สหรัฐฯ ประกาศเก็บเพิ่มภาษีชิ้นส่วนเครื่องบินและผลิตภัณฑ์อื่นจากฝรั่งเศสและเยอรมนี
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เผยว่า สหรัฐฯ จะเริ่มเก็บภาษีกับชิ้นส่วนเครื่องบินและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของฝรั่งเศสและเยอรมนี นับตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. นี้เป็นต้นไป หลังจากล้มเหลวกับการแก้ไขข้อพิพาท 16 ปี เรื่องการอุดหนุนอุตสาหกรรมเครื่องบินกับสหภาพยุโรป ข้อมูลนี้ ถูกส่งแจ้งให้ผู้ขนส่งทราบเมื่อช่วงดึกวันจันทร์ที่ผ่านมา เป็นหนังสือที่ออกโดยฝ่ายศุลกากรและป้องกันชายแดนของสหรัฐฯ ที่ระบุว่า แนวทางใหม่นี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก หรือเวลา 5.01 น. ตามเวลามาตรฐานสากล ของวันอังคาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้มาอย่างยาวนานระหว่างการที่รัฐบาลอุดหนุนบริษัท แอร์บัส ของยุโรป กับคู่แข่งในสหรัฐฯ อย่างโบอิ้ง การส่งหนังสือนี้เกิดขึ้นตามหลังการประกาศของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ที่ระบุว่า จะจัดเก็บภาษีเพิ่ม 15% กับชิ้นส่วนเครื่องบิน ได้แก่ ส่วนประกอบลำตัวและปีก และเก็บภาษี 25% กับไวน์บางชนิด แหล่งข่าวจากยุโรป เผยว่า วอชิงตันและบรัสเซลมีการหารือกันเพื่อที่จะจบการต่อสู้ครั้งนี้ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการบริหารงานโดย ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยวอชิงตันพยายามหาทางแก้ปัญหาแบบแยกต่างหากกับอังกฤษ ซึ่งมีหุ้นในแอร์บัส […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 11 ม.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,536.49 จุด เพิ่มขึ้น 0.05 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 11 ม.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,536.49 จุด เพิ่มขึ้น 0.05 จุด โดยระหว่างวันดัชนีสูงสุดที่ 1,550.75 จุด ต่ำสุดที่ 1,527.75 จุด มูลค่าการซื้อขาย 93,806.41 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.KTC ปิดที่ 79.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท (+2.93%) มูลค่าการซื้อขาย 6,554.18 ลบ. 2.EA ปิดที่ 64.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท (+2.38%) มูลค่าการซื้อขาย 5,414.66 ลบ. 3.DELTA ปิดที่ 748.00 บาท เพิ่มขึ้น 30.00 บาท […]
เศรษฐกิจที่สุขภาพดีช่วยลดความไม่เท่าเทียมได้ แต่อยู่ในขอบเขตที่จำกัด
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ไวรัสโคโรนาที่ระบาดส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวและเกิดการสูญเสียงานอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ทั้งยังสะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันที่เลวร้ายลงทั่วโลกด้วย ทั้งนี้ ธนาคารโลก ระบุว่า ปัญหาความยากจนอย่างรุนแรงของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 20 ปี จากการที่โควิด-19 ทำให้คนหลายล้านคนต้องใช้ชีวิตด้วยเงินน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน David Wilcox เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสถาบันเศรษฐกิจนานาชาติปีเตอร์สัน กล่าวว่า เศรษฐกิจขาลงในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมที่รุนแรงขึ้น และภาวะถดถอยนี้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยจากข้อมูล พบว่า อัตราการจ้างงานสำหรับแรงงานที่มีค่าจ้างสูงกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด แต่สำหรับการจ้างแรงงานค่าแรงต่ำยังคงลดลงกว่า 20% “การฟื้นตัวนี้ ไม่มีผลมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมที่มีสุขภาพดีจะช่วยบรรเทาความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่เพิ่งผ่านมาได้” Wilcox กล่าว เขา ยังบอกอีกว่า เมื่อได้รับวัคซีนอย่างกว้างขวางแล้ว ประชาชนจะรู้สึกสะดวกใจในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นพลังงานสำคัญสำหรับเศรษฐกิจภาคบริการในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยในจำนวนนี้กล่าวรวมถึงการไปยิม รับประทานอาหารที่ร้าน การขึ้นเครื่องบินโดยสาร และการเข้าร่วมประชุมด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยผู้คนจำนวนมากที่ไม่มีงานทำตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. ปีที่แล้วได้ ขณะที่ Richard Yetsenga หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ธนาคาร ANZ […]
จีนเพิ่มน้ำหนักคุมเข้าบริษัทเทคโนโลยีมากขึ้น เตรียมพร้อมขึ้นแท่นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี
รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ความเคลื่อนไหวของจีนล่าสุดในกำกับควบคุมบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเพื่อก้าวขึ้นเป็น มหาอำนาจทางเทคโนโลยี Kendra Schaefer หุ้นส่วนจาก Trivium China กล่าวกับพอดคาสต์ Beyond the Valley ของซีเอ็นบีซีว่า จีนเข้าใจดีหากจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี การวางรากฐานด้านกฎระเบียบที่มั่นคงเป็นเรื่องจำเป็น จีนกำลังหาวิธีควบคุมภาคเทคโนโลยีในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การปกป้องข้อมูลไปจนถึงการต่อต้านการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยี เนื่องจากบริษัทของจีนเติบโตขึ้น โดยส่วนใหญ่ไม่มีภาระผูกพันตามกฎระเบียบและกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีข้อบังคับหลายประการที่มีผลบังคับใช้ และ หรืออยู่ระหว่างเตรียมบังคับใช้ เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้ออกร่างกฎเกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อรายย่อย หรือที่เรียกว่า microlending ซึ่งรวมถึงข้อกำหนดต่างๆ เช่น ข้อกำหนดด้านเงินทุนสำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่ปล่อยเงินกู้ นอกจากนี้สำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ (SAMR) ยังเผยแพร่ร่างกฎระเบียบที่ต้องการหยุดการผูกขาดจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต ถือเป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ครอบคลุมมากที่สุดของจีนเพื่อควบคุมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 ม.ค. 64 ปิดตลาดที่ 1,536.44 จุด เพิ่มขึ้น 22.66 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 ม.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,536.44 จุด เพิ่มขึ้น 22.66 จุด หรือ 1.50% โดยระหว่างวันดัชนีสูงสุดที่ 1,538.61 จุด ต่ำสุดที่ 1,521.17 จุด มูลค่าการซื้อขาย 125,081.17 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.SCGP ปิดที่ 43.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,637.32 ลบ. 2.EA ปิดที่ 63.00 บาท ลดลง -1.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,531.79 ลบ. 3.BANPU ปิดที่ 9.60 บาท ลดลง -1.30 […]
B-CHINE-EQ News Update Press Release
กองทุนบัวหลวง ประกาศข่าวดี ‘B-CHINE-EQ’ เตรียมจ่ายปันผล 0.30 บาท 15 ม.ค. นี้ ชี้หุ้นจีนยังน่าสนใจลงทุนระยะยาว
สรุปประเด็น กองทุนบัวหลวงประกาศจ่ายเงินปันผล กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน หรือ B-CHINE-EQ ครั้งที่ 4 ในอัตรา 0.30 บาทต่อหน่วยลงทุน วันที่ 15 มกราคมนี้ ชี้หุ้นจีนยังน่าสนใจลงทุนระยะยาว นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) เตรียมจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 4 สำหรับผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563 ในอัตรา 0.30 บาทต่อหน่วยลงทุน โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ในวันที่ 8 มกราคม 2564 เพื่อจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตามกำหนดในวันที่ 15 มกราคม 2564 นี้ และเมื่อนับรวมตั้งแต่จัดตั้งกองทุนจนถึงการประกาศครั้งนี้ […]
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยแผนกลยุทธ์ปี 64-66 เดินหน้าบูรณาการนวัตกรรม สู่วิถีธุรกิจยุคใหม่ เน้นเพิ่มผลลัพธ์เชิงบวกสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2564-2566) ภายใต้แนวคิด “Redefine Thai Capital Market Resiliency…ก้าวต่อไปตลาดทุนไทย สู่ความแข็งแกร่งของประเทศ” บูรณาการด้านนวัตกรรม สร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน ภายใต้กรอบการพัฒนาสู่ความยั่งยืน 4 ด้าน ได้แก่ 1) สร้างการเติบโตในตลาดทุน ด้วยการเพิ่มหลักทรัพย์ใหม่ และขยายฐานผู้ลงทุน 2) ขยายโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมในตลาดทุน เพิ่มคุณภาพการบริการ และต่อยอดธุรกิจใหม่ 3) ขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาต่อยอด ESG และการเสริมสร้างพลังทางสังคม และ 4) เพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจและศักยภาพบุคลากร ทั้งการขยายตัวด้านธุรกิจและความเป็นเลิศด้านการดำเนินงาน เพื่อเป็นกลไกในการขยายโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมตลาดทุนทั้งระบบ พร้อมสร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่เป็นรูปธรรมสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดการเติบโตอย่างมีสมดุลทั้งธุรกิจและสังคม (Balanced Growth) นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับตัวสู่วิถีธุรกิจใหม่ (Next Normal) […]
รถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตได้ต้องอาศัยการสร้างที่ชาร์จในอาคารสนับสนุน
แมคคินซีย์ เผยแพร่บทความล่าสุดเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดยชี้ว่า จะมีรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้า (BEV) และรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริด (PHEV) รุ่นใหม่ๆ ออกมา 250 รุ่น ในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่ทั่วดลกจะมีรถยนต์ไฟฟ้า 130 ล้านคัน วิ่งอยู่บนถนนในปี 2030 และเพื่อสนับสนุนตัวเลขนี้ สิ่งสำคัญคือมีความจำเป็นต้องขยายที่ชาร์จ ซึ่งไม่ได้มีราคาถูกเลย โดยคาดการณ์ว่าในช่วงปี 2020-2030 จะต้องลงทุน 110,000-180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตอบสนองความต้องการในโลก ทั้งในพื้นที่สาธารณะและภายในบ้านพัก การมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในที่พักอาศัยส่วนบุคคลกลายเป็นเรื่องธรรมดาในปัจจุบัน ส่วนสถานีชาร์จในอาคารเชิงพาณิชย์เป็นสิ่งจำเป็น กลายเป็นคุณสมบัติสำคัญในการสร้างอาคารที่มีมาตรฐาน 10 ปีข้างหน้า เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค ส่วนตลาดใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน มี 3 ตลาด คือ จีน ยุโรป 27 ประเทศรวมกับอังกฤษ และสหรัฐฯ ซึ่งกลไกสำคัญที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในตลาดเหล่านี้โต คือ การเพิ่มจำนวนที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในอาคารเชิงพาณิชย์ ซึ่งสิ่งจำเป็นที่ตามมาคือการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้าในอาคาร […]
หุ้นไทยวันที่ 7 ม.ค. 64 ปิดตลาดที่ 1,513.78 จุด เพิ่มขึ้น 21.42 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 ม.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,513.78 จุด เพิ่มขึ้น 21.42 จุด หรือ 1.44% โดยระหว่างวันดัชนีสูงสุดที่ 1,519.91 จุด ต่ำสุดที่ 1,502.81 จุด มูลค่าการซื้อขาย 121,326.10 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.EA ปิดที่ 64.75 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 5,890.15 ลบ. 2.KBANK ปิดที่ 122.50 บาท เพิ่มขึ้น 6.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 5,560.27 ลบ. 3.GPSC ปิดที่ 83.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.75 […]
ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook
โดย ชัยธัช เบน บุญญาปะมัย กองทุนบัวหลวง ในปัจจุบัน มีเงินทุนภายใต้การบริหารของนักลงทุนสถาบันที่ใช้แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG (Environmental Social และ Governance) อยู่ราว 30 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 34% นับจากปี 2016 (อ้างอิงจาก Global Sustainable Investment Alliance) ขณะที่ ข้อมูลของ Morningstar พบว่า การลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และในช่วงนี้การลงทุนลักษณะดังกล่าวนับว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่กองทุนเหล่านี้ สะท้อนถึงผลเชิงบวกของบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ดี ขณะเดียวกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่านักลงทุนหันมาสนใจลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติ COVID-19 ซึ่งจากข้อมูลของ Morningstar นั้น ชี้ให้เห็นว่า กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ (Large Cap) ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 […]