กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาของปี 2019 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงปลายเดือน เม.ย. กลับมาปรับตัวขึ้นได้ถึง 7.7% จากปี 2018 ที่ปรับลดไปถึง 11% นำโดยตลาดหุ้นสิงคโปร์ที่เพิ่มขึ้นกว่า 11% จากความหวังว่าภาวะสงครามการค้าจะผ่อนคลายลงและจะลดทอนผลกระทบที่มีต่อภาคการผลิตและการส่งออกของสิงคโปร์ได้ ประกอบกับการที่หุ้นกุล่มธนาคารสามารถสร้าง ผลประกอบการออกมาได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ตลาดหุ้นมาเลเซียเป็นตลาดที่ปรับลดลงมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียโดยปรับตัวลง 3% ด้วยผลกระทบจากการใช้นโยบายรัดเข็มขัดของภาครัฐบาล และภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง อย่างไรก็ตาม เมื่อก้าวเข้าสู่เดือน พ.ค. ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญแรงกดดันอีกครั้ง หลังจากภาวะสงครามการค้าที่เริ่มส่อแววปะทุขึ้นอีกครั้งและอาจยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์กันก่อนหน้า ซึ่งไม่เพียงจะส่งผลถึง Sentiment ของตลาดการเงินโดยรวมเท่านั้น แต่อาจส่งผลลบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของภูมิภาคอีกด้วย อีกทั้งยังมีปัจจัยเฉพาะประเทศเข้ามากดดัน เช่น อินโดนีเซียที่เกิดการประท้วงภายในกรุงจาการ์ตาหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งจนทำให้มีผู้เสียชีวิต หรือไทยที่การจัดตั้งรัฐบาลยังคงไม่ลงตัวแม้จะผ่านพ้นการเลือกตั้งมาเป็นระยะเวลาหลายเดือนแล้ว ทั้งนี้ในแง่ของกระแสเงินทุน ตลาดหุ้นอินโดนีเซียได้รับกระแสเงินทุนไหลเข้ามากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี ด้วยปัจจัยกดดันทางด้านบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นอย่างมากและอย่างต่อเนื่องเริ่มคลี่คลายลง รวมถึงการที่ตลาดหุ้นปรับลดระดับลงมาดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน ขณะที่ มาเลเซียยังคงเผชิญกับเงินทุนไหลออกจากปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจที่แย่ลงจากการรัดเข็มขัดทางการคลังของรัฐบาล มุมมองของกองทุนบัวหลวงต่อเศรษฐกิจอาเซียนแบ่งตามรายประเทศ อินโดนีเซีย หลังจากที่ธนาคารกลาง (BI: Bank Indonesia) ขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี […]

B-ASEAN และB-ASEANRMF

B-ASEAN และB-ASEANRMF

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF) ปี 2019 นับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งของหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ รวมถึง “อินโดนีเซีย” ที่ผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงกลางเดือน เม.ย. และมีการประกาศผลการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า นายโจโค วิโดโด จากพรรคประชาธิปไตยแห่งการต่อสู้ของอินโดนีเซีย (Indonesian Democratic Party of Struggle) เอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่าง พล.ท. ปราโบโว สุบิยันโต จากพรรคเกรินดา (Gerindra) ไปด้วยคะแนนร้อยละ 55:45 โดยที่ พล.ท. ปราโบโว ประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ด้วยยกเหตุผลที่ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส และเรียกร้องให้กลุ่มผู้สนับสนุนของตนเองออกมาเดินขบวนประท้วงในกรุงจาการ์ตา ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอินโดนีเซียและตลาดค่าเงินกลับไม่ได้ตอบรับกับประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นมากนัก โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงเล็กน้อยในช่วงแรกเริ่มของการประท้วง ก่อนที่ปรับตัวขึ้นมาใหม่ […]

GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. ชะลอลงหลุดกรอบ BI

GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. ชะลอลงหลุดกรอบ BI

BF Economic Research เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ 7.1% YoY ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง อินโดนีเซีย: อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. 2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 2.48% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.57% YoY ต่ำกว่ากรอบที่ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ตั้งเป้าไว้   ASEAN UPDATE เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 ขยายตัวที่ 6.8% YoY โดยแม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 7.1% YoY แต่ก็นับว่าสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง  การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกของปี เกิดจากแรงส่งสำคัญจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 8.6% YoY (Prev.8.9% YoY) ประกอบกับภาคบริการที่ขยายตัว 6.5% YoY […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วงเดือน ธ.ค. 2018 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ในเดือน ธ.ค. ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องอีก 3.8% ส่งผลให้ทั้งปี 2018 ตลาดหุ้นอาเซียนปรับตัวลง 11% โดยได้รับปัจจัยกดดันจากภายนอกมากกว่าปัจจัยภายในภูมิภาค ปัจจัยหลักคือการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) รวมถึงยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่ยืดเยื้อและยังไม่ได้ข้อสรุปของการเจรจาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องทั้งปี ยกเว้นเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้า อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอาเซียนนับว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าเอเชียที่ในปี 2018 ดัชนี MSCI AC Asia ex-Japan ปรับตัวลง 16% ด้วยความที่ประเทศกลุ่มอาเซียนได้รับผลกระทบของปัญหาสงครามการค้าอย่างค่อนข้างจำกัด และบางประเทศ เช่น เวียดนาม กลับกลายเป็นได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต ประกอบกับราคาหุ้นที่ระดับมูลค่าปรับลดลงมาจนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีต ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่ปรับลงมากสุดใน 2018 ด้วยเหตุจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อการนำเข้าและทำให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อพุ่งทะยานขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังค่าเงินของประเทศที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ ทำให้ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อพยุงค่าเงินและต่อสู้กับเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี 2019 ตลาดหุ้นอาเซียนกลับมามีผลตอบแทนเป็นบวกอีกครั้ง ด้วยปัจจัยที่คอยกดดันตลาดหุ้นอาเซียนในปี 2018 […]

ASEAN UPDATE : อินโดนีเชียขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.ชะลอลง ขณะที่การส่งออกสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวลงสูงสุดในรอบ 2 ปี

ASEAN UPDATE : อินโดนีเชียขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.ชะลอลง ขณะที่การส่งออกสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวลงสูงสุดในรอบ 2 ปี

BF Economic Research อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ต. ชะลอลงเหลือ 1.1 พันล้านดอลลาร์ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์เป็นผลมาจากการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลง ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6.0% ในการประชุมวันนี้ (17 ม.ค.) สิงคโปร์ : การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวต่อเนื่องที่ -8.5 % YoY จากที่หดตัว -2.8% YoY ในเดือนที่ผ่านมา อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ค. ลดลงเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์ ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ที่ 1.115 พันล้านดอลลาร์ฯโดยชะลอลงจากเดือนที่ผ่านซึ่งขาดดุลที่  2.05 พันล้านดอลลาร์ฯ  โดยแม้ว่าการส่งออกจะหดตัวลงที่ -4.6% YoY  (vs. Consensus 1.0% YoY ) แต่การนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงที่ […]

GDP สิงคโปร์ไตรมาส 4/2018 โต 2.2% YoY ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี

GDP สิงคโปร์ไตรมาส 4/2018 โต 2.2% YoY ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี

BF Economic Research GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 2.3% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 2.7% YoY GDP ทั้งปี 2018 ของสิงคโปร์ขยายตัว 3.3% ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่ขยายตัว 3.6% อย่างไรก็ดี ยังคงอยู่ในกรอบที่ MIT ได้ประกาศเป้าหมายปี 2018 ไว้ที่ 3.0-3.5% ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในปี 2019 น่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ MAS ยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างรัดกุมต่อไปในระยะข้างหน้า          GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อยที่ขยายตัว 2.3% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ […]

ทิศทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ยังมีโมเมนตัมโตต่อเนื่องจากปี 2018

ทิศทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ยังมีโมเมนตัมโตต่อเนื่องจากปี 2018

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา  GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 4.1% YoY ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เนื่องมาจากภาคการผลิตและภาคบริการชะลอลงส่วนภาคการก่อสร้างมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยที่หดตัวลดลงที่ -2.3% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ -4.6% YoY ทว่ายังคงถูกฉุดรั้งจากภาคการก่อสร้างสาธารณะที่ยังคงไม่ฟื้นตัว สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2018 GDP ของสิงคโปร์น่าจะยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนทางการค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะประเด็นการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี คาดว่า เศรษฐกิจของสิงคโปร์น่าจะยังคงเติบโตได้จากภาคการผลิตซึ่งมีบทบาทหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ประกอบกับภาคบริการทางการเงินและประกันภัยที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (Ministry of Trade and Industry Singapore, MTI) ได้ประกาศเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ปี 2018 ที่ 2.5-3.5% โดยเป็นการปรับกรอบการประมาณการให้แคบลงจากเดิมที่ 2.0-3.5% ในครั้งที่ผ่านมา โดยกองทุนบัวหลวงมองว่าค่ากลางของ […]

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจมาเลเซียน่าจะเติบโตได้ 4.6% ในปี 2019

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจมาเลเซียน่าจะเติบโตได้ 4.6% ในปี 2019

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3/2018 เติบโต 4.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 4.5% YoY จากการส่งออกที่ได้รับผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงราคาน้ำมันปาล์ม และก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ คือ การบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด เนื่องจากผลของการยกเลิกภาษี GST (Goods and Services Tax) ในเดือนมิ.ย.-ส.ค. ก่อนจะกลับมาใช้ภาษี SST (Sales and Service Tax)  ตามเดิม และการอุดหนุนราคาน้ำมัน สามารถกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศซึ่งคิดเป็น 55% ของขนาดเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวได้ถึง 9.0% YoY ในไตรมาส 3/2018 ด้านการลงทุนในประเทศเติบโต 3.2% YoY เพิ่มขึ้นจาก 2.2% YoY […]

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจเวียดนามปี 2019 จะขยายตัวได้ 6.6%

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจเวียดนามปี 2019 จะขยายตัวได้ 6.6%

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา  เศรษฐกิจเวียดนามยังถือว่าแข็งแกร่งในปี 2018 แม้จะต้องเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน โดยเติบโต 6.8% YoY ในไตรมาส 3/2018 ภาคอุตสาหกรรมซึ่งสะท้อนการส่งออกของประเทศยังขยายตัวได้ดี ท่ามกลางการค้าโลกที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลเรื่องการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ภาคบริการเติบโตต่อเนื่อง โดยได้อานิสงส์จากการขึ้นค่าจ้างแรงงาน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นมานับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2018 ที่ทะลุเป้าหมายของธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam, SBV) ที่ 4.0% ไปถึง 4.67% ก่อนจะปรับลดลงมาเหลือ 3.46% ในเดือนพ.ย. โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหลายรายการ นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 เรามองว่า ในปี 2019 เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ 6.6% ลดลงจากปี 2018 ที่ 6.9% อันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเวียดนาม อย่างไรก็ดี เรามองว่าเวียดนามจะเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการกีดกันทางการค้า […]

คว้าโอกาสในภูมิภาคอาเซียนไปกับ B-ASEAN

คว้าโอกาสในภูมิภาคอาเซียนไปกับ B-ASEAN

คว้าโอกาสในภูมิภาคอาเซียนไปกับ B-ASEAN โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน หรือ B-ASEAN เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งหุ้นในประเทศอื่นที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน จุดเด่นของภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 650 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการเติบโตทางเศรฐกิจสูงระดับต้นๆ ของโลก และยังเป็นเขตการค้าเสรีที่ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก จำนวนชนชั้นกลางกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วจาก 1/3 ของประชากร หรือกว่า 200 ล้านคนในปัจจุบัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2/3 หรือกว่า 400 ล้านคน ทำให้การจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการจะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประชากรในวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก มีอายุเฉลี่ย 29 ปี ซึ่งเป็นฐานกำลังแรงงานที่จะรองรับการผลิตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต การขยายตัวของชุมชนเมือง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของวิถีการใช้ชีวิตและการบริโภค ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจมากมายที่ตอบสนองกำลังซื้อเหล่านี้ เป็นภูมิภาคที่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งระบบขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน เพื่อรองรับการพัฒนาและสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ประเทศต่างๆ ในกลุ่มภูมิภาคอาเซีียนมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน เป็นโอกาสการลงทุนในบริษัทที่น่าสนใจ […]