ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 ต.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,624.24 จุด เพิ่มขึ้น 9.76 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 ต.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,624.24 จุด เพิ่มขึ้น 9.76 จุด หรือ +0.60% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,626.44 จุด และต่ำสุดที่ 1,611.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 88,969.42 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.SVT ปิดที่ 3.54 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท (+39.37%) มูลค่าการซื้อขาย 7,445.70 ลบ. 2.KBANK ปิดที่ 137.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+0.36%) มูลค่าการซื้อขาย 4,550.07 ลบ. 3.AOT ปิดที่ 64.25 […]
BMAPS BMAPS100 BMAPS25 BMAPS55
3 สไตล์การลงทุน ที่ให้คุณเริ่มต้นลงทุนได้แบบง่าย ๆ พร้อมมีมืออาชีพดูแลให้
อยากเริ่มต้นลงทุน แต่ไม่รู้จะทำยังไงดี ประโยคสุดฮิตที่เรามักจะได้ยินจากคนที่สนใจเริ่มต้นลงทุน โดยปกตินักลงทุนหลายคนมักจะเริ่มต้นด้วยการหาข้อมูล และพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการลงทุนก่อนเสมอ แต่บางครั้งเรื่องของการลงทุนก็ยากที่จะเข้าใจ และหากเราไม่มีเวลาในการติดตามข้อมูล เราก็อาจพลาดช่วงเวลาที่ดีสำหรับการลงทุนได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่!!
News Update Press Release RMF SSF
กองทุนบัวหลวงกางแผนไตรมาสสุดท้ายออก RMF-SSF ไม่ต่ำกว่า 5 กองทุน ขน Theme เด่น อนาคตไกล เสิร์ฟนักลงทุนที่ต้องการซื้อกองทุนช่วง IPO
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ Head of Business Distribution บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี (ตุลาคม-ธันวาคม 2564) กองทุนบัวหลวงเตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) สำหรับกลุ่มกองทุนรวมประหยัดภาษี ทั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ไม่ต่ำกว่า 5 กองทุน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ชื่นชอบและสนใจลงทุนกับ Thematic Fund ที่จะเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว ตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้น รวมถึงกองทุนที่เน้นลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโต สำหรับ 5 กองทุนนี้ ได้แก่ กองทุนที่เน้นการลงทุนแบบยั่งยืน การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม ซึ่งการนำมาเสนอในรูปแบบของ RMF และ SSF เนื่องจากกองทุนบัวหลวงมองว่า มีโอกาสเติบโต และสอดคล้องกับรูปแบบการลงทุนของ RMF และ SSF ซึ่งเป็นการทยอยลงทุนในระยะยาว รวมทั้งผู้ลงทุนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมากอีกด้วย […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 4 ต.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,614.48 จุด เพิ่มขึ้น 9.31 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 4 ต.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,614.48 จุด เพิ่มขึ้น 9.31 จุด หรือ +0.58% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,619.62 จุด และต่ำสุดที่ 1,610.96 จุด มูลค่าการซื้อขาย 78,693.93 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 137.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท (+1.86%) มูลค่าการซื้อขาย 4,308.55 ลบ. 2.AOT ปิดที่ 62.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท (+2.45%) มูลค่าการซื้อขาย 2,964.66 ลบ. 3.GULF ปิดที่ 43.25 […]
หุ้นปรับตัวสูงขึ้นหนุนครัวเรือนในสหรัฐฯ มีความมั่งคั่งสูงสุดรอบ 70 ปี
CNBC รายงานว่า ภาพรวมความมั่งคั่งของครัวเรือนสหรัฐฯ ไม่เคยอยู่ในระดับสูงเท่านี้มาก่อน เป็นผลมาจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาก โดยจากข้อมูลของ Bank of America พบว่า ครัวเรือนสหรัฐฯ ถือครองหุ้นครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์การเงินทั้งหมดที่มีอยู่ 109.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ ได้แก่ ตราสารหนี้ เงินสด ใบรับฝากเงิน และเงินฝากธนาคาร Bank of America ชี้ว่า สัดส่วนหุ้นในสินทรัพย์ทั้งหมดถือว่าสูงสุดในรอบ 70 ปี โดยมูลค่าความมั่งคั่งสุทธิของครัวเรือนโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 141.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสที่ 2 ในจำนวนนี้ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากมูลค่าหุ้นของบริษัทที่ถือครองอยู่ราคาไต่ระดับขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มไม่แสวงหากำไร ก็มีสัดส่วนการถือครองหุ้น 41.5% ของความมั่งคั่งโดยรวม ตามข้อมูลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แม้เรื่องนี้จะเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุนทั่วไปที่เป็นเจ้าของหุ้น แต่ก็สะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกันจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคต ซึ่งวอลล์สตรีทมองเห็นภาวะตลาดกระทิงที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์สิ้นสุดลงในช่วงต้นปี […]
B-CHINAARMF B-FUTURERMF B-GTORMF B-INNOTECHRMF RMF
ลงทุน RMF ให้ ครบ ครบ รับทุกโอกาสลงทุน กับ กองทุนบัวหลวง
ลงทุน RMF ให้ ครบ ครบ รับทุกโอกาสลงทุน กับ กองทุนบัวหลวง เริ่มต้นแบบสบายสบาย ไม่วุ่นวายเยอะ ปรับพอร์ตตามภาวะการณ์ เลือก บัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลอาร์เอ็มเอฟ (BFLRMF) เน้นเน้นกับหุ้นไทย ก็ต้อง บัวหลวงทศพลอาร์เอ็มเอฟ (B-TOPTENRMF) หรือ ทันกับทุกโอกาสลงทุนในจีน นี่เลย B-CHINAARMF เก็บโอกาสนวัตกรรมให้ครบไปกับ… B-INNOTECHRMF / B-FUTURERMF และ B-GTORMF ลงทุนง่าย ผ่าน โมบายแบงก์กิ้ง ธนาคารกรุงเทพ และชำระผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ ได้ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2674 6488 กด 8 ผู้ลงทุนต้องเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ภาษี RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเป็นไปตามที่ตัวแทนขายกำหนด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ต.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,605.17 จุด ลดลง 0.51 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ต.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,605.17 จุด ลดลง 0.51 จุด หรือ -0.03% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,609.48 จุด และต่ำสุดที่ 1,593.32 จุด มูลค่าการซื้อขาย 75,664.82 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.BANPU ปิดที่ 13.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.60 บาท (+4.84%) มูลค่าการซื้อขาย 4,725.80 ลบ. 2.GULF ปิดที่ 43.25 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท (+4.22%) มูลค่าการซื้อขาย 3,613.48ลบ. 3.KBANK ปิดที่ 134.50 บาท […]
เปิด 3 วิธีที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์และยังทำกำไรได้
เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก (weforum.org) รายงานว่า เมื่อบริษัทมองหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนบ่อยครั้งจะเน้นการลดแบบง่ายๆ หรือใช้ทางเลือกระยะสั้น แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดคาร์บอน บริษัทจำเป็นต้องมีแนวทางที่กว้างขวางจะทะเยอทะยานมากขึ้น โดยบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์และยังคงทำกำไรได้ เพียงแต่ต้องจัดการกับต้นเหตุของการปล่อยมลพิษตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลก นำเสน 3 แนวทางที่น่าสนใจที่จะช่วยให้ธุรกิจลดปล่อยก๊าซคาร์บอนพร้อมกับทำกำไรได้ ได้แก่ 1.การลดมลภาวะตลอดห่วงโซ๋คุณค่า โดยพบว่า ธุรกิจหลายๆ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่ได้มาจากตัวธุรกิจโดยตรง แต่มาจากห่วงโซ่คุณค่าที่ควบคุมไม่ได้ หากต้องการลดปล่อยมลพิษให้สำเร็จจริง จึงต้องไปดำเนินการกับธุรกิจในห่วงโซ่ เช่น ผู้แปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไปลงทุนกับฟาร์มโคนมปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์หลายพันแห่ง บริษัทเหมืองแร่ที่จัดหาผู้ผลิตเหล็กด้วยแร่ผสมซึ่งต้องการพลังงานน้อยลงในเตาหลอม หรือผู้ผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ไปลงทุนขยายขอบเขตธุรกิจตั้งแต่การผลิตสายเคเบิ้ลจนถึงห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมดของกระแสไฟฟ้า 2.การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยพบว่าสถานที่ที่ปล่อยมลภาวะขนาดใหญ่ บ่อยครั้งไม่ใช่สถานที่ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เราพบว่า บริษัทต่างๆ กำลังติดตามการปล่อยมลพิษเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงทั้งที่เป็นในธุรกิจตัวเองและห่วงโซ่คุณค่า เช่น บริษัทจัดส่งพัสดุ ลดมลภาวะในการจัดส่งพัสดุผ่านการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าและการปรับเส้นทางให้เหมาะสม และพวกเขายังหาข้อมูลและการควบคุมที่ดีขึ้นกับฝั่งคนที่รับพัสดุจึงช่วยลดจำนวนครั้งในการจัดส่งได้ หรือบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่มีมาตกรารใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกปัญญาประดิษฐ์ (AI) และใช้คลาวด์ ทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิป เพื่อให้เกิดการบริโภคพลังงานน้อยที่สุดในการใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา และ 3.อย่าให้เงินทุนโดยอัตโนมัติกับธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนสูง โดยนักลงทุนควรเพิ่มพอร์ตลงทุนในกิจกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำแทน
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.
BF Economic Research สรุปภาวะเศรษฐกิจจากธปท. สะท้อนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจต่อเนื่องในเดือน ส.ค. ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศจะได้รับแรงหนุนในเดือน ต.ค. การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงแรงในเดือน ส.ค. (-9.2% YoY vs. -6.8% เดือนก่อน) โดยดัชนีการใช้จ่ายทุกหมวดปรับตัวลดลงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส อาทิ สินค้าคงทน (-22.3%) สินค้าไม่คงทน (-11.1%) และภาคบริการ (-7.7%) ด้านรายได้เกษตรกรชะลอลงเป็น 6.5% (vs. +9.3% เดือนก่อน) จากราคาที่ลดลง ขณะที่การขอรับสวัสดิการต่อเนื่องยังคงสูงกว่าระดับปกติ การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเป็น 9.6% (vs. +13.6% เดือนก่อน) โดยหลักเป็นผลของยอดจดทะเบียนรถยนต์สำหรับลงทุนใหม่ (-16%) และหมวดวัสดุก่อสร้าง (-10.4%) ที่ลดลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำ (15.1k vs. 18.1k เดือนก่อน) อันเป็นผลจากการบังคับใช้มาตรการด้านการท่องเที่ยวที่เข้มงวดยังคงอยู่ แม้ว่าจะเริ่มมีการทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเฟสนำร่อง อาทิ […]
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในเดือนกันยายน ดัชนี MSCI World Index ปรับตัวลดลง 4.3% นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรป จากการขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงของนักลงทุนต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงและการลดความผ่อนคลายของนโยบายการเงินของ Fed โดยในการประชุมเดือนกันยายน คณะกรรมการ Fed ได้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อและคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วขึ้นเล็กน้อย และส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นในการเริ่มทำ QE Taper ในการประชุมครั้งถัดไป ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นจากก่อนการประชุมที่ 1.3% มาอยู่ที่ราว 1.5% ในช่วงปลายเดือน ซึ่งส่งผลต่อการประเมินระดับ Valuation โดยเฉพาะสำหรับหุ้นเติบโตสูง ขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้สะท้อนผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นของบริษัทในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดยังทรงตัวในระดับสูงเพราะยังไม่สามารถเพิ่ม Supply ได้ในระยะเวลาอันสั้น และปัญหา Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง แม้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ก็ยังใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อน่าจะยังคงกดดันผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไปอีกระยะหนึ่ง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัว แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นของ COVID-19 แม้ว่าหลายประเทศจะมีการแจกจ่ายวัคซีนให้ประชากรจำนวนมากแล้วก็ตาม โดยดัชนี Composite PMI ของสหรัฐฯและยุโรปนั้นปรับตัวลดลงมากกว่าคาด และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ (US […]