน้อยเป็น 4.8% จาก 4.7% ก่อนหน้านี้ “เราเห็นการเติบโตของเอเชียที่ฟื้นกลับมาอย่างแข็งแกร่ง จากการบริโภคและการลงทุนภายในของแต่ละประเทศ แม้ว่าอุปสงค์จากภายนอกที่ลดลง จะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของประเทศผู้ส่งออก” อัลเบิร์ต ปาร์ค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ADB กล่าวในงานแถลงข่าว ADB ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเอเชียในภูมิภาคตะวันออก, ใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้ลง โดยจีนและอินเดียคาดว่าจะเติบโต 4.9% และ 6.3% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าคาดในเดือนกรกฎาคมที่ 5.0% และ 6.4% เล็กน้อย วิกฤตการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ของจีน […]
BBLAM House View: ตราสารหนี้ พระเอกการลงทุนในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
โดย วันภาสิริ พัฒนกิจการุณ BBLAM ภาพรวมตลาดการลงทุนครึ่งปีแรกนั้น ถึงแม้ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวขึ้นได้ดีกว่าคาด จากปัจจัยหนุนทางด้านเศรษฐกิจที่่ไม่ได้แย่ลงตามที่่เคยคาดไว้ และยังคงมีการเติบโตที่ดี ได้แก่ ดัชนีภาคการบริการ การใช้จ่ายภาคการบริโภค และอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ยในตลาดที่่เพิ่มมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ตามอัตราเงินเฟ้อที่่มีแนวโน้มผ่านพ้นจุดสูงสุด ตามรายงานดัชนี CPI ทั่วไป ก.ค. เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเหลือเพียง 3.2% จากจุดสูงสุดกว่า 9% ในปีที่แล้ว ทำให้มีแนวโน้มมากขึ้นที่ Fed จะยุติการดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นในครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะจากภาคบริการ หลังเงินออมส่วนเกิน (Excess Savings) หมดลง ประกอบกับสภาพคล่องในระบบที่่ลดลง Bond Yield ที่่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดัน Valuation ของตลาดหุ้น มีมูลค่าสูงเกินไป นักวิเคราะห์ประเมินว่า Forward P/E ของดัชนี S&P500 ควรเทรดที่่ระดับต่ำกว่า 17 เท่า […]
ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond)
โดย ศจิกา ชวนะศักดิ์ BBLAM Perpetual Bond หรือหุ้นกู้หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน เป็นตราสารหนี้ที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากนักลงทุนจากการที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไปค่อนข้างมาก แต่เรามักจะได้ยินประโยคในการลงทุนว่า High Risk High Return เสมอๆ ดังนั้น ผลตอบแทนที่สูงขึ้น จึงมาจากคุณสมบัติบางประการของ Perpetual Bond ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปดังนี้ ประการแรก Perpetual Bond ไม่มีกำหนดไถ่ถอน หรือไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ แตกต่างจากหุ้นกู้ทั่วไปที่กำหนดวันไถ่ถอนชัดเจน ซึ่งหมายความว่า หุ้นกู้อาจจะมีอายุยาวนานมากๆ ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้จึงมีความเสี่ยงในการได้รับคืนเงินต้นช้า หรืออาจจะไม่ครบจำนวนในกรณีที่บริษัทต้องเลิกกิจการ ถ้าหากผู้ถือหุ้นกู้ไม่ต้องการถือหุ้นกู้อีกต่อไป จะต้องขายในตลาดรอง ซึ่งมีความเสี่ยงจากการที่ราคาขายได้ต่ำกว่าที่คาดหวัง หรืออาจขายไม่ได้ตามเวลาที่ต้องการจากความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ประการที่สอง เนื่องจาก Perpetual Bond ไม่มีกำหนดวันไถ่ถอน จึงมักกำหนดให้ผู้ออกมีสิทธิในการไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนด (Call Option) เช่น ครบกำหนด 5 ปีนับจากวันที่ออกหุ้นกู้ โดยบริษัทส่วนใหญ่มักไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดอายุ […]
House view Investment Politics Thailand
BBLAM House View: การลงทุนในหุ้นไทยน่าสนใจมากขึ้น เมื่อการเมืองมีความชัดเจน
