ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วงเดือน ธ.ค. 2018 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ในเดือน ธ.ค. ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องอีก 3.8% ส่งผลให้ทั้งปี 2018 ตลาดหุ้นอาเซียนปรับตัวลง 11% โดยได้รับปัจจัยกดดันจากภายนอกมากกว่าปัจจัยภายในภูมิภาค ปัจจัยหลักคือการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) รวมถึงยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่ยืดเยื้อและยังไม่ได้ข้อสรุปของการเจรจาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องทั้งปี ยกเว้นเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้า อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอาเซียนนับว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าเอเชียที่ในปี 2018 ดัชนี MSCI AC Asia ex-Japan ปรับตัวลง 16% ด้วยความที่ประเทศกลุ่มอาเซียนได้รับผลกระทบของปัญหาสงครามการค้าอย่างค่อนข้างจำกัด และบางประเทศ เช่น เวียดนาม กลับกลายเป็นได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต ประกอบกับราคาหุ้นที่ระดับมูลค่าปรับลดลงมาจนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีต ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่ปรับลงมากสุดใน 2018 ด้วยเหตุจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อการนำเข้าและทำให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อพุ่งทะยานขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังค่าเงินของประเทศที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ ทำให้ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อพยุงค่าเงินและต่อสู้กับเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี 2019 ตลาดหุ้นอาเซียนกลับมามีผลตอบแทนเป็นบวกอีกครั้ง ด้วยปัจจัยที่คอยกดดันตลาดหุ้นอาเซียนในปี 2018 […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update
ASEAN UPDATE : อินโดนีเชียขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.ชะลอลง ขณะที่การส่งออกสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวลงสูงสุดในรอบ 2 ปี
BF Economic Research อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ต. ชะลอลงเหลือ 1.1 พันล้านดอลลาร์ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์เป็นผลมาจากการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลง ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6.0% ในการประชุมวันนี้ (17 ม.ค.) สิงคโปร์ : การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวต่อเนื่องที่ -8.5 % YoY จากที่หดตัว -2.8% YoY ในเดือนที่ผ่านมา อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ค. ลดลงเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์ ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ที่ 1.115 พันล้านดอลลาร์ฯโดยชะลอลงจากเดือนที่ผ่านซึ่งขาดดุลที่ 2.05 พันล้านดอลลาร์ฯ โดยแม้ว่าการส่งออกจะหดตัวลงที่ -4.6% YoY (vs. Consensus 1.0% YoY ) แต่การนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงที่ […]
B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update Singapore
GDP สิงคโปร์ไตรมาส 4/2018 โต 2.2% YoY ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี
BF Economic Research GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 2.3% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 2.7% YoY GDP ทั้งปี 2018 ของสิงคโปร์ขยายตัว 3.3% ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่ขยายตัว 3.6% อย่างไรก็ดี ยังคงอยู่ในกรอบที่ MIT ได้ประกาศเป้าหมายปี 2018 ไว้ที่ 3.0-3.5% ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในปี 2019 น่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ MAS ยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างรัดกุมต่อไปในระยะข้างหน้า GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อยที่ขยายตัว 2.3% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update
ทิศทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ยังมีโมเมนตัมโตต่อเนื่องจากปี 2018
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 4.1% YoY ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เนื่องมาจากภาคการผลิตและภาคบริการชะลอลงส่วนภาคการก่อสร้างมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยที่หดตัวลดลงที่ -2.3% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ -4.6% YoY ทว่ายังคงถูกฉุดรั้งจากภาคการก่อสร้างสาธารณะที่ยังคงไม่ฟื้นตัว สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2018 GDP ของสิงคโปร์น่าจะยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนทางการค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะประเด็นการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี คาดว่า เศรษฐกิจของสิงคโปร์น่าจะยังคงเติบโตได้จากภาคการผลิตซึ่งมีบทบาทหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ประกอบกับภาคบริการทางการเงินและประกันภัยที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (Ministry of Trade and Industry Singapore, MTI) ได้ประกาศเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ปี 2018 ที่ 2.5-3.5% โดยเป็นการปรับกรอบการประมาณการให้แคบลงจากเดิมที่ 2.0-3.5% ในครั้งที่ผ่านมา โดยกองทุนบัวหลวงมองว่าค่ากลางของ […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update Malaysia
กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจมาเลเซียน่าจะเติบโตได้ 4.6% ในปี 2019
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3/2018 เติบโต 4.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 4.5% YoY จากการส่งออกที่ได้รับผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงราคาน้ำมันปาล์ม และก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ คือ การบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด เนื่องจากผลของการยกเลิกภาษี GST (Goods and Services Tax) ในเดือนมิ.ย.-ส.ค. ก่อนจะกลับมาใช้ภาษี SST (Sales and Service Tax) ตามเดิม และการอุดหนุนราคาน้ำมัน สามารถกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศซึ่งคิดเป็น 55% ของขนาดเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวได้ถึง 9.0% YoY ในไตรมาส 3/2018 ด้านการลงทุนในประเทศเติบโต 3.2% YoY เพิ่มขึ้นจาก 2.2% YoY […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update Vietnam
กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจเวียดนามปี 2019 จะขยายตัวได้ 6.6%
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจเวียดนามยังถือว่าแข็งแกร่งในปี 2018 แม้จะต้องเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน โดยเติบโต 6.8% YoY ในไตรมาส 3/2018 ภาคอุตสาหกรรมซึ่งสะท้อนการส่งออกของประเทศยังขยายตัวได้ดี ท่ามกลางการค้าโลกที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลเรื่องการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ภาคบริการเติบโตต่อเนื่อง โดยได้อานิสงส์จากการขึ้นค่าจ้างแรงงาน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นมานับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2018 ที่ทะลุเป้าหมายของธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam, SBV) ที่ 4.0% ไปถึง 4.67% ก่อนจะปรับลดลงมาเหลือ 3.46% ในเดือนพ.ย. โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหลายรายการ นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 เรามองว่า ในปี 2019 เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ 6.6% ลดลงจากปี 2018 ที่ 6.9% อันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเวียดนาม อย่างไรก็ดี เรามองว่าเวียดนามจะเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการกีดกันทางการค้า […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF BF Knowledge Center
คว้าโอกาสในภูมิภาคอาเซียนไปกับ B-ASEAN
คว้าโอกาสในภูมิภาคอาเซียนไปกับ B-ASEAN โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน หรือ B-ASEAN เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งหุ้นในประเทศอื่นที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน จุดเด่นของภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 650 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการเติบโตทางเศรฐกิจสูงระดับต้นๆ ของโลก และยังเป็นเขตการค้าเสรีที่ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก จำนวนชนชั้นกลางกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วจาก 1/3 ของประชากร หรือกว่า 200 ล้านคนในปัจจุบัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2/3 หรือกว่า 400 ล้านคน ทำให้การจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการจะเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประชากรในวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก มีอายุเฉลี่ย 29 ปี ซึ่งเป็นฐานกำลังแรงงานที่จะรองรับการผลิตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต การขยายตัวของชุมชนเมือง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของวิถีการใช้ชีวิตและการบริโภค ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจมากมายที่ตอบสนองกำลังซื้อเหล่านี้ เป็นภูมิภาคที่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งระบบขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน เพื่อรองรับการพัฒนาและสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ประเทศต่างๆ ในกลุ่มภูมิภาคอาเซีียนมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน เป็นโอกาสการลงทุนในบริษัทที่น่าสนใจ […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Morning Brief
อินโดนีเซียได้ฤกษ์ลงนามข้อตกลงการค้ากับ EFTA หลังเจรจามาเกือบ 8 ปี
