ลงทุนกองทุนหุ้นเทคฯ เลือกสหรัฐฯ หรือจีนดี
โดย…มทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy BBLAM เวลานี้ตลาดปกคลุมด้วยความกลัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เงินเฟ้อที่สูงต่อเนื่อง การล็อคดาวน์ของจีน เป็นช่วงที่หลายๆ ตลาดเข้าสู่ bear market หรือตลาดหมี ทำให้เป็นการยากที่นักลงทุนจะมีความหวังขึ้นมาใหม่ เป็นเรื่องปกติที่นักลงทุนจะเพิ่มเงินสดในพอร์ตมากขึ้น และอาจจะลืมนึกถึงผลตอบแทนระยะยาว แต่ในช่วงที่ตลาดกลัวไปมาก เรามองว่า อาจจะมีจังหวะที่ดีในการสะสมหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี เพราะในที่สุดตลาดจะหันกลับไปจับตากำไรของบริษัทแทน หุ้นเทคโนโลยีถือเป็นหนึ่งในหุ้นที่มีคุณภาพดี พื้นฐานแข็งแกร่ง กำไรผันผวนน้อย ถ้าดูจากมูลค่า จะเห็นว่าดัชนี MSCI World Information Technology Index (USD) ดัชนีอ้างอิงหุ้นกลุ่มเทคฯ สหรัฐฯ มูลค่าก็ปรับลดลงมาจนทำให้บริษัทเทคฯ มี P/E ที่ต่ำลง และทำให้เริ่มน่าสนใจที่จะลงทุน ส่วนหุ้นเทคฯ จีนก็เป็นดัชนีที่ไม่แพงเช่นกัน จากที่นักลงทุนเคยกังวลประเด็นกฎเกณฑ์ การจัดระเบียบของทางการ เวลานี้ก็เริ่มคลายความกังวลแล้ว หลังรัฐบาลจีนมีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 18 พ.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,620.33 จุด เพิ่มขึ้น 5.84 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 18 พ.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,620.33 จุด เพิ่มขึ้น 5.84 จุด (+0.36%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,607.31 จุด และสูงสุดที่ 1,622.17 จุด มูลค่าการซื้อขาย 73,889.75 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.PTTEP ปิดที่ 158.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท (+0.63%) มูลค่าการซื้อขาย 3,683.51 ลบ. 2.KBANK ปิดที่ 144.00 บาท ลดลง 0.50 บาท (-0.35%) มูลค่าการซื้อขาย 2,930.72 ลบ. 3.BDMS ปิดที่ 26.75 […]
B-WORK News Update Press Release
B-WORK จ่ายปันผลต่อเนื่องครั้งที่ 15 ในอัตรา 0.1771 บาทต่อหน่วย วันที่ 14 มิ.ย. นี้
ข่าวประชาสัมพันธ์ Press Release นายพรชลิต พลอยกระจ่าง รองกรรมการผู้จัดการ Head of Real Estate & Infrastructure Investment บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ หรือ B-WORK เตรียมจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในอัตราหน่วยทรัสต์ละ 0.1771 บาท จากผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2565 หรือระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยทรัสต์ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เพื่อกำหนดสิทธิในการรับเงินปันผลวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ทั้งนี้ เมื่อนับรวมตั้งแต่จัดตั้งกองทรัสต์จนถึงการประกาศจ่ายเงินปันผลครั้งล่าสุด B-WORK มีการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์แล้วทั้งสิ้น […]
B-ASEAN B-SIP B-VIETNAM BCARE BF Knowledge Center
เลือกลงทุนตลาดไหนดี ในสภาวะดอกเบี้ยปัจจุบัน
สรุปความ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ในเวลานี้ความกังวลเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น จะไปโฟกัสอยู่ที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินฟ้อ สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นตลาดหุ้นที่ใหญ่ เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนสหรัฐฯ ก็มีจำนวนมาก มีการลงทุนทั้งในสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงฝั่งเอเชียด้วย แม้แต่การลงทุนในไทย ก็มีเม็ดเงินลงทุนมาจากฝั่งตะวันตกค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงทำให้ผู้ลงทุนมีความกังวลกันว่า หากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น จะทำให้นักลงทุนบางส่วนเทขายหุ้นออกมา เนื่องจากบริษัทหรือกิจการต่างๆ จะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น เมื่อดูในเชิงการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ หรือ Asset Allocation ก็อาจจะมีการโยกเงินบางส่วนที่อยู่ในตลาดหุ้นไปลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า และได้รับผลตอบแทนขยับขึ้นมากว่าในช่วงก่อนหน้านี้ โดยภาพรวมแล้วการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ดัชนีราคาตลาดหุ้นปรับลดลง แต่ถ้าไปดูกันจริงๆ จะพบว่า เมื่อดูปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การสกัดเงินเฟ้อ หรือปัจจัยอื่น ไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก หรือกลุ่มธุรกิจต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกันหมด อาจจะมีบางส่วนที่กระทบมาก บางส่วนที่กระทบน้อย หรือกิจการบางประเภทอาจจะได้ผลดีจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยซ้ำ ขณะที่กิจการบางประเภท เมื่อเจอเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ก็ยังสามารถปรับขึ้นราคาสินค้าหรือบริการให้ผู้บริโภครับภาระจ่ายแทนได้ หากเรากลับไปวิเคราะห์ที่พื้นฐาน จะพบว่า ปัจจุบันสิ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นผันผวนและกังวลมากๆ มี […]
เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาสแรกปี 2022 หดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส
เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส ในงวดไตรมาสแรกของปี 2022 หรือเดือนมกราคม-มีนาคม 2022 เนื่องจากโควิด-19 ที่แพร่ระบาดกระทบกับภาคบริการ และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็เป็นแรงกดดันใหม่ที่ทำให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะยืดเยื้อออกไป การปรับตัวลงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้สร้างความท้าทายให้กับ Fumio Kishida นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น สำหรับการเดินไปให้ถึงเป้าหมายการเติบโตและการกระจายความมั่งคั่งให้ทั่วถึง ภายใต้วาระทุนนิยมใหม่ที่เขาวางไว้ และยังกระตุ้นให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดภาวะชะงักงัน คือ เจอทั้งการเติบโตที่ไม่แน่นอน เศรษฐกิจชะลอตัวและยังเจอเรื่องเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในเดือนมกราคม-มีนาคม หดตัว 1.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP นี้ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะหดตัว 1.8% สัญญาณเศรษฐกิจที่อ่อนแอนี้ กดดันให้ Kishida ต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งสภาระดับสูงในวันที่ 10 กรกฎาคม 2022 โดยได้มีแผนการใช้จ่ายงบประมาณพิเศษ 2.7 ล้านล้านเยน หรือ 20,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Hiroshi Shiraishi นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส BNP Paribas Securities […]
FUTUREPF News Update Press Release
กองทุน FUTUREPF เดินหน้าจ่ายปันผล 0.2600 บาทต่อหน่วย วันที่ 14 มิ.ย. นี้
ข่าวประชาสัมพันธ์ Press Release นายพรชลิต พลอยกระจ่าง รองกรรมการผู้จัดการ Head of Real Estate & Infrastructure Investment บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค (FUTUREPF) เตรียมจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 62 จากผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2565 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565) และกำไรสะสม ในอัตรา 0.2600 บาทต่อหน่วย โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน เพื่อกำหนดสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่ 14 มิถุนายน 2565 สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2565 […]
จีนส่งสัญญาณผ่อนคลายการปราบปรามกลุ่มเทคฯ
จีนออกมาส่งสัญญาณว่าจะผ่อนคลายการปราบปรามในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งเวลานี้มูลค่าหายไปหลายพันล้านดอลลาร์ จากที่เคยเป็นบริษัทที่โดดเด่นที่สุดมาก่อน อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ ระบุว่า ถึงแม้จีนจะออกมาพูดในเชิงบวกแต่ก็ไม่ควรเข้าใจผิดว่าจะมีการพลิกกลับด้านนโยบาย Linghao Bao นักวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยีของ Trivium China กล่าวว่า เขาคิดว่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จะมีช่วงเวลาดีๆ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า แต่ไม่ได้หมายความว่าจีนจะหันหลังกลับเรื่องการปราบปรามเทคโนโลยี แนวโน้มในระยะยาวไม่ได้เปลี่ยนแปลง เพราะจีนออกมาสรุปแล้วว่า ไม่ใช่แนวคิดที่ดีเลยที่จะปล่อยให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ดำเนินงานเหมือนการวิ่งอย่างบ้าคลั่ง เพราะมันสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในตลาด จนทำให้บางคนมุ่งสู่ความมั่งคั่งในระดับบนสุดและเริ่มมีอิทธิพลต่อการเมือง ดังนั้นการปราบปรามเทคโนโลยียังคงอยู่ต่อไปในระยะยาว นับตั้งแต่ปี 2020 จีนออกนโยบายที่เข้มงวดสำหรับกลุ่มเทคโนโลยีในประเทศ เพื่อลดทอนอำนาจของบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดบางแห่งลง โดยกฎเกณฑ์มีตั้งแต่การต่อต้านการผูกขาดไปจนถึงการปกป้องข้อมูล ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างรวดเร็วในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติต่างก็จับตาความเคลื่อนไหวนี้และเป็นสิ่งที่จุดประกายให้เกิดการเทขายหุ้นในประเทศตั้งแต่ Tencent ไปจนถึง Alibaba อย่างไรก็ตาม จีนส่งสัญญาณว่าการพิจารณาบางอย่างเกี่ยวกับภาคเทคโนโลยีอาจผ่อนคลายลง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิดที่กลับขึ้นมาและมีการล็อคดาวน์ตามมา เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2022 เจ้าหน้าที่ทางการจีนได้พบปะกับผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีในประเทศบางส่วนก่อนที่จะส่งสัญญาณการผ่อนคลายออกมา ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจาก Liu He รองนายกรัฐมนตรีจีนออกมาบอกว่าพร้อมสนับสนุนกลุ่มเทคโนโลยี และมีแผนที่จะให้บริษัทอินเทอร์เน็ตก้าวสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น หลังจากประธานาธิบดี […]
BBLAM Monthly Economic Review : จับตาเงินเฟ้อและนโยบายการเงิน 3 กลุ่มประเทศใหญ่
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวิน ทีม Economic Research BBLAM ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจสำหรับเศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ในเดือนพฤษภาคม 2022 นี้ ได้แก่ เงินเฟ้อ และทิศทางนโยบายการเงินของแต่ละประเทศที่มีทิศทางแตกต่างกัน ยูโรโซน ตัวเลข GDP ที่เพิ่งประกาศออกมาล่าสุดในไตรมาสแรกปี 2022 ขยายตัว 0.2% เมื่อเทียบกับ GDP ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งก็ถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดไว้ ส่วนความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession คือการที่ GDP รายไตรมาสติดลบติดต่อกันตั้งแต่ 2 ไตรมาสขึ้นไป ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอยู่ โดยเฉพาะหากยูโรโซนห้ามนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย แต่ผลกระทบที่เห็นได้ชัดคือ อัตราเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น จะไปกดดันการบริโภคในยูโรโซนให้ชะลอตัว แม้เราจะมองว่ามีความเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อจะขึ้นไปถึงระดับสูงสุดในช่วงกลางปีนี้ แต่ว่าสถานการณ์ขึ้นอยู่กับสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งตอบได้ยากว่าจะจบลงเมื่อไหร่ อย่างน้อยเรามองว่าระดับราคาสินค้าและบริการน่าจะยังสูงอยู่ในปีนี้ ดังนั้นในช่วงครึ่งปีหลังจึงยังไม่เห็นภาพที่อัตราเงินเฟ้อจะลดลงเร็ว จนไปแตะระดับ 2% ในตอนนี้เองธนาคารกลางสหภาพยุโรป หรือ ECB […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 17 พ.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,614.49 จุด เพิ่มขึ้น 30.11 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 17 พ.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,614.49 จุด เพิ่มขึ้น 30.11 จุด (+1.90%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,590.96 จุด และสูงสุดที่ 1,615.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 85,222.10 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.PTTEP ปิดที่ 157.50 บาท เพิ่มขึ้น 6.00 บาท (+3.96%) มูลค่าการซื้อขาย 3,258.81 ลบ. 2.JMT ปิดที่ 76.00 บาท เพิ่มขึ้น 8.00 บาท (+11.76%) มูลค่าการซื้อขาย 2,927.66 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 37.00 […]
GDP ไทยไฉไลในไตรมาสแรก
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2022 ขยายตัว 2.2% YoY เร่งขึ้น จากไตรมาสก่อนที่ 1.8% และเมื่อ ปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ ขยายตัวจากไตรมาสที่สี่ของปีก่อน 1.1% QoQ sa ชะลอจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 1.8% แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2022 สภาพัฒน์ฯคาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.5 – 3.5% in-line ไปกับการประมาณการเศรษฐกิจของ ธปท. ในรายองค์ประกอบ ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (3.9% YoY vs prev 0.4%) หนุนจากการใช้จ่ายในทุกหมวด ทั้งหมวดบริการ สินค้าทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสินค้าไม่คงทน กึ่งคงทน และคงทน ด้านการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัว (2.9% YoY vs prev -0.8%) หนุนจากการลงทุนในหมวดเครื่องจักร ขณะที่การส่งออก สินค้าชะลอตัว (14.6% YoY vs […]