‘สังคมสูงวัยอยู่ร่วมหนุ่มสาว’ โจทย์หินพัฒนาการศึกษา-แก้ยากจน

‘สังคมสูงวัยอยู่ร่วมหนุ่มสาว’ โจทย์หินพัฒนาการศึกษา-แก้ยากจน

‘สังคมสูงวัยอยู่ร่วมหนุ่มสาว’ โจทย์หินพัฒนาการศึกษา-แก้ยากจน ขณะที่ ประชากรโลก 8,000 ล้านคน เป็นสัญญาณการพัฒนาด้านสาธารณสุขที่ช่วยยืดอายุขัย และบ่งชี้ว่า โลกมีความหลากหลายด้านประชากรมากขึ้น การเติบโตของประชากรและคนหนุ่มสาวในประเทศเอเชียใต้ทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนา และเพิ่มระดับความท้าทายด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การลดปัญหาความยากจนไปจนถึงการพัฒนาการศึกษา  ปี 2566 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์สำหรับประชากรเอเชีย และเป็นครั้งแรกที่ “อินเดีย” อาจมีประชากรมากกว่าจีน จนกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ผู้เชี่ยวชาญหลายคน กล่าวว่า ความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการค้าของอินเดียกับประเทศอื่น ๆ และเมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) คาดการณ์ว่า อินเดียจำเป็นต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคิดเป็นมูลค่ามากถึง 840,000 ล้านดอลลาร์ในอีก 15 ปีข้างหน้าเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายนี้ ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของอินเดีย เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพความซับซ้อนและการเพิ่มขึ้นของประชากร ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชาชนอายุน้อยกับประเทศพัฒนาที่กำลังเสื่อมถอยเพราะมีแต่คนสูงวัย องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ปี 2565 ว่า ประชากรโลกอาจเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 8,000 ล้านคน และเอเชียเป็นทวีปที่มีประชากรมากกว่า 4,000 […]

สถานการณ์สังคมสูงวัย…ทั่วโลกกับไทยเป็นอย่างไรบ้างแล้ว

สถานการณ์สังคมสูงวัย…ทั่วโลกกับไทยเป็นอย่างไรบ้างแล้ว

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยนำเสนอรายงานแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุของโลกและไทยไว้ โดยชี้ว่า ภายในปี 2040 มากกว่า 14% ของประชากรบนโลกใบนี้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ถือเป็นโลกแห่งสังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ ถ้าดูรายภูมิภาค พบว่า เวลานั้น ยุโรปจะเป็นภูมิภาคที่มีสังคมผู้สูงอายุสูงสุด 26% ของประชากร ตามด้วยอเมริกาเหนือ 22% โอเชียเนีย 17% ละตินอเมริกา 16% เอเชีย 15% ส่วนแอฟริกา ดูเหมือนจะเป็นภูมิภาคที่สัดส่วนผู้สูงอายุน้อยที่สุดแล้ว 5% เมื่อดูระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ละประเทศใช้เวลาไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 18 ปี ไปถึง 115 ปี ซึ่งไทย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุเร็ว เพราะใช้เวลาแค่ 20 ปีเท่านั้น โดยปี 2035 ประเทศไทยจะเป็นประเทศเดียวในกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนา ที่มีผู้สูงอายุมากเกินกว่าประชากรวัยอื่นๆ ทั้งนี้ จากสถิติประชากรของสหประชาชาติ […]

Nomura มองสังคมสูงวัยเป็นโอกาสลงทุนหุ่นยนต์-การดูแลสุขภาพ

Nomura มองสังคมสูงวัยเป็นโอกาสลงทุนหุ่นยนต์-การดูแลสุขภาพ

WATARU OGIHARA, CFA, Senior Managing Director and Chief Investment Officer, Global Equity Nomura Asset Management Co., Ltd. เปิดเผยในงานสัมมนา BUALUANG FUND INVESTMENT FORUM TOWARDS 2019 หัวข้อ “PREPARING FOR AGEING SOCIETY AND STRATEGIES FOR REITIREMENT” ว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุด โดยจากข้อมูลพบว่า ประชากรอายุ 60 ปีของญี่ปุ่น 1 ใน 4 มีโอกาสมีอายุเกิน 100 ปี ขณะที่ประชากรอายุ 75 ปีในวันนี้มีประมาณ 15 ล้านคน […]

บริษัทจีนผลิตหุ่นยนต์เจาะตลาดดูแลผู้สูงอายุที่กำลังเติบโตสูง

บริษัทจีนผลิตหุ่นยนต์เจาะตลาดดูแลผู้สูงอายุที่กำลังเติบโตสูง

ไชน่าเดลี รายงานว่า หุ่นยนต์ iPal ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับดูแลผู้สูงอายุ โดยในงานประชุมหุ่นยนต์ระดับโลกซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง 15-19 ส.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัดแสดงศักยภาพของ iPal ให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นด้วย เช่น ความสามารถด้านการร้องเพลงอุปรากรจีนด้วยเสียงอันหวานหู เพื่อให้ความบันเทิงกับฝูงชน สำหรับหุ่นยนต์ iPal นั้นถูกออกแบบมาให้ควบคุมด้วยเสียง รองรับการดูแลผู้สูงอายุ โดยจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับการสัมผัสและเสียง สนทนาประโยคง่ายๆ ได้ อีกทั้งสามารถรายงานสภาพอากาศและเตือนผู้ใช้งานให้รับประทานยาด้วย Wang Wenping ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท AvatarMind ซึ่งเป็นบริษัทหุ่นยนต์ตั้งอยู่ในเมืองหนานจิง กล่าวว่า iPal เป็นหุ่นยนต์ที่ผลิตมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ตัวคนเดียว ไม่มีใครดูแล เพราะหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถช่วยบรรเทาความเหงาและทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น หุ่นยนต์ตัวนี้ สามารถส่งข้อมูลสดๆ ของผู้สูงอายุให้ลูกหลานหรือญาติพี่น้องของพวกเขาได้ ผ่านความสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวและจดจำใบหน้า ทั้งยังแจ้งเตือนไปได้ด้วยหากผู้สูงอายุที่ใช้งานอยู่ได้รับบาดเจ็บหรือมีใครบุกรุกเข้ามาในบ้าน Wang กล่าวว่า ประชากรสูงอายุจีนเติบโตรวดเร็ว ซึ่งผู้สูงอายุต้องการการดูแลแต่บ่อยครั้งที่ลูกหลานมัวยุ่งกับงาน เราจึงเห็นโอกาสใหญ่ในตลาดนี้ จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการทำงานแห่งชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุจีน พบว่า ประชากรสูงอายุจีน คือมีอายุ 60 […]

เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนจบ)

เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนจบ)

By…สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา กองทุนบัวหลวง ในตอนที่ผ่านมา เราได้นำเสนอการ “เตรียมพร้อม” เพื่อเกษียณสุขไปแล้ว  2 ข้อ นั่นก็คือ 1.เตรียมใจ และ 2.เตรียมกาย ดังนั้นครั้งนี้ก็จะมาขอนำเสนอการเตรียมพร้อมในเรื่องที่เหลือ ซึ่งมีดังนี้ 3. เตรียมเงิน การเตรียมเงินนั้น นอกจากจะสำรองเงินสะสมเอาไว้แล้ว ยังต้องเตรียมรูปแบบการใช้จ่ายไว้ด้วย ตัวดิฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่เริ่มเตรียมพร้อมในด้านนี้ไว้เหมือนกัน แม้ว่าระยะเวลาที่เกษียณอาจจะอีกยาว ซึ่งแหล่งที่มาของมนุษย์เงินเดือนอย่างดิฉันคงหนีไม่พ้นเงินเดือนเป็นหลัก โดยเงินที่ได้มาแต่ละเดือนจากอาชีพเป็นผู้จัดการกองทุนให้ท่านผู้อ่านนั้น ดิฉันมีหลักคิดส่วนตัวที่ไม่อิงหลักวิชาการง่ายๆ เลยค่ะ คือ “เก็บก่อนใช้”  เก็บก่อนใช้ ต้องทำยังไงหรือคะ ง่ายๆ เลย ดิฉันแบ่งเงินเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ก. เงินออม ข. เงินจ่ายภาระหนี้เช่น บัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายในบ้าน ฯลฯ  ค. เงินสำรองกรณีฉุกเฉิน  และ ง. ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กิน เที่ยว […]

เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนที่ 1)

เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนที่ 1)

By…สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา กองทุนบัวหลวง ความคิดในครั้งแรกที่เขียนบทความเกี่ยวกับวัยเกษียณ ดิฉันรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว หากเทียบกับอายุปัจจุบันของดิฉันและจะเขียนได้ดีและมีประโยชน์ไหม แต่พอได้มีเวลาทบทวนหัวข้อใหม่อีกครั้ง ก็พบว่าหัวข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากและสิ่งที่ดิฉันวางแผนและทำในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันก็เป็นการเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณแบบกลายๆ นี่เอง ประกอบกับได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันเองซึ่งก็อยู่ในวัยเกษียณเช่นเดียวกัน จึงรวบรวมสิ่งต่างๆ เพื่อมาแบ่งปันรูปแบบการเตรียมพร้อมและใช้ชีวิตอย่างมีสุขในยามเกษียณ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับ Lifestyle ของแต่ละบุคคล ซึ่งคงต้องไปปรับใช้ให้เหมาะสม สังคมไทยทุกวันนี้ คนหนุ่มสาวมักจะแต่งงานช้าลง แต่งงานน้อยลง ทำให้มีลูกช้าลงไปด้วย ในขณะที่อีกหลายครอบครัวยุคใหม่ก็ไม่ต้องการมีลูก การที่จะมาหวังพึ่งพาให้ลูกหลานเลี้ยงดูยามแก่เฒ่าจึงเรื่องยากกว่าเมื่ออดีต ชะดีชะร้ายยามเกษียณแล้ว ลูกๆ อาจจะยังต้องพึ่งพาเราอยู่ด้วยซ้ำ สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ว่าปริมาณประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในปี 2025 จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรไทยเทียบกับปี 2000 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 9.4  ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) โดยสมบูรณ์แบบนั่นเอง มาถึงตรงนี้บางคนอาจจะสงสัยนิยามของ “สังคมผู้สูงอายุ” ว่าเป็นอย่างไร ตามนิยามของสหประชาชาติ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ10 […]

ส่องไอเดียคนรุ่นใหม่ เข็นแพลตฟอร์มรับสังคมสูงวัย

ส่องไอเดียคนรุ่นใหม่ เข็นแพลตฟอร์มรับสังคมสูงวัย

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ฉบับล่าสุด ประจำปี 2016 ที่จัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ระบุว่า ผู้สูงอายุ หรือผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วโลก มีอยู่กว่า 929 ล้านคน หรือ 12.5% ของประชากรทั้งโลกที่มีกว่า 7,433 ล้านคน เมื่อย้อนกลับมาดูที่ไทย พบว่า ในปี 2016 มีประชากรไทยทั้งหมด 65.9 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ 11 ล้านคน หรือ 16.5% จัดเป็นสัดส่วนที่สูงอันดับ 2 ในอาเซียน เป็นรองแค่สิงคโปร์ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุถึง 18.7% นอกจากนั้น ไทยยังเผชิญความท้าทายจากอัตราการเกิดที่ช้าลง เหลือ 0.4% ต่อปี ขณะที่ประชากรสูงอายุ กลุ่ม 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 5% ต่อปี […]

