ยุโรปตั้งเป้าหมายผลิตเซมิคอนดักเตอร์ 20% ของโลกภายใน 10 ปีจากนี้

ยุโรปตั้งเป้าหมายผลิตเซมิคอนดักเตอร์ 20% ของโลกภายใน 10 ปีจากนี้

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า สหภาพยุโรปต้องการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำสมัย ในสัดส่วน 1 ใน 5 ของโลก ภายใน 10 ปีนี้ และต้องการมีควอนตัมคอมพิวเตอร์เครื่องแรกภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการสนับสนุนลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ไม่ได้มาจากยุโรป แผนงานของยุโรปนี้มีชื่อว่า 2030 ดิจิทัล คอมพาส เกิดขึ้นในช่วงที่มีไวรัสแพร่ระบาด ซึ่ง 27 ประเทศสมาชิกของยุโรป พึ่งพาเทคโนโลยีที่บริษัทจีนและสหรัฐฯ เป็นเจ้าของ ทั้งนี้ ในแผนงานให้ความสำคัญกับเซมิคอนดักเตอร์ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับรถยนต์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง และปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และใช้ในกรณีที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาขาดแคลนจนต้องปิดโรงงานผลิตรถยนต์ “เป้าหมายของเราคือผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำสมัยและมีความยั่งยืนในยุโรป รวมถึงชิปประมวลผล อย่างน้อย 20% ของการผลิตทั่วโลกในเชิงมูลค่า” ข้อมูลตามเอกสารของยุโรป ที่รอยเตอร์ส พบเห็น นอกจากนี้ ยุโรปยังวางแผนสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีควอนตัม เนื่องจากมองว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการพัฒนายาใหม่ๆ และเร่งความเร็วในการจัดลำดับจีโนม ขณะเดียวกัน ยุโรปยังมีแผนที่จะลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศ ภายในปี 2030 […]

อียูต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หนุนใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 50 เท่าใน 10 ปี

อียูต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หนุนใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 50 เท่าใน 10 ปี

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า Eurelectric ออกมาเผยว่า สหภาพยุโรป (อียู) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 50 เท่า ภายในช่วง 10 ปีจากนี้ เพื่อช่วยลดมลภาวะจากก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 96,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการลงทุนจุดชาร์จเพื่อสนับสนุน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปต้องการให้มีรถยนต์ที่สร้างมลภาวะเป็นศูนย์ 30 ล้านคัน วิ่งบนถนนภายในปี 2030 ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนันสนุนการลดสร้างมลภาวะอย่างน้อย 55% ภายในทศวรรษนี้ เมื่อเทียบกับระดับที่มีในช่วงปี 1990-1999 จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ยุโรป เผยว่า สิ้นปี 2019 อียูมีรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 615,000 คัน ขณะที่จำนวนจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะมีประมาณ 250,000 จุด ซึ่งต้องเพิ่มเป็น 3 ล้านจุด ภายในปี 2030 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายสีเขียว ตามรายงานของ Eurelectric สมาคมไฟฟ้าแห่งชาติ  […]

BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ยุโรป

BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ยุโรป

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 จากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่นำมาซึ่งมาตรการล็อคดาวน์และการปิดพรมแดนระหว่างประเทศในยุโรปช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 2/2020 หดตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่มีการรวมกลุ่มยูโรโซนในปี 1999 ที่ -11.8% QoQ โดยเป็นการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนเป็นหลัก แต่หลังจากนั้นในไตรมาส 3/2020 ที่แต่ละประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ธุรกิจต่างๆ กลับมาเปิดดำเนินงาน และมีการเดินทางระหว่างประเทศในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) การค้าปลีก และการผลิต ต่างฟื้นตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ตัวเลข GDP ของไตรมาส 3/2020 พลิกกลับมาขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาดถึง 12.5% QoQ นับเป็นการขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนจะพบว่าเศรษฐกิจยังหดตัวอยู่ -4.3% YoY ในรายประเทศ GDP ไตรมาส 3/2020 ของประเทศเศรษฐกิจหลักต่างพลิกกลับมาขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส จากความต้องการสินค้าในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการบริโภคและการลงทุน […]

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ยุโรป

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ยุโรป

ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา      เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 3/2019 ขยายตัว 0.2% QoQ sa เท่ากับตัวเลขในไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบรายปีขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.2% YoY เท่ากับไตรมาสก่อน ในรายองค์ประกอบ การใช้จ่ายภาคเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ โดยส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Contribution to Growth) 0.3% ตามมาด้วยการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนที่ 0.1% อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การค้าโลกยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจยูโรโซนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยังคงไม่ได้ข้อสรุป ด้านเศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวดีกว่าคาดที่ 0.1% QoQ sa หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาส 3 เนื่องจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจหดตัว -0.2% ในไตรมาส 2 ส่งผลให้สามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยไปได้ ส่วนเศรษฐกิจฝรั่งเศส และอิตาลีมีการขยายตัว 0.3% QoQ sa และ 0.1% QoQ sa ตามลำดับ ทั้งนี้ ท่ามกลางการชะลอตัวของภาคการผลิตในยูโรโซนที่สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ […]

ทิศทางเศรษฐกิจยูโรโซนปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลง

ทิศทางเศรษฐกิจยูโรโซนปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลง

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3/2018 ของกลุ่มยูโรโซน 19 ประเทศเติบโต 0.2% QoQ sa (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่โต 0.4% QoQ sa โดยเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2014 หลักๆ เป็นผลมาจากอุปสงค์ภายนอกที่ลดลง ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศเติบโตในอัตราที่ชะลอลง จากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลง ในรายประเทศ GDP เยอรมนีหดตัว -0.2 % QoQ sa (Prev. 0.5% QoQ sa) โดยเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2015 โดยเป็นผลมาจากทั้งการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลง อนึ่ง เศรษฐกิจของเยอรมนีส่วนหนึ่งถูกฉุดรั้งจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรฐานการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รูปแบบใหม่ (WLTP) ที่ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา  นอกจากนี้ […]

เงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. ขยายตัวที่ 2.0% YoY ขณะที่ อัตราการว่างงานเดือนก.ค.ต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี

เงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. ขยายตัวที่ 2.0% YoY ขณะที่ อัตราการว่างงานเดือนก.ค.ต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. 2018 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ 2.0% YoY จากเดือนทีผ่านมาที่ขยายตัว 2.1% YoY กลับเข้ามาใกล้เคียงกรอบที่ ECB ตั้งไว้คือ ใกล้เคียงแต่ไม่เกิน 2.0% ขณะที่ อัตราการว่างงานของยูโรโซนในเดือนก.ค. 2018 อยู่ที่ 8.2% ลดลงจากระดับ 9.1% ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา นับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2008  อัตราเงินเฟ้อยูโรโซน เดือนส.ค. 2018 ขยายตัว 2.0% YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.1% YoY โดยเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กที่ 9.2% YoY (prev. 9.5% YoY) ประกอบสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่พลังงานที่ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยเช่นกันที่ 0.3 % YoY (prev. 0.5% YoY) […]

ค่าเงินลีราของตุรกีวิกฤติสุดในรอบ 17 ปี กระทบยุโรปและEmerging Markets

ค่าเงินลีราของตุรกีวิกฤติสุดในรอบ 17 ปี กระทบยุโรปและEmerging Markets

BF Economic Research ค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนัก โดยแตะ 6.916 ลีราตุรกี ต่อ ดอลลาร์ฯ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องของตุรกี ประกอบกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาประกาศเพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลว่าการดิ่งลงของค่าเงินลีราจะส่งผลกระทบต่อธนาคารยุโรปในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ของตุรกี สำหรับผลต่อตลาดอาเซียนนั้นค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียและเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนตัวลงแรง ค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนัก โดยแตะ 6.916 ลีราตุรกี ต่อ ดอลลาร์ฯ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องของตุรกี ประกอบกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาประกาศเพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า เป็นอัตราภาษีต่อการนำเข้าเหล็กจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่จะที่ 20% หลัง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลว่าการดิ่งลงของค่าเงินลีราจะส่งผลกระทบต่อธนาคารยุโรป โดยเฉพาะธนาคารในสเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของตุรกี โดยการลดลงของค่าเงินลีราน่าจะส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศของตุรกีลดลงกระทั่งผิดนัดชำระได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและลุกลามไปในยุโรปได้    […]

GDPR ในยุโรปเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจบริหารจัดการข้อมูล

GDPR ในยุโรปเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจบริหารจัดการข้อมูล

กฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคล ที่รู้จักกันในชื่อ General Data Protection Rule (GDPR) กำลังส่งผลกระทบทั่วยุโรปแล้ว โดยที่ผ่านมา ภาคธุรกิจมีเวลา 2 ปีที่จะเตรียมตัวรับกฎหมายใหม่นี้ ซึ่งผลสำรวจจากบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล SAS พบว่ามีบริษัทเพียง 49% ทั่วโลกที่จะเตรียมพร้อมได้ตามกำหนดเวลา ปัจจุบัน GDPR มีผลบังคับใช้แล้ว บริษัทและบุคคลในด้านการบริหารจัดการข้อมูลจะมีโอกาสใหญ่ทางธุรกิจมากขึ้น โดย Tamzin Evershed ผู้บริหารด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลระดับโลก บริษัท Veritas Technologies ซึ่งเป็นบริษัทบริหารจัดการข้อมูลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เราต้องการคนมากขึ้นที่จะเข้าใจว่าจะปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวอย่างไร Evershed ระบุว่า ได้ใช้เวลาถึง 2 ปี ในการเตรียมตัวรับกับ GDPR โดยการทำงานกับทีมงานด้านไอทีและกฎหมายของ Veritas ทั่วโลก แน่นอนว่าเรื่องนี้ซับซ้อนและหลายคนจำเป็นต้องเข้ามาเรียนรู้อย่างรวดเร็ว สำหรับ GDPR เรียกร้องให้รัฐและบริษัทที่มีกิจกรรมหลักๆ เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลที่สำคัญๆ ต้องจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อมาคอยปกป้องดูแลข้อมูล โดยในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลต้องแจ้งให้ทราบในเวลา 72 ชั่วโมง […]

เศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสแรก เติบโต +0.4% QoQ sa

เศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสแรก เติบโต +0.4% QoQ sa

GDP ไตรมาส 1/2018 ของยูโรโซน โต +0.4% QoQ sa ชะลอลงจาก +0.7% QoQ sa ในไตรมาสก่อนหน้า การแข็งค่าของสกุลเงินยูโร กดดันความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ และสงครามการค้ายืดเยื้อกระทบความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ข้อมูลดังกล่าว จะถูก ECB นำไปพิจารณาเพื่อตัดสินใจกรอบเวลาในการคลาย QE ออก Eurostat ประเมินเบื้องต้นว่า เศรษฐกิจของสมาชิกยูโรโซน 19 ประเทศขยายตัวเพียง +0.4% QoQ sa ในไตรมาสที่ 1/2018 (Preliminary Flash Estimate) นับว่าน้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่โตได้ +0.7% QoQ sa พอสมควร และยังถือว่าช้าที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม เรายังต้องรอดูองค์ประกอบที่จะถูกเผยออกมาในการประกาศครั้งถัดไป เพื่อทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ที่ผ่านมา เศรษฐกิจยุโรปเผชิญกับแรงต้านหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศแปรปรวน […]

มูดี้ส์เผยเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้น ดันความน่าเชื่อถือปีนี้ มีเสถียรภาพ

มูดี้ส์เผยเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้น ดันความน่าเชื่อถือปีนี้ มีเสถียรภาพ

รายงานจากมูดี้ส์ระบุแนวโน้มความน่าเชื่อถือของยูโรโซนในปี 2018 มีเสถียรภาพ ปัจจัยสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามวัฏจักร ซึ่งสามารถชดเชยการปฏิรูปที่เป็นไปอย่างจำกัด สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิสยังระบุอีกว่า ความคืบหน้าในการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่ฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการรับมือกับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ยังไม่สอดคล้องกันทั่วภูมิภาค แม้เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงมีโอกาสปรับตัวสู่ช่วงขาขึ้นก็ตาม คาดการณ์การขยายตัวโดยเฉลี่ยของเศรษฐกิจยูโรโซนในปี 2018 จะอยู่ที่ 2.0% ก่อนที่จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 1.7% ในปี 2019 พร้อมระบุว่า อุปสงค์ภายในประเทศ (domestic demand) จะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี