GDP ไทยขยายตัว 7.5% ผลจากฐานต่ำช่วงเดียวกันปีก่อน หนุนจาก C, I, และ Change in Inventories

GDP ไทยขยายตัว 7.5% ผลจากฐานต่ำช่วงเดียวกันปีก่อน หนุนจาก C, I, และ Change in Inventories

BF Economic Research GDP ไทยในไตรมาสที่ 2/2021 ขยายตัว 7.5% (vs. cons. 6.4%) เร่งตัวขึ้นจาก 2.6% ในไตรมาส 1/2021 เนื่องจากผลของฐานต่ำไตรมาสที่ 2/2020 หดตัว -12.1% (หมายความว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสสองปีนี้สามารถฟื้นขึ้นมาได้ครึ่งหนึ่งจากที่หดตัวไปเมื่อช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) ด้านการผลิต การผลิตภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.0% YoY หนุนโดยข้าวเปลือก ยางพารา และมันสําปะหลัง โดยสินค้าเกษตรที่ได้รับอานิสงส์ด้านราคาที่ปรับตัวขึ้นได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง สุกร และสินค้าประมง นอกจากนี้ การผลิตนอกภาคเกษตรก็ขยายตัวเช่นเดียวกัน โดยภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เร่งตัวขึ้น 14.2% และ 5.0% ปรับตัวดีขึ้นจาก 0.3% และ 4.3% ในไตรมาสก่อน ด้านการใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 4.6% และ […]

วอลล์สตรีท Bullish กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากที่สุดในรอบ 20 ปี

วอลล์สตรีท Bullish กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากที่สุดในรอบ 20 ปี

โดย…ทนง ขันทอง วอลล์สตรีท Bullish กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากที่สุดในรอบ 20 ปี โดยบลูมเบิร์ก รายงานว่า คำแนะนำ 56% สำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาด S&P 500 เป็นการแนะนำให้ซื้อ ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2002 มันเป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดหุ้นยังคงอิ่มอกอิ่มใจ หลังจากการรายงานผลประกอบการของบริษัทออกมาในระดับที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะยังคงทำราคาสูงขึ้นอย่างไม่ลดละ และผลประกอบของบริษัทออกมาเกินความคาดหมาย แต่นักวิเคราะห์ยังคงมองตลาดแบบ Bullish ความกังวลใจของการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า หรือแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะลดมาตรการกระตุ้นทางการเงินไม่ได้มีผลกระทบต่อราคาของหุ้นเลย Todd Jablonski แห่ง Principal Global Asset Allocation ให้ความเห็นว่า ไม่เพียงแต่สภาวะทางการเงิน และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ทำให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงยังคงเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจ แต่ปัจจัยพื้นฐานยังมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นตามการคาดการณ์ไปถึงปี 2022 ไม่เพียงแต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เท่านั้นที่ยังบูมต่อเนื่อง ในยุโรปคำแนะนำ 52% สำหรับหุ้นของบริษัทใน Stoxx 600 เป็นคำแนะนำให้ซื้อ ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 10 […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 13 ส.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,528.32 จุด ลดลง 4.39 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 13 ส.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,528.32 จุด ลดลง 4.39 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 13 ส.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,528.32 จุด ลดลง 4.39 จุด หรือ -0.29% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,541.08 จุด และต่ำสุดที่ 1,525.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 82,024.22 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 35.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+1.45%) มูลค่าการซื้อขาย 2,593.41 ลบ. 2.BANPU ปิดที่ 13.50 บาท ลดลง 0.10 บาท (-0.74%) มูลค่าการซื้อขาย 2,383.36 ลบ. 3.KBANK ปิดที่ 103.50 […]

รัฐบาลต้องร่วมมือภาคอสังหาฯ และนักลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