พอร์ตกองทุนรวมแบบไหน…ที่ใช่สำหรับเรา

พอร์ตกองทุนรวมแบบไหน…ที่ใช่สำหรับเรา

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ การลงทุน จะว่าไปแล้วก็เหมือนชีวิตของคนแต่ละคน ใช่ว่าคนเกิดวันเดียว เดือนเดียวกัน ต้องมีชีวิตเหมือนกันหมด เพราะเอาเข้าจริง แต่ละคนก็มีพื้นฐานแตกต่างกันไป ดังนั้น สิ่งที่ใช่ สิ่งที่เหมาะ สำหรับคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่สำหรับอีกคนก็ได้  จากข้อมูลในงานสัมมนาหัวข้อ “วัยเก๋าอยากสบาย ต้องรู้จักเลือกสไตล์ลงทุน” ในงาน Mutual Fund Day ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution กองทุนบัวหลวง หนึ่งในวิทยากรบนเวทีนี้ ให้ข้อคิดไว้ว่า พอร์ตการลงทุนในกองทุนรวมของนักลงทุน ควรผสมผสานให้มีความหลากหลาย หลักการผสม มีทั้งรูปแบบที่นักลงทุนผสมเอง ผ่านการเลือกลงทุนกองทุนรวมที่มีหลากหลายรูปแบบในตลาด หรืออาจจะหาที่ปรึกษา ให้คนที่มีใบอนุญาตช่วยวางแผนลงทุนให้ อีกรูปแบบคือ การเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ผสมพอร์ตไว้อยู่แล้ว เช่น กองทุนบัวหลวง ก็มี B-SENIOR-X หรือ บีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ […]

เตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณ เดินทางด้วยกองทุนรวม

เตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณ เดินทางด้วยกองทุนรวม

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นประโยคที่พูดกันหนาหูขึ้นในทุกวันนี้ โดยจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ประเมินว่า ปี 2025 ไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 21.2% ของประชากรทั้งประเทศ เป็นการเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ขณะที่ปี 2030 สัดส่วนจะเพิ่มเป็น 25.2% จากประเด็นนี้ ทำให้เกิดข้อกังวลตามมาว่า แล้วคนไทยมีเงินในกระเป๋าพร้อมหรือยังเพื่อใช้ชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ท่ามกลางสภาวะที่คนครองตัวเป็นโสดกันมาก หรือหากมีครอบครัวก็ไม่มีลูก หรือมีลูกแต่หวังพึ่งพิงให้เลี้ยงดูก็ยากยิ่งในยุคนี้ เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา ในงาน Mutual Fund Day ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ภายใต้แนวคิด “วางแผนลงทุนเพื่อชีวิตดี๊ดีวัยเกษียณสุข” มีการจัดสัมมนาหัวข้อ “วัยเก๋าอยากสบาย ต้องรู้จักเลือกสไตล์ลงทุน” โดยมี คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution กองทุนบัวหลวง เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสวนา […]

เทคโนโลยีและความสะดวกสบายเพื่อสังคมสูงวัย

เทคโนโลยีและความสะดวกสบายเพื่อสังคมสูงวัย

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า  จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยปี 2556 ประชากรไทยมีจำนวน 64.6 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 9.6 ล้านคน (ร้อยละ 14.9)   มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยคาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 26.3) และปี 2583 จะมีจำนวนถึง 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ซึ่งจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการความสะดวกสบายก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังจะเห็นได้จากประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากจะมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาอำนวยความสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ หรือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ตลอดจนรถยนต์ไร้คนขับ ล้วนแล้วแต่เป็นการรองรับเทรนด์ของประชากรโลกที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย  แม้กระทั่งการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ e-commerce หรือ การทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ePayment นับเป็นอีกแรงสนับสนุนสำคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยช่วยเหลือตนเองได้โดยที่ไม่ต้องออกจากบ้านก็สามารถซื้อของหรือชำระค่าบริการต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย บางมุมมองอาจเห็นว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวจากสัดส่วนของโครงสร้างประชากรที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทย  แต่หากมองอีกมุมหนึ่งจะเห็นว่าเป็นโอกาสของการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง  ดังจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความต้องการพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งนอกเหนือจากการรักษาพยาบาลที่มีการพูดถึงกันมากแล้วนั่นก็คือความสะดวกสบาย  หากแต่ความสะดวกสบายในอดีตอยู่บนพื้นฐานของการใช้แรงงานเป็นหลัก ในอนาคตจะเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเนื่องจากแรงงานขาดแคลนและอัตราการเกิดลดลง  รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ จึงได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม […]