ญี่ปุ่นเตรียมใช้งบประมาณ 9.43 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังผ่านโควิด

ญี่ปุ่นเตรียมใช้งบประมาณ 9.43 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังผ่านโควิด

CNBC รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมงบประมาณประจำปีก้อนใหญ่เอาไว้ 943,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณถัดไปที่จะเริ่มต้นในเดือน เม.ย. 2022-มี.ค. 2023 นี่เป็นงบประมาณประจำปีฉบับแรกที่ออกมาจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Fumio Kishida เพื่อรับมือโควิด-19 การใช้จ่ายประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว และใช้งบทางการทหารเพื่อรับมือภัยคุกคามจากจีน อย่างไรก็ตามงบประมาณประจำปี 107.6 ล้านล้านเยน หรือ 943,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก้อนนี้ เป็นความท้าทายสำหรับ Kishida เพราะทำให้เกิดระบบทุนนิยมใหม่ ที่มาพร้อมวัฎจักรการเติบโต การกระจายความมั่งคั่ง และการฟื้นฟูการเงินสาธารณะที่ยังขาดแหว่ง โดยเงินก้อนนี้จะทำให้ระดับหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1% จากระดับที่เคยมีช่วงต้นปี 2021 และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 10 ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก เริ่มตั้งแต่ยุโรปไปจนถึงอเมริกากำลังผ่อนคลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นยังไม่เดินตามแนวทางนี้ ซึ่งก็ส่งผลให้หนี้สาธารณะมีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของขนาดเศรษฐกิจ จากข้อมูลการปรับปรุงการเงินสาธารณะ พบว่า รัฐบาลของ Kishida จะลดการกู้ยืมเงินก้อนใหม่ในปีงบประมาณถัดไปเหลือ 36.93 ล้านล้านเยน จากแผนเริ่มต้นอยู่ที่ […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,626.79 จุด เพิ่มขึ้น 4.54 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,626.79 จุด เพิ่มขึ้น 4.54 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,626.79 จุด เพิ่มขึ้น 4.54 จุด (+0.28%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,632.33 จุด และต่ำสุดที่ 1,624.77 จุด มูลค่าการซื้อขาย 60,938.22 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.GPSC ปิดที่ 83.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท (+1.53%) มูลค่าการซื้อขาย 2,731.28 ลบ. 2.BRI ปิดที่ 11.60 บาท ลดลง 0.80 บาท (-6.45%) มูลค่าการซื้อขาย 2,457.76 ลบ. 3.EA ปิดที่ 92.00 […]

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

BF Economic Research Key Takeaway กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงานเป็นหลัก แต่ยังต้องติดตามพัฒนาการเงินเฟ้อโลกและการส่งผ่านต้นทุน การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมในระยะข้างหน้า จึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป กนง. เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ประกอบกับมาตรการทางการเงินการคลังที่มีความต่อเนื่อง เน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้รายได้ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง Economic Projection GDP กนง. คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 0.9% ในปี 2021 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2022 และ 2023 ที่ 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยกลับมามากขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มปรับดีขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดย กนง. ประเมินว่าการระบาดของสายพันธุ์ Omicron จะกระทบเศรษฐกิจในช่วง 1H2022 เมื่อพิจารณาจากตัวเลขประมาณการนักท่องเที่ยวต่างประเทศสะท้อนว่า กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้เต็มอัตรา (Fully […]

เทคโนโลยี และ พลังงานสะอาด 2 Theme เด่น จากจีนและสหรัฐอเมริกา

เทคโนโลยี และ พลังงานสะอาด 2 Theme เด่น จากจีนและสหรัฐอเมริกา

ถ้าถามว่าในอนาคต Theme การลงทุนอะไรที่ยังคงน่าจับตามอง หนึ่งในนั้นคงต้องมีเรื่องของ Theme “เทคโนโลยี” และ “พลังงานสะอาด” รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน และก็ต้องบอกว่า ถ้าพูดถึง Theme เทคโนโลยีแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ก็คงหนีไม่พ้น “สหรัฐอเมริกา” ซึ่งนอกจากจะมีบริษัทเทคโนโลยีที่เราเห็นคุ้นตากันอยู่บ่อยแล้ว สหรัฐอเมริกาเองก็ถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมที่จะต่อยอดในด้านนี้ต่อไปอีกในอนาคตไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ ทั้งในเรื่องของ การศึกษา โครงสร้าง Roadmap และตลาดทุนที่พร้อมสนับสนุน ทีนี้เรามาดูกันว่าใน Theme เทคโนโลยี มี Theme ย่อยอะไรบ้างที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ โดยจะขอเรียก Theme ย่อยเหล่านี้สั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า “ABCEV”  ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่!!

ฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกเริ่มผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรกแล้ว

ฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกเริ่มผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรกแล้ว

CNBC รายงานว่า Hornsea 2 ฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่งของบริษัทพลังงานเดนมาร์ก Orsted เริ่มผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรกแล้ว ซึ่งการประกาศครั้งนี้แสดงให้เห็นความก้าวหน้าสำคัญของการพัฒนาฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่ง สำหรับฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่งนี้ ตั้งอยู่ในระยะ 89 กิโลเมตรจากน่านน้ำชายฝั่งตะวันออกของอังกฤษ ขนาดของ Hornsea 2 ใหญ่พอสมควร ครอบคลุมพื้นที่ 462 ตารางกิโลเมตร โดยจะใช้กังหัน 165 ชิ้นจาก Siemens Gamesa และจะมีกำลังกาผลิตมากกว่า 1.3 กิกะวัตต์ ขณะที่บริษัท Orsted ระบุว่า ฟาร์มพลังงานลมแห่งนี้จะจ่ายไฟฟ้าให้บ้านได้มากกว่า 1.3 หลัง เมื่อสร้างเสร็จ และเมื่อรวมกับโครงการฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่ง Hornsea 1 ที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะทำให้ทั้ง 2 โครงการสามารถจ่ายไฟให้บ้านได้มากกว่า 2.3 ล้านหลัง Orsted ระบุว่า โครงการนี้เริ่มจ่ายไฟได้ครั้งแรกในช่วงคืนวันเสาร์ที่ 18 ธ.ค. โดย Hornsea […]

BF Economic Review – ครึ่งแรกปี 2022

BF Economic Review – ครึ่งแรกปี 2022

BF Economin Research Core Macro Theme : When the world is full of uncertainty, don’t count much on the economic outlook นับตั้งแต่ปี 2008 เศรษฐกิจโลกเผชิญการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมาหลายครั้งที่ส่งผลให้ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังเกิดการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลในภาคการเงินหลายครั้ง และนโยบายการเงินที่เปลี่ยนทิศทางไปมาอย่างรวดเร็วนับเป็นความท้าทายของนักเศรษฐศาสตร์ในการคาดการณ์แนวทางนโยบายของธนาคารกลางได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่อทั่วโลกเผชิญวิกฤติ COVID-19 ในปี 2019 การประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจอย่างแม่นยำจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการเปิด/ปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ด้านตลาดแรงงาน และภาวะขาดแคลนปัจจัยการผลิตในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักก็ยังไม่สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วแม้จะกลับมาเปิดเมืองแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี, การเติบโตของตลาด Cryptocurrency, การหันมาใช้พลังงานสะอาด และความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนมีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ดังนั้นแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจจริงกับตัวเลขประมาณการ (GDP Projection) จึงสามารถแตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง เราจึงต้องตระหนักถึงจุดนี้และใช้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปี 2022 อย่างรอบคอบ (ดังรูปด้านล่าง) […]

อายุ 45+ แล้วควรซื้อ SSF อยู่มั้ย

อายุ 45+ แล้วควรซื้อ SSF อยู่มั้ย

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® เลข 45 เป็นตัวเลขสำคัญในการชี้ชะตาการลงทุนในกองทุนรวม RMF และ SSF ถ้าใครที่อายุน้อยกว่า 45 การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จะทำให้เรามีระยะเวลาในการลงทุนที่สั้นกว่าการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ส่วนใครที่อายุเกินกว่า 45 แล้ว แต่ยังสับสนอยู่ว่าจะเลือกลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีกองทุนไหนดีระหว่างกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กับ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่จะช่วยให้มีเงินใช้จ่ายได้เร็วขึ้น มาดูตารางด้านล่างนี้ค่ะ อายุ 45 เกษียณ 55 ปี หากปีแรกที่เริ่มลงทุน อายุ 45 ปี สามารถลงทุนได้ทั้ง SSF และ RMF ซึ่งถ้าเราเกษียณจากที่ทำงานอายุ 55 ปี สามารถลงทุนได้ทั้ง 2 ประเภท โดยการลงทุนในกองทุนรวม SSF สามารถลงทุนได้เพียงครั้งเดียว และอายุครบ 55 ปี ก็ขายคืนได้ (ถือ 10 […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,622.25 จุด เพิ่มขึ้น 6.45 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,622.25 จุด เพิ่มขึ้น 6.45 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,622.25 จุด เพิ่มขึ้น 6.45 จุด (+0.40%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,628.84 จุด และต่ำสุดที่ 1,618.57 จุด มูลค่าการซื้อขาย 69,244.56 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.BRI ปิดที่ 12.40 บาท เพิ่มขึ้น 1.90 บาท (+18.10%) มูลค่าการซื้อขาย 4,870.40 ลบ. 2.GPSC ปิดที่ 81.75 บาท เพิ่มขึ้น 3.25 บาท (+4.14%) มูลค่าการซื้อขาย 4,286.12 ลบ. 3.EA ปิดที่ 93.00 บาท […]

จีนอาจขยายการปราบปรามด้านกฎระเบียบไปถึงปี 2022

จีนอาจขยายการปราบปรามด้านกฎระเบียบไปถึงปี 2022

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า หลังจากที่ปีนี้จีนมีการปราบปรามมากแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ตลาดผันผวน และการทำข้อตกลงบางอย่างหยุดชะงัก นายธนาคารและนักกฎหมายคาดการณ์ว่าการตรวจสอบที่เข้มงวดจะมีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2022 แต่การมีกฎระเบียบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจในสภาพแวดล้อมการลงทุนมากขึ้น ตลอดปี 2021 จีนปราบปรามเรื่องการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด ห้ามดำเนินธุรกิจรับติวเข้มนอกห้องเรียน รวมทั้งควบคุมการก่อหนี้ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และปิดทางให้บริษัทบางแห่งจดทะเบียนในตลาดต่างประเทศไม่ได้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการปฏิบัติของจีนในลักษณะนี้อาจจะขยายออกไปจนถึงปี 2022 โดยมุ่งเน้นไปที่การปกป้องข้อมูลและข้อตกลงที่มีความเสี่ยงจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ขณะที่หน่วยงานกำกับก็กำลังหาทางยกระดับการควบคุมองค์กรเอกชนมากขึ้น “นักลงทุนถูกบังคับให้ต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านการกำกับดูแลใหม่ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา และความกลัวนี้ก็จะยังไม่หายไปในเร็วๆ นี้” Logan Wright ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดจีน Rhodium Group กล่าว ทั้งนี้ เราพบว่าสถาบันของรัฐบางแห่งประสบความสำเร็จในการขยายขอบเขตอำนาจของตัวเองในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งขอบเขตที่กว้างขึ้นนี้อาจสร้างความกังวลให้นักลงทุนปี 2022 Andrew Collier กรรมการผู้จัดการ Orient Capital Research ซึ่งตั้งอยู่ในฮ่องกง กล่าวว่า การควบคุมที่เข้มงวดของรัฐบาลแบบไม่เคยมีมาก่อนในช่วงปลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดี Deng Xiaoping ค่อยๆ เปิดเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินการนี้สอดคล้องกับวาระทางเศรษฐกิจของ Xi Jinping […]

3 ธีมลงทุนเด่น อนาคตไกล ที่เราควรมีไว้ในพอร์ต

3 ธีมลงทุนเด่น อนาคตไกล ที่เราควรมีไว้ในพอร์ต

การประหยัดค่าใช้จ่ายที่วางแผนได้ง่ายที่สุด คือ “การลดหย่อนภาษี” หลายคนเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษี เพราะได้ความคุ้มค่า 2 ต่อ คือจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยอีกทางหนึ่ง ใครที่ยังไม่ได้ซื้อ หรือซื้อแล้วแต่ยังไม่เต็มสิทธิ์ วันนี้เราขอแนะนำธีมการลงทุนที่น่าสนใจ ด้วยเทรนด์แห่งโลกอนาคต เหมาะอย่างยิ่งกับการลงทุนระยะยาว ผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่!!