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาอินโดนีเซียได้ลงนามในข้อตกลงด้านเศรษฐกิจกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ถือเป็นข้อสรุปที่ได้หลังจากเจรจากันมาเกือบ 8 ปี ภายใต้ข้อตกลงนี้ อุปสรรคด้านภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่เรื่องภาษีจะถูกกำจัดออกไป สำหรับผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 รายการที่อินโดนีเซียและประเทศในกลุ่ม EFTA ค้าขายกัน โดยประเทศในกลุ่ม EFTA ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ ส่วนสินค้าที่ครอบคลุม ได้แก่ น้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย จะสามารถเข้าถึงตลาดไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ได้อย่างเต็มที่ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ปาล์มสำหรับอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากปลา ขณะที่ สวิตเซอร์แลนด์ ก็พร้อมเปิดรับผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มง่ายขึ้น แต่อยู่ภายใต้โควต้าที่แน่นอน Enggartiasto Lukita รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซีย กล่าวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดต่างๆ ของน้ำมันปาล์มว่า เป็นประเด็นที่เจรจาลากยาวมาหลายปีแล้ว โดยการหารือรอบแรกเริ่มขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2011 Johann N. Schneider-Ammann สมาชิกสภาแห่งสหพันธ์สวิส กล่าวว่า ข้อตกลงนี้อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม จากข้อมูลของอินโดนียเซีย พบว่า ปี 2017 […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Philippines
ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นที่ 4.35 พันล้านดอลลาร์ฯ
BF Economic Research การส่งออกฟิลิปปินส์เดือนต.ต. 2018 อยู่ที่ 6,108.1 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว 3.3% YoY ขณะที่ การนำเข้าอยู่ที่ 10,320.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวสูง 21.4% YoY ส่งผลให้ฟิลิปปินส์ขาดดุล -4,212.0 ล้านดอลลาร์ฯ โดย 10 เดือนแรกของปี 2018 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าสะสม -33,917.9 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นกว่า 68.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งขาดดุลการค้าสะสมที่ -20,128.5 ล้านดอลลาร์ฯ การส่งออกฟิลิปปินส์เดือนต.ค. อยู่ที่ 6,108.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.3% YoY ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 10,320.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว +21.4% YoY ส่งผลให้ขาดดุล -4,212.0 ล้านดอลลาร์ฯ […]
B-ASEANRMF Product Update Uncategorized
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาของปี 2018 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ในเดือน ต.ค. ปรับลดลง 6.24% ส่งผลให้ตั้งแต่ช่วงต้นปีตลาดหุ้นอาเซียนปรับตัวลงไปแล้วกว่า -11% โดยปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นอาเซียนยังคงเป็นปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน ปัจจัยหลักคือการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีนที่ยืดเยื้อและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และอาจส่งผลกระทบถึงการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเริ่มเห็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนแล้ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภูมิภาคอาเซียนด้วยประเทศจีนนั้นเป็นหนึ่งในคู่ค้าหลักของประเทศในภูมิภาค ขณะที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยนับจากต้นปีมีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากขายหุ้น IPO ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอาเซียนนับว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดอื่นๆ ในเอเชีย ด้วยความที่ประเทศกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบของปัญหาสงครามการค้าค่อนข้างจำกัด ประกอบกับราคาหุ้นที่ระดับมูลค่าปรับลดลงมาใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีต จึงทำให้ระดับดัชนีตลาดหุ้นกลุ่มประเทศอาเซียนทรงตัว ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นสองตลาดที่ปรับลงมากสุดในปีนี้ ด้วยเหตุจาก ราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อการนำเข้าและทำให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังค่าเงินของประเทศที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ แม้ว่า ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียได้ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อพยุงค่าเงินก็ตาม อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามในประเด็นเรื่องอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ที่อยู่ในระดับสูงราว 6% จากแผนปฏิรูปภาษี และราคาข้าวและน้ำมันที่สูงขึ้น ในส่วนของตลาดหุ้นสิงคโปร์ที่ให้ผลตอบแทนดีในช่วงต้นปี กลับมาปรับตัวลงในครึ่งปีหลัง […]