อินเดียคงดอกเบี้ยกู้ยืม ย้ำให้ความสำคัญการเติบโตมาก่อน
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ธนาคารกลางอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำคัญไว้ในระดับต่ำอยู่ โดยชี้ว่า การเติบโตมีความสำคัญลำดับต้นๆ แต่ก็เตือนถึงความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่ะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าธนาคารกลางอินเดียจะยังคงมีท่าทีการใช้นโยบายแบบผ่อนคลาย แต่ก็มีการระบุถึงแผนที่จะดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคาร รวมทั้งโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงต้นปีหน้า Suvodeep Rakshit นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส Kotak Institutional Equities กล่าวว่า โดยรวมแล้วนโยบายยังคงผ่อนคลายกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นผลพวงจากความไม่แน่นอนของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ถ้าไวรัสโอมิครอนระบาดไม่รุนแรงในอินเดีย เราคาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางอินเดียจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร 0.2% ในเดือน ก.พ. และจะดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ 50 คน ที่ตอบแบบสำรวจของ Reuters คาดการณ์ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมหรือดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรจนกว่าจะถึงช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022
B-USALPHA BM70SSF News Update Press Release
กองทุนบัวหลวงปันผล B-USALPHA และ BM70SSF พร้อมกัน 16 ธ.ค. นี้
ข่าวประชาสัมพันธ์ Press Release กองทุนบัวหลวงประกาศข่าวดีส่งท้ายปีว่า กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า หรือ B-USALPHA เตรียมจ่ายเงินปันผลครั้งแรก ในอัตรา 0.15 บาทต่อหน่วยลงทุน และกองทุนผสมบัวหลวง 70/30 เพื่อการออม หรือ BM70SSF จ่ายเงินปันผลครั้งที่ 2 ในอัตรา 0.0662 บาทต่อหน่วยลงทุน โดยทั้ง 2 กองทุนจะจ่ายเงินปันผลพร้อมกันวันที่ 16 ธันวาคม 2564 นี้ รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงประกาศจ่ายเงินปันผล 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า หรือ B-USALPHA ที่ไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จ่ายเงินปันผลครั้งแรก ในอัตรา 0.15 บาทต่อหน่วยลงทุน จากผลการดำเนินงานในช่วงวันที่ […]
ก่อนจะหมดปี คนมีครอบครัวทบทวนแผนการเงินกันหน่อยมั้ย
โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ในช่วงปลายปีของทุกๆ ปี นักลงทุนมักจะวางแผนลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี แต่สำหรับปีนี้ อยากจะให้ทุกคนหันมาทบทวนแผนการเงินของตัวเองด้วย โดยเฉพาะคนที่มีครอบครัวหรือเป็นเสาหลักในการดูแลครอบครัว เพราะจากสถานการณ์โควิดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การเงิน การลงทุน ของเราเปลี่ยนไปเยอะอยู่พอสมควร โดยที่เห็นได้ชัดคือ รายรับหรือรายได้ลดลง แต่รายจ่ายยังอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น ในภาพรวมคนของส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางการเงินกันทั้งนั้น ตั้งแต่การหารายได้ การจับจ่ายใช้สอย การออม รวมไปถึงการลงทุนด้วย ซึ่งสำหรับคนที่ยังไม่มีครอบครัว หรือไม่ต้องดูแลเรื่องการเงินของคนอื่นๆ ก็อาจจะปรับตัวได้ง่ายหน่อย โดยปรับเรื่องของการใช้จ่าย การออม และการลงทุนของตัวเองให้เหมาะสมกับรายได้ที่มีในปัจจุบัน เช่น ปรับแผนลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายใหม่ที่เปลี่ยนไป ปรับแผนลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี SSF และ RMF ให้สอดคล้องกับรายได้ในปีนี้ จะเห็นได้ว่า คนที่ไม่มีครอบครัวสามารถปรับตัวได้ง่ายกว่า แต่สำหรับคนที่มีครอบครัว หรือเป็นเสาหลักในการหารายได้เพื่อดูแลคนอื่นๆ เป็นต้องพิจารณาทบทวนและปรับแผนการเงินใหม่ โดยเฉพาะแผนใช้จ่าย และแผนลงทุนเพื่อเป้าหมาย ซึ่งสามารถเริ่มด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพราะจะช่วยให้สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เรารู้สถานะการเงินของตัวเอง และสามารถวางแผนการใช้เงินของครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น หลักๆ […]
Fund Comment พฤศจิกายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรปที่สามารถปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงปลายเดือน ทำให้โดยรวมแล้วตลาดปรับลดลง 2.5% จากปัจจัยกดดันจากไวรัสกลายพันธุ์ Omicron ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดเป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล โดยคาดว่าจะสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าและยังหลบภูมิคุ้มกันได้ด้วย ปัจจัยดังกล่าวสร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการกลับมาใช้มาตรการการเดินทางที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงซ้ำเติมปัญหาซัพพลายเชนที่มีอยู่ให้ยืดยาวออกไปอีก ทั้งด้านโลจิสติกส์และแรงงาน ส่งผลให้ประเด็นเงินเฟ้อนั้นอาจจะคลี่คลายช้ากว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสกลายพันธุ์ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มาก และถึงแม้วัคซีนที่ใช้กันในปัจจุบันมีประสิทธิภาพต่อต้านไวรัส Omicron ได้ลดลง บริษัทยาที่ใช้เทคโนโลยี mRNA คาดว่า การคิดค้นและแจกจ่ายวัคซีนรุ่นใหม่จะใช้เวลาภายในไตรมาส 1 ของปีหน้า ซึ่งทำให้ความหวังในการรับมือกับไวรัสนี้ยังคงมีอยู่ และด้วยความที่ประเด็นความกังวลในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เชื่อว่า ความเสี่ยงด้านลบของตลาดหุ้นจะมีอยู่จำกัด ขณะที่ในเดือนธันวาคมนี้จะมีการประชุมนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งตลาดคาดการณ์ถึงแผนการเริ่มลดขนาด QE เป็นอีกปัจจัยที่ตลาดรอดูความชัดเจนของการลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่าการฟื้นตัวจากแรงส่งจากภาคการผลิตในสหรัฐฯและยูโรโซนจะเริ่มชะลอตัวลง แต่การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ดัชนีภาคการบริการฟื้นตัวกลับขึ้นมาเป็นลำดับ รวมถึงแรงส่งจากหลายประเทศในวงกว้างช่วยเป็นแรงหนุนต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมได้ ดังนั้น Fed ยังคงเดินหน้าลดความผ่อนคลายทางการเงินต่อไป และถึงแม้จะมีการระบาดของไวรัส COVID มากขึ้นเมื่อมีการเปิดเมือง แต่เชื่อว่า การที่ประเทศต่างๆ จะกลับไปใช้นโยบายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบอย่างที่เคยทำ […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,609.28 จุด เพิ่มขึ้น 21.09 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,609.28 จุด เพิ่มขึ้น 21.09 จุด (+1.33%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,611.58 จุด และต่ำสุดที่ 1,595.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 74,927.55 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 137.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท (+2.61%) มูลค่าการซื้อขาย 4,408.05 ลบ. 2.SCB ปิดที่ 125.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท (+1.63%) มูลค่าการซื้อขาย 2,446.31 ลบ. 3.CPALL ปิดที่ 59.50 […]
BF Monthly Economic Review – ธ.ค. 2564
สรุปความ BF Economic Research When the world is full of uncertainty, don’t count much on the economic outlook. หมายความว่า เวลาที่โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน อย่าไปเอาอะไรมากกับการประมาณการเศรษฐกิจ แม้จะเป็นการจั่วหัวที่ล่อแหลม แต่เราก็มีเหตุผลมาอธิบายว่าทำไมเราอาจไม่ต้องไปคิดมากว่าจะทำนายแม่นหรือไม่แม่นเกี่ยวกับประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือไม่ และถึงแม้ว่าประมาณการจะแม่นหรือไม่แม่น ก็สามารถช่วยในการจับจุดหาจังหวะการลงทุนได้ โดยปกติแล้ว GDP จะมีการประมาณการในช่วงเดือน ม.ค., เม.ย., ก.ค. และ ต.ค. หากดูจากกราฟด้านบน จุดสีน้ำเงินที่เห็นในกราฟจะแสดงการประมาณการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละไตรมาสของปี 2017-2020 ส่วนจุดสีชมพู แสดงตัวเลขจริงที่ออกมาว่าอยู่ที่เท่าไหร่ ในปี 2017 ช่วงนั้นเศรษฐกิจโลกค่อนข้างดี แต่กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์มองว่าดีน้อยเกินไป โดยต้นปีมองว่าเศรษฐกิจจะโต 3.4% แต่ท้ายปีมาปิดที่ 3.8% ส่วนปี 2018 […]
ธนาคารกลางจีนไฟเขียวแบงก์ลดอัตราเงินสำรองหนุนเศรษฐกิจแท้จริง
China Daily รายงานว่า ธนาคารกลางจีนออกมาประกาศว่า อัตราส่วนเงินสำรองที่สถาบันการเงินต่างๆ จะต้องมีไว้ จะถูกปรับลดลง ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. เป็นต้นไป เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ธนาคารกลางจีนจะปรับลดอัตราส่วนเงินสำรองที่สถาบันการเงินต่างๆ จะต้องมีประมาณ 0.5% ยกเว้นรายที่ได้รับการกำหนดอัตราส่วนไว้ที่ 5% อยู่แล้ว โดยหลังจากที่ปรับลดอัตราส่วนเงินสำรอง จะทำให้สัดส่วนเงินสำรองที่สถาบันการเงินต้องมีจะอยู่ที่ 8.4% ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริง และลดต้นทุนทางการเงิน โดยธนาคารกลางจีน ระบุว่า เพื่อการดำเนินนโยบายการเงินอย่างรอบคอบต่อไป จะไม่ใช้การผ่อนคลายทางการเงินเชิงรุกออกมาในรูปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จะปรับปรุงสิ่งที่เชื่อมโยงในวัฎจักรและการเชื่อมโยงนโยบายมหภาคที่ดีขึ้นจากปีนี้ไปสู่ปีหน้า สัดส่วนเงินสำรองที่ลดลง คาดว่าจะเป็นการปล่อยเม็ดเงิน 1.2 ล้านล้านหยวน หรือ 188,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออกมา ช่วยลดต้นทุนให้สถาบันการเงินได้ 15,000 ล้านหยวนต่อปี สำหรับการลดสัดส่วนเงินสำรองครั้งนี้เกิดขึ้น หลังจากที่ Li Keqiang นายกรัฐมนตรีจีน ประชุมร่วมกับ Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 3 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,588.19 จุด ลดลง 3.65 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 3 ธ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,588.19 จุด ลดลง 3.65 จุด (-0.23%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,597.25 จุด และต่ำสุดที่ 1,587.53 จุด มูลค่าการซื้อขาย 55,196.93 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 134.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 1,712.14 ลบ. 2.EA ปิดที่ 82.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+0.61%) มูลค่าการซื้อขาย 1,528.61 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 36.75 บาท ลดลง 0.50 […]
กองทุนหุ้นสหรัฐฯ มีให้เลือกเยอะมาก อยากจะลงทุนแต่ก็ไม่รู้จะเลือกกองทุนไหนดี?
กองทุนหุ้นสหรัฐฯ มีให้เลือกเยอะมาก อยากจะลงทุนแต่ก็ไม่รู้จะเลือกกองทุนไหนดี? มาฟังกันค่ะ เรียนเชิญท่านกดติดตาม เพื่อรับฟัง Money Seeds หรือ สาระ ความรู้ แบบง่าย ๆ และเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ ใน BF PODCASTS ของกองทุนบัวหลวง ได้ที่ bualuangfund
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ย. ปรับตัวลดลงแทบทุกช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -1 ถึง 0 bps อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2-20 ปี ปรับลดลง 1 ถึง 22 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 20 ปีขึ้นไปเปลี่ยนแปลงในช่วง -3 ถึง +4 bps โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากกระแสเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติ โดยนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. ส่งผลให้ยอดการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ในช่วงกลางเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลไทยมีปัจจัยกดดันจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันที่ 2-3 พ.ย. ที่เฟดประกาศลดวงเงิน QE ด้วยการลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และวงเงินการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ลงเดือนละ 10,000 […]