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การจัดตั้งรัฐบาลมีความชัดเจนมากขึ้นในเดือนนี้ บลจ.บัวหลวงคาดการณ์ นโยบายรัฐบาลที่มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการผลักดันก่อน (สะท้อนจากกระทรวงที่บริหารโดยพรรคแกนนำหลัก) ได้แก่ นโยบายที่สนับสนุนการบริโภค การท่องเที่ยว และคมนาคม สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม Tourism-related, และคมนาคม ตามลำดับ สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เราจะติดตามในระยะถัดไป จะเป็นอุตสาหกรรมที่อ้างอิงไปกับนโยบายที่ต้องอาศัยความชัดเจนด้านการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม เช่น นโยบายเกี่ยวข้องกับพลังงาน นโยบายสาธารณสุขและนโยบายที่เชื่อมโยงกับการสนับสนุนการลงทุน ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่ารัฐบาลจะเริ่มเมื่อไหร่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบด้านบวก ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านลบ จะเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและกลาง ด้านกลุ่มธุรกิจที่ใช้แรงงานในสัดส่วนสูง เช่น กลุ่มอาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ รับเหมาก่อสร้าง และการท่องเที่ยว รวมถึงภาคบริการอื่นๆ อาจจะได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกัน ขึ้นกับว่า 1) ธุรกิจเหล่านั้นสามารถ Pass-on ต้นทุนได้มากแค่ไหน 2) ธุรกิจเหล่านั้นมีฐานการผลิตในจังหวัดใด […]
BBLAM House View: ทำความรู้จักกับอุตสาหกรรม Business Process Outsourcing
BBLAM House View: ทำความรู้จักกับอุตสาหกรรม Business Process Outsourcing หนึ่งในเสาหลักของเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์ โดย ศิวกร มิตรสันติสุข BBLAM ฟิลิปปินส์ นับว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ท่านผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับว่า สินค้าเรือธง (Flagship Product) ของประเทศฟิลิปปินส์นั้น มีอะไรบ้าง สำหรับบางท่านอาจจะนึกไม่ออกในทันที ขณะที่ ถ้าดูประเทศแถบ ASEAN อื่นๆ ที่กำลังพัฒนา เราอาจจะพอนึกภาพออกได้ง่ายกว่า เช่น ถ้าพูดถึงประเทศไทย เราอาจจะนึกถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ อินโดนีเซีย เราก็คงนึกถึงสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างพลังงาน หรือน้ำมันปาล์ม ส่วนเวียดนาม เราอาจนึกถึงสินค้า Consumer Electronic อย่าง Smartphone แต่ถ้าพูดถึงประเทศฟิลิปปินส์ เราไม่อาจเห็นภาพชัดๆ แบบนั้น สาเหตุที่เราไม่ค่อยรู้จักประเทศฟิลิปปินส์ ในฐานะการส่งออกสินค้า ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า […]
BF Knowledge Center India Money Tips
BBLAM Knowledge Tips: อินเดียกับศักยภาพการเป็นผู้นำร่วมในเอเชีย
โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BBLAM อินเดียเป็นประเทศใหญ่ในเอเชีย ที่เรารู้จักกันมานาน แต่ในแง่ของตลาดการลงทุน เรายังรู้จักอินเดียน้อยกว่าประเทศใหญ่อย่างจีน แต่ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อินเดียก็ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง และมีทิศทางที่ดีในระยะกลางและระยะยาว ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ประการแรกคือ พื้นฐานด้านประชากรศาสตร์ของอินเดียสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ตอนนี้ อินเดียอยู่ระหว่างการก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแซงจีน ตัวเลขประชากรอินเดียล่าสุดตามรายงานของสหประชาชาติ เดือนเมษายนปีนี้ คือ 1,425 ล้านคน ส่วนจีนกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีอัตราการเกิดลดลง ขณะที่ อินเดียประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นวัยหนุ่มสาว เป็นวัยแรงงานถึง 60% และประชากรยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ประเด็นเรื่องจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และเป็นวัยแรงงานเกินครึ่ง เป็นวัยสร้างรายได้และมีฐานะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ สิ่งเหล่านี้สนับสนุนการอุปโภคบริโภคภายในประเทศเป็นอย่างดี ประการที่ 2 คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียที่ดีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ชนชั้นกลางในอินเดียเพิ่มขึ้น มีเงินในมือมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีไปอีกนาน สำหรับอัตราการเติบโตของ GDP ประเทศอินเดียในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตได้ดี เป็นประเทศในกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย […]