ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน ฟิลิปปินส์

ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน ฟิลิปปินส์

BF Asean Corner ปี 2019 ถือว่าฟิลิปปินส์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่อเทียบปี 2018 แต่เนื่องจากมีประเด็นความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณปี 2019 เลยทำให้เรื่องงบประมาณเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ปี 2019 ไว้ เมื่อมองที่นโยบายการคลังของฟิลิปปินส์ ปีนี้ถือเป็นธีมหลัก เพราะการใช้จ่ายภาครัฐจะกลับมาเติบโตดี โดยงบประมาณปี 2020 มีการอนุมัติไปปลายปีที่แล้ว เมื่อรวมกับงบประมาณปี 2019 ที่ยังเหลืออยู่ จากการอนุมัติงบล่าช้า ทำให้ปีนี้มีงบประมาณเสริมเข้ามาค่อนข้างมาก เป็นตัวที่รัฐบาลนำมากระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี จึงมองว่า ปี 2020 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์น่าจะเติบโตดีขึ้นเทียบปี 2019 ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ มีโครงการชื่อว่า “Build, Build, Build” ซึ่งเราพูดกัน 2-3 ปีแล้ว เพราะโครงการนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2017 แต่โครงการล่าช้าค่อนข้างมาก โดยตอนแรกมีถึง 75 โครงการ แต่ที่ทำแล้วเสร็จมีเพียง 2 โครงการ จะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ที่ทำได้เสร็จมีน้อยมาก ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนและแก้กระบวนการต่างๆ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วง ต.ค. 2019 ในช่วงเดือน ต.ค. ต่อมาถึงเดือน พ.ย. บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกผ่อนคลายมากขึ้น จากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆที่ตลาดจับตามองนั้น มีพัฒนาการออกมาในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ใกล้จะบรรลุข้อตกลงเฟสแรกร่วมกันได้ รวมถึง Brexit ที่สามารถเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไปได้อีก 3 เดือน และอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การผ่อนคลายของนโยบายการเงินจากธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะ FED ที่ในปีนี้ได้ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้วถึง 3 ครั้ง ท่ามกลางความเสี่ยงจากพัฒนาการเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนแอ ด้านตลาดหุ้นอาเซียน ในเดือน ต.ค. เมื่อพิจารณาจากดัชนี MSCI AC ASEAN Index กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ +2.35% เมื่อเทียบรายเดือน นำโดยตลาดหุ้นสิงคโปร์ที่ +3.5% ด้วยสถานการณ์เรื่องการค้าโลกที่ดีขึ้น รองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ที่ +2.6% หนุนโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวมถึงปรับลดอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (RRR) ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอาเซียนในเดือน […]

เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดี แล้วเหตุใดเวียดนามจึงลดดอกเบี้ย ?

เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดี แล้วเหตุใดเวียดนามจึงลดดอกเบี้ย ?

BF Asean Corner ธนาคารกลางเวียดนาม เพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับตลาด เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่าเวียดนามจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีอยู่ หากถามเหตุผลว่า ทำไม เวียดนามจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6.25% เป็น 6% มีอยู่ 2 เหตุผลหลัก ได้แก่ 1.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศเอาไว้ 2.ขณะนี้อยู่ในวงจรที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างกลับมาปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง ทำให้เวียดนาม ไม่ต้องการ behind the curve หรือปรับดอกเบี้ยช้าเกินไป จึงเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามเช่นกัน ทั้งนี้ มี 2 ปัจจัยสนับสนุนให้เวียดนามสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ โดยปัจจัยแรก ก็คือ อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก คือ ต่ำกว่า 3% อีกปัจจัยคือ ค่าเงินดองค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา เวียดนามเป็นประเทศที่ใช้นโยบายการเงินต่างจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่จะใช้การเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเป็นหลักเพื่อไปกระทบกับอัตราเงินเฟ้อ อย่างเช่น ไทย อินโดนีเซีย […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วง ส.ค. 2019 ตลาดการเงินโลกผันผวนในเดือน ส.ค. โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในช่วงต้นเดือนจากความผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐ ไม่ได้ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง และความกังวลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ที่สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ออกมาอ่อนแอลง ในด้านสงครามการค้านั้น ยกระดับความรุนแรงขึ้นจากการที่ทรัมป์เดินหน้าขึ้นภาษีบนสินค้านำเข้าจากจีน แม้ว่าจะมีการเลื่อนการขึ้นภาษีบางส่วนจากเดือน ก.ย. ไปเป็นเดือน ธ.ค. และจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯกว่า 5,000 รายการ เช่นเดียวกัน สงครามการค้าที่ดำเนินไปนั้น ในด้านหนึ่งทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มที่จะส่งสัญญาณชะลอลงบ้าง เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ 50.3 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นต้น และอาจเริ่มส่งผลต่อคะแนนเสียงมากขึ้นต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของทรัมป์ในปีหน้า ทำให้ทรัมป์มีท่าทีที่พร้อมเจรจามากขึ้น ในด้านของตลาดหุ้นอาเซียน หลังจากปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2019 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ในช่วงเดือน ส.ค. ปรับลดลงเฉกเช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับตัวลงมากที่สุดที่ -5.9% ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจจีนกับการผลิตและการส่งออกของของสิงคโปร์อยู่ในระดับค่อนข้างสูงรวมถึงรัฐบาลสิงคโปร์ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลง รองลงมาได้แก่ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลง -3.3% […]

เจาะลึกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซียของ โจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ผ่านร่างงบประมาณปี 2020

เจาะลึกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซียของ โจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ผ่านร่างงบประมาณปี 2020

โจโค วิโดโด หรือโจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของอินโดนีเซีย จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน ต.ค. นี้ ซึ่งเขาเสนอร่างแผนงบประมาณประจำปี 2020 มูลค่า 2,500 ล้านล้านรูเปียห์ ไปเมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา งบนี้จะอนุมัติในเดือน ต.ค. มีเป้าหมายหลักเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซีย สำหรับการดำเนินงานของโจโควีในสมัยที่ 2 นี้ ยังเน้นเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับช่วงที่เป็นประธานาธิบดีสมัยแรก แต่เพิ่มเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพมากขึ้นเข้าไป เพื่อสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมในประเทศให้เติบโต ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้เข้ามามากขึ้น นอกจากนี้โจโควีมีนโยบายปฏิรูปภาษี โดยภาษีสำคัญอย่างหนึ่งคือ ภาษีรายได้นิติบุคคล ที่จะลดลงจาก 25% เหลือ 20% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาค ประเด็นเหล่านี้ให้ประโยชน์กับภาคธุรกิจใดบ้าง ติดตามได้จากคลิปวิดีโอนี้

เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน

เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน

เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center Grab Food, Grab bike, Kerry, Food Panda หลากหลายธุรกิจที่เติบโตและพัฒนาตามการเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่กิจกรรมต่างๆ ที่ทำผ่านแอปพลิเคชัน ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยนี้ รูปแบบของการทำงานเองก็เช่นกัน หน้าที่การทำงานในรูปแบบเดิมๆ บางอย่างก็หายไป มีการใช้เครื่องมือทันสมัยมากขึ้น ลดการใช้คนลง และอาจจะมีอีกหลายอย่าง ที่เครื่องมือสามารถทดแทนคนได้ ดังนั้น ต้องมีการเตรียมพร้อมกับโลกที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และนี่ก็อาจจะส่งผลทำให้หลายคนประสบกับภาวะได้เงินชดเชยแทนการทำงานก็เป็นได้ หากใครที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ หรืออาจจะต้องพบกับเหตุการณ์แบบนี้ในระยะเวลาอันใกล้ ก็ต้องหันมามองดูรอบๆ ตัวว่าถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้เพียงพอไหม สามารถหางานที่ใหม่ได้ทันทีหรือเปล่า หรือหากอยากทำเองอิสระเรามีความสามารถที่จะทำเองได้หรือเปล่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายเรียบร้อย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 […]

เศรษฐกิจอาเซียนในระยะข้างหน้าน่าจะเร่งขึ้นจากแรงส่งของอุปสงค์ภายในประเทศ

เศรษฐกิจอาเซียนในระยะข้างหน้าน่าจะเร่งขึ้นจากแรงส่งของอุปสงค์ภายในประเทศ

BF Asean Corner ผ่านมาเกือบครึ่งปีแล้วสำหรับปี 2019 สำหรับเศรษฐกิจของอาเซียนในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ยังคงมีโมเมนตัมที่สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและมาเลเซียขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่นับว่าดูดีเลยทีเดียวท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนในขณะนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์และสิงคโปร์จะขยายตัวได้น่าผิดหวังเล็กน้อย แต่ก็มีปัจจัยเฉพาะที่สามารถอธิบายได้คือ ฟิลิปปินส์เป็นผลจากความล่าช้าในการผ่านร่างนโยบายงบประมาณ สำหรับสิงคโปร์เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก ก็ย่อมได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้า รวมถึงเป็นผลของฐานที่สูงของช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมาอีกด้วย แต่อย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจอาเซียนในไตรมาสแรกของปี สามารถทำให้เติบโตได้ดี คืออุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ขณะที่ การบริโภคภาครัฐบาลในบางประเทศ และการลงทุนในทุกประเทศอาเซียนยังไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร สำหรับในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจของประเทศอาเซียนน่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุน อย่างแรกคือการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ หลังการเลือกตั้งของอินโดนีเซียท่ามกลางชัยชนะของโจโควีที่ได้ก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่เพิ่งผ่านพ้นการเลือกตั้งกลางเทอมเมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคของรัฐบาลภายใต้การนำของดูเตอร์เต้ได้กวาดชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ความต่อเนื่องนโยบายของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานน่าจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพ ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของมหาเธร์ ก็น่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทบทวนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อันที่ 2 คือ การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังการเลือกตั้งของประเทศอาเซียนซึ่งมีเสถียรภาพ จะส่งผลให้การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ การลงทุนภาคการก่อสร้างของสิงคโปร์ที่มีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อดึงดูดการลงทุน อีกอันที่สำคัญคือการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งประเทศที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วคือมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนอินโดนีเซียก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดเช่นกัน ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นอีกหนึ่งแรงส่งสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านต้นทุนทางการเงินที่ลดลง […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาของปี 2019 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงปลายเดือน เม.ย. กลับมาปรับตัวขึ้นได้ถึง 7.7% จากปี 2018 ที่ปรับลดไปถึง 11% นำโดยตลาดหุ้นสิงคโปร์ที่เพิ่มขึ้นกว่า 11% จากความหวังว่าภาวะสงครามการค้าจะผ่อนคลายลงและจะลดทอนผลกระทบที่มีต่อภาคการผลิตและการส่งออกของสิงคโปร์ได้ ประกอบกับการที่หุ้นกุล่มธนาคารสามารถสร้าง ผลประกอบการออกมาได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ตลาดหุ้นมาเลเซียเป็นตลาดที่ปรับลดลงมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียโดยปรับตัวลง 3% ด้วยผลกระทบจากการใช้นโยบายรัดเข็มขัดของภาครัฐบาล และภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง อย่างไรก็ตาม เมื่อก้าวเข้าสู่เดือน พ.ค. ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญแรงกดดันอีกครั้ง หลังจากภาวะสงครามการค้าที่เริ่มส่อแววปะทุขึ้นอีกครั้งและอาจยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์กันก่อนหน้า ซึ่งไม่เพียงจะส่งผลถึง Sentiment ของตลาดการเงินโดยรวมเท่านั้น แต่อาจส่งผลลบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของภูมิภาคอีกด้วย อีกทั้งยังมีปัจจัยเฉพาะประเทศเข้ามากดดัน เช่น อินโดนีเซียที่เกิดการประท้วงภายในกรุงจาการ์ตาหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งจนทำให้มีผู้เสียชีวิต หรือไทยที่การจัดตั้งรัฐบาลยังคงไม่ลงตัวแม้จะผ่านพ้นการเลือกตั้งมาเป็นระยะเวลาหลายเดือนแล้ว ทั้งนี้ในแง่ของกระแสเงินทุน ตลาดหุ้นอินโดนีเซียได้รับกระแสเงินทุนไหลเข้ามากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี ด้วยปัจจัยกดดันทางด้านบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นอย่างมากและอย่างต่อเนื่องเริ่มคลี่คลายลง รวมถึงการที่ตลาดหุ้นปรับลดระดับลงมาดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน ขณะที่ มาเลเซียยังคงเผชิญกับเงินทุนไหลออกจากปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจที่แย่ลงจากการรัดเข็มขัดทางการคลังของรัฐบาล มุมมองของกองทุนบัวหลวงต่อเศรษฐกิจอาเซียนแบ่งตามรายประเทศ อินโดนีเซีย หลังจากที่ธนาคารกลาง (BI: Bank Indonesia) ขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี […]

B-ASEAN และB-ASEANRMF

B-ASEAN และB-ASEANRMF

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF) ปี 2019 นับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งของหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ รวมถึง “อินโดนีเซีย” ที่ผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงกลางเดือน เม.ย. และมีการประกาศผลการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า นายโจโค วิโดโด จากพรรคประชาธิปไตยแห่งการต่อสู้ของอินโดนีเซีย (Indonesian Democratic Party of Struggle) เอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่าง พล.ท. ปราโบโว สุบิยันโต จากพรรคเกรินดา (Gerindra) ไปด้วยคะแนนร้อยละ 55:45 โดยที่ พล.ท. ปราโบโว ประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ด้วยยกเหตุผลที่ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส และเรียกร้องให้กลุ่มผู้สนับสนุนของตนเองออกมาเดินขบวนประท้วงในกรุงจาการ์ตา ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอินโดนีเซียและตลาดค่าเงินกลับไม่ได้ตอบรับกับประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นมากนัก โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงเล็กน้อยในช่วงแรกเริ่มของการประท้วง ก่อนที่ปรับตัวขึ้นมาใหม่ […]

GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. ชะลอลงหลุดกรอบ BI

GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. ชะลอลงหลุดกรอบ BI

BF Economic Research เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ 7.1% YoY ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง อินโดนีเซีย: อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. 2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 2.48% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.57% YoY ต่ำกว่ากรอบที่ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ตั้งเป้าไว้   ASEAN UPDATE เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 ขยายตัวที่ 6.8% YoY โดยแม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 7.1% YoY แต่ก็นับว่าสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง  การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกของปี เกิดจากแรงส่งสำคัญจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 8.6% YoY (Prev.8.9% YoY) ประกอบกับภาคบริการที่ขยายตัว 6.5% YoY […]