รัฐบาลต้องร่วมมือภาคอสังหาฯ และนักลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก หรือ weforum.org รายงานว่า สิ่งปลูกสร้าง มีสัดส่วน 40% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอน ดังนั้นนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นักพัฒนา และผู้ครอบครองอสังหาฯ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะมีส่วนในการไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ หากจะต้องจัดการกับอาคารเก่า เครื่องจักรและวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วคงจะเป็นเกมที่มีราคาแพง รวมถึงการจูงใจให้ซัพพลายเออร์หลายพันรายในการใช้ทางเลือกที่มีราคาประหยัดลงมีผลกระทบต่ำ ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพียงกลุ่มเดียวในภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีความสามารถด้านทรัพยากรหรือความสามารถจัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนดำเนินการได้สำเร็จโดยลำพัง ในการจัดการความท้าทายของการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนนั้น ระบบนิเวศของพันธมิตรจะต้องได้รับความร่วมมือระหว่างเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุน และองค์กรผู้ครอบครอง รวมถึงรัฐบาลระดับชาติ ระดับเมือง สถาบันการศึกษา กลุ่มพนักงาน และองค์กรชุมชนด้วย เพื่อทำงานร่วมกันไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนร่วมกัน ทั้งนี้ ล่าสุด JLL เพิ่งทำผลสำรวจผู้ครองครองอสังหาริมทรัพย์และนักลงทุนกว่า 1,000 รายทั่วโลกเพื่อวัดระดับความมุ่งมั่นในระดับอุตสาหกรรมและเพื่อสำรวจอุปสรรคที่พวกเขาเผชิญในการเดินทางไปสู่การลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่ผลสำรวจพบว่า มีการสนับสนุนในวงกว้างขึ้นสำหรับการทำงานร่วมกัน โดยองค์กรจำนวนมากตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเอาไว้ แต่กลับพบว่า 80% ของผู้ตอบ เห็นด้วยว่า การมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่างรัฐบาลเมือง ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ และนักลงทุน เป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนวาระการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ สำหรับ 5 แนวทางที่รัฐบาลของเมืองและผู้นำจะร่วมมือเพื่อการลดคาร์บอนเป็นศูนย์ ได้แก่ 1.มองว่าผู้ที่่อยู่ในภาคอสังหาฯ เป็นพันธมิตรในการเปลี่ยนเมืองระยะยาวไปสู่การลดปล่อยก๊าซคาร์บอน 2.สร้างสมดุลระหว่างการควบคุมและการสนับสนุน […]

B-WORK เดินหน้าจ่ายปันผลครั้งที่ 12 ในอัตรา 0.1966 บาท/หน่วย วันที่ 8 ก.ย. นี้

B-WORK เดินหน้าจ่ายปันผลครั้งที่ 12 ในอัตรา 0.1966 บาท/หน่วย วันที่ 8 ก.ย. นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์        Press Release   นายพรชลิต พลอยกระจ่าง รองกรรมการผู้จัดการ Head of Real Estate & Infrastructure Investment  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ (B-WORK) เตรียมจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 12 จากผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 หรือระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2564 ในอัตรา 0.1966 บาทต่อหน่วย โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยทรัสต์ในวันที่ 25 สิงหาคม 2564 เพื่อกำหนดสิทธิในการรับเงินปันผลวันที่ 8 กันยายน 2564 และหากนับรวมตั้งแต่จัดตั้งกองทรัสต์จนถึงครั้งล่าสุด B-WORK จ่ายเงินปันผลและเงินลดทุนแล้วรวม 2.5939 […]

ลงทุน Growth Stocks กับ B-USALPHA

ลงทุน Growth Stocks กับ B-USALPHA

สรุปความสัมภาษณ์ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน ล่าสุดกองทุนบัวหลวงกำลังจะเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA) ระหว่างวันที่ 17-24 ส.ค. นี้ ซึ่งกองทุนนี้ไปลงทุนในหุ้นเติบโต (growth stocks) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ส่วนจะมีความน่าสนใจอย่างไร วันนี้ คุณสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน กองทุนบัวหลวง จะมาอธิบายให้ฟัง คำถาม : โอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ตรงไหน ทำไมจึงเลือกเสนอขายกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ในเวลานี้ สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดในโลก มูลค่า 22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 4 ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก ขณะที่มูลค่าของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ สูงกว่านั้น โดยสูงถึงเกือบ 60% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก เนื่องจากธุรกิจกระจายไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร ร้านอาหาร ภาพยนตร์ ดนตรี […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 11 ส.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,532.71 จุด ลดลง 9.91 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 11 ส.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,532.71 จุด ลดลง 9.91 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 11 ส.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,532.71 จุด ลดลง 9.91 จุด หรือ -0.64% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,550.74 จุด และต่ำสุดที่ 1,531.58 จุด มูลค่าการซื้อขาย 99,756.52 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.INTUCH ปิดที่ 73.00 บาท เพิ่มขึ้น 7.00 บาท (+10.61%) มูลค่าการซื้อขาย 5,022.21 ลบ. 2.GUNKUL ปิดที่ 4.78 บาท ลดลง 0.02 บาท (-0.42%) มูลค่าการซื้อขาย 4,457.91 ลบ. 3.ADVANC ปิดที่ 185.50 […]

จีนเร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการลดคาร์บอน

จีนเร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการลดคาร์บอน

China Daily รายงานว่า ฝ่ายการเมืองของจีนเรียกร้องให้เร่งออกแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่เลวร้ายลง ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของจีน กล่าวว่า จีนกำลังสนับสนุนความพยายามในการจัดการกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ด้วยการสนับสนุนโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในเชิงรุกเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต และควบคุมภาคส่วนที่มีการบริโภคพลังงานหรือปล่อยมลพิษในปริมาณที่สูง เมื่อปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงมาหารือ ท่ามกลางวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มเลวร้าย หลังจากได้เห็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้นทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกมีการออกมาเตือนผ่านรายงานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในวงกว้าง รวดเร็ว และเข้มข้นขึ้น สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ และอุณหภูมิที่อาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ในอีก 20 ปีข้างหน้า ทำให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศแบบสุดขั้วทั่วโลก โดยสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหลายๆ ครั้ง สังเกตได้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหลายพันปี หรือบางอย่างก็ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในหลายแสนปี ในการประชุมพรรคคอมมิวนิวสต์จีน มีการเรียกร้องให้เร่งออกแผนปฏิบัติการระดับชาติที่เร็วขึ้นเพื่อมาเติมเต็มให้ประเทศไปถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับสูงสุดอยู่ที่ปี 2030 การประชุมครั้งนี้มีประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นประธานในที่ประชุม และเป็นเลขาธิการทั่วไปของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย โดยที่ประชุมได้มีการกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับช่วงครึ่งปีหลังนี้ ขณะเดียวกันที่ประชุมยังเน้นย้ำความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยชี้ว่าประเทศต้องการแนวทางความเคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการได้ตามเป้าหมายด้านปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ก่อนปี 2060

ทำไมต้องปลูกฝังเรื่องการเงินตั้งแต่ยังเด็ก

ทำไมต้องปลูกฝังเรื่องการเงินตั้งแต่ยังเด็ก

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® การปลูกฝังเรื่องการเงินตั้งแต่ยังเด็กๆ นั้น ก็เพื่อเป็นการเริ่มต้นสร้างวินัยทางการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในปัจจุบันเราจะเห็นว่าส่วนใหญ่มักจะสอนแต่วิชาชีพที่ทำให้เราหาเงิน ส่วนการสอนเก็บเงินนั้นโดยมากมักจะเกิดจากครอบครัวที่สอนกันมา ยิ่งเรื่องการใช้จ่ายเงินยิ่งไม่มีใครเคยสอนกันเลย เพราะเรื่องใช้จ่ายเงินนั้นง่ายกว่าหาเงินได้ซะด้วยซ้ำไป ในขณะที่จริงๆ แล้ว หาได้เท่าไหร่ ใช้กันเท่าไหร่ ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับมีเงินเหลือออมหรือเปล่า ดังนั้น การเริ่มปลูกฝังเรื่องการเงินตั้งแต่ยังเด็ก จะช่วยให้เขามีภูมิคุ้มกันทางการเงิน เอ๋มีวิธีง่ายๆ ให้ลองใช้กับลูกหลานกันดูค่ะ วัยอนุบาล : ออมก่อนใช้ วัยนี้เป็นวัยที่กำลังน่ารัก ช่างพูด ช่างคุย ช่างสงสัย และส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่จะให้เงินค่าขนมเป็นรายวัน เอ๋แนะนำให้ค่าขนมเป็นเหรียญ หรือแบงก์ย่อยๆ และสอนให้แบ่งเงินที่ได้รับหยอดกระปุกก่อนเอาไปใช้จ่าย ในวัยนี้จะช่างสงสัยว่าทำไมให้เงินหนูแล้วต้องหยอดกระปุกก่อน เดี๋ยวหนูไม่มีเงินไปซื้อขนม ก็สามารถสอนและแนะนำเขาได้ หรือลองให้เขาเอาเงินไปกินขนมก่อนแล้วพูดคุยกับเขาเมื่อกลับจากโรงเรียน ว่าเขามีเงินเหลือกลับมาหยอดกระปุกมั้ย เหลือเท่าไหร่ กับการที่เขาตัดใจแบ่งเงินหยอดกระปุกก่อนไปซื้อขนมที่โรงเรียน แบบไหนทำให้มีเงินเหลือมากกว่ากัน และเพื่อสร้างแรงจูงใจ อาจมีรูปของที่เขาอยากได้แปะไว้ที่กระปุก พร้อมกับจำนวนเงินที่ต้องการ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เขาอยากออมเงินมากยิ่งขึ้น วัยประถม : บันทึกรายรับ – รายจ่าย วัยนี้เขาเริ่มเติบโตขึ้นมา […]

Fund Comment กรกฎาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กรกฎาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกิน +2 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -29 bps. โดยเป็นการปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ Delta รวมถึงการลดลงของราคาน้ำมันดิบซึ่งทำให้ความกังวลด้านเงินเฟ้อผ่อนคลายลง ด้านปัจจัยในประเทศ นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า จากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปริมาณวัคซีนและอัตราเร่งในการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ Delta และมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ด้านสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศแผนการก่อหนี้เพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณนี้ จำนวน 1.50 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้จะเป็นการก่อหนี้โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล (Loan bond) จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ทำให้มูลค่าการออกพันธบัตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 1.81 แสนล้านบาท เป็น […]