ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 13 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,600.06 จุด ลดลง 32.56 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 13 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,600.06 จุด ลดลง 32.56 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 13 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,600.06 จุด ลดลง 32.56 จุด (-1.99%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,599.34 จุด และสูงสุดที่ 1,616.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 73,466.76 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.TOP ปิดที่ 53.50 บาท ลดลง 3.25 บาท (-5.73%) มูลค่าการซื้อขาย 3,132.22 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 36.50 บาท ลดลง 1.00 บาท (-2.67%) มูลค่าการซื้อขาย 2,573.06 ลบ. 3.SCB ปิดที่ 108.00 […]

กองทุนรวมบัวหลวงหุ้นธรรมาภิบาลไทย (B-THAICG)

กองทุนรวมบัวหลวงหุ้นธรรมาภิบาลไทย (B-THAICG)

Highlight “ตลาดหุ้นไทย เศรษฐกิจไทยอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หนุนโดยการบริโภคภาครัฐและเอกชนจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงภาคการส่งออกที่ได้รับประโยชน์จากประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวก่อนและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง” “นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 2 หมื่นล้านบาท เป็นอีกปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวได้” ตลาดหุ้นโลก ปรับตัวผันผวน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนแรกของพฤษภาคม ตลาดแตะระดับ Bear Market หรือลดลงจากสูงสุดช่วงต้นปีที่ 20% ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันการลงทุนยังคงมาจากแรงกดดันเงินเฟ้อในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ตลาดก็เริ่มรับรู้ปัจจัยด้านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นไปมากแล้ว รวมถึงสัญญาณจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชะลออัตราการปรับขึ้นลง ส่งผลให้ตลาดโดยรวมปิดทรงตัวได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นปัจจัยกดดันระดับ Valuation ของตลาดหุ้น ให้อยู่ในระดับ Multiple ที่ต่ำลง ในระยะข้างหน้า ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน ท่าทีของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง และประเด็นการถดถอยของเศรษฐกิจ ยังคงปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง ในด้านเศรษฐกิจนั้น สงครามยูเครน รัสเซียที่ยืดเยื้อ การคว่ำบาตรทางการค้า และการ Lockdown เศรษฐกิจในจีน เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาอุปทาน […]

Fund Comment พฤษภาคม 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment พฤษภาคม 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน พ.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -4 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีขึ้นไป เปลี่ยนแปลงในช่วง -32 ถึง +44 bps โดยมีการแกว่งตัวผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3-4 พ.ค. มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps สู่ระดับ 0.75-1.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ขณะที่นาย Jerome Powell ประธาน Fed ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 50 bps อาจยังมีความจำเป็นในการประชุม 2 ครั้งถัดไป แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณว่า Fed จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากอย่างที่ตลาดกังวลในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้กลับมากดดันตลาดการเงินอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มมองว่า […]

ข้าว เป็นสินค้าเกษตรรายการถัดไปที่ต้องจับตาการขึ้นราคา

ข้าว เป็นสินค้าเกษตรรายการถัดไปที่ต้องจับตาการขึ้นราคา

ราคาอาหารปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้สังเกตการณ์ ระบุว่า ข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนเอเชีย น่าจะเป็นสินค้ารายการถัดไปที่ปรับขึ้นราคา ราคาอาหารหลายรายการ ตั้งแต่ข้าวสาลี เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ ไปจนถึงน้ำมัน พุ่งสูงขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากหลายปัจจัย ทั้งต้นทุนปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น ราคาพลังงานที่ปรับขึ้นในปีที่ผ่านมา รวมถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครนด้วย การห้ามส่งออกอาหารหรือการหยุดส่งออกอาหารอย่างจริงจัง มาจาก อินเดียที่หยุดส่งออกข้าวสาลี ยูเครน หยุดส่งออกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต น้ำตาล และอื่นๆ ส่วนอินโดนีเซีย ก็งดส่งออกน้ำมันปาล์ม ข้าวน่าจะเป็นรายการต่อไปที่แพงขึ้น โดยจากข้อมูลดัชนีราคาอาหารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สะท้อนว่า ราคาข้าวระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และแตะระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า ผลผลิตข้าวยังคงอุดมสมบูรณ์ แต่ราคาข้าวสาลีที่สูงขึ้น และต้นทุนการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาข้าวเป็นรายการต่อไปที่น่าจับตา ที่มา : CNBC

BBLAM Weekly Investment Insights 13-17 มิถุนายน 2022

BBLAM Weekly Investment Insights 13-17 มิถุนายน 2022

INVESTMENT STRATEGY ในช่วงตลาดขาลงแบบนี้ คำถามที่มาตอบกันวันนี้ว่า “เข้าลงทุนได้หรือยัง” “ลงทุนอะไรดี” BBLAM ให้คำแนะนำนักลงทุนว่า ให้เน้นถือเงินสดไว้ หรือมองหาการลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อ นักลงทุนหลายคนเริ่มมีคำถามกันเข้ามาแล้วว่า “ตลาดลงขนาดนี้ ถึงเวลาเข้าซื้อหุ้นแล้วหรือยัง?” ซึ่งคุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ได้คลายข้อสงสัยนี้ว่า ในภาวะตลาดแบบนี้ สิ่งที่ต้องทำคือ ถือเงินสด ปกป้องเงินต้นไว้มากๆ ส่วนใครที่ลงทุนหุ้นไว้อยู่ เวลานี้ก็ยังไม่ใช่เวลาการขายออกมา แต่เมื่อถามว่าจะกลับเข้าไปลงทุนได้หรือยัง ถ้านักลงทุนพิจารณา bull bear indicator หรือตัวชี้วัดตลาดกระทิงและตลาดหมี เพื่อดูสัญญาณว่าเข้าซื้อได้หรือยัง จะพบว่า เวลานี้คนมีมุมมองในเชิงลบกับตลาดมากๆ แล้ว ก็แสดงว่าเป็นสัญญาณเข้าซื้อได้แล้ว แต่ก็ไม่อยากให้ทุ่มลงทุนเข้าไป ควรใช้วิธีค่อย ๆ ทยอยซื้อได้ อย่างไรก็ดี ถ้ากลับมาที่มุมมองของ BBLAM เอง ก็คงยังไม่ได้แนะนำให้เข้าซื้อหุ้นเลยในตอนนี้ เพราะมองว่า เรายังอยู่ในช่วงของดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งโดยปกติช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA)

กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA)

กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการออม (B-USALPHASSF) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่าเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-USALPHARMF) ภาพรวมตลาด แม้ว่าตลาดยังมีแรงกดดันหลายประเด็น ทั้งสงครามระหว่างประเทศ ความกังวลเงินเฟ้อ ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ตลาดโดยรวมปรับตัวลง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเติบโต ซึ่งราคาอยู่ในระดับที่สูงเมื่อต้นปี ในขณะที่หุ้นกลุ่ม Defensive และ กลุ่มพลังงานมีการปรับตัวได้ดีกว่ากลุ่มอื่น    นอกจากนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้น คือ นักลงทุนให้ความสำคัญกับมูลค่าแท้จริงของกิจการมากขึ้น บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่กว่า 72% มีรายได้ไตรมาส 1/2565 ออกมาดี และกว่า 70% มีกำไรออกมาเป็นไปตามคาดการณ์  อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ ราคาหุ้นก็ปรับตัวลดลงไม่ว่าจะเป็น Sector ใดก็ตาม พอร์ตการลงทุน ในรายกลุ่มอุตสาหกรรม พอร์ตลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีและสินค้าฟุ่มเฟือยน้อยกว่าดัชนี พอร์ตยังคงน้ำหนักกับกลุ่มการเงินตั้งแต่ปีที่แล้ว และเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มเฮลธ์แคร์  โดยเฉพาะหุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ และการจัดจำหน่ายยา ตัวอย่างหุ้นในพอร์ต McKesson : ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายยา ผู้จัดการกองทุนเริ่มลงทุนในหุ้นนี้ตั้งแต่เมษายนปี 2563 ในสัดส่วนไม่มากนัก  และทยอยเพิ่มน้ำหนัก […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,632.62 จุด ลดลง -8.72 จุด (-0.53%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,632.62 จุด ลดลง -8.72 จุด (-0.53%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,632.62 จุด ลดลง -8.72 จุด (-0.53%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,631.43 จุด และสูงสุดที่ 1,640.86 จุด มูลค่าการซื้อขาย 59,628.75 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.TOP ปิดที่ 56.75 บาท ลดลง -4.00 บาท (-6.58%) มูลค่าการซื้อขาย 2,690.53 ลบ. 2.KBANK ปิดที่ 149.50 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 2,199.95 ลบ. 3.PTTEP ปิดที่ 173.00 บาท ลดลง -1.00 […]

ECB ส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้นตั้งแต่เดือนก.ค. พร้อมปรับมุมมองเงินเฟ้อในระยะกลางสูงเกินเป้าหมาย 2%

ECB ส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้นตั้งแต่เดือนก.ค. พร้อมปรับมุมมองเงินเฟ้อในระยะกลางสูงเกินเป้าหมาย 2%

Economic Research ในการประชุมเดือน มิ.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติยุติการเข้าซื้อสินทรัพย์ (Asset Purchase Program: APP) หรือ QE วันที่ 1 ก.ค. นี้ และ ระบุว่าจะปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bps ในการประชุมเดือนก.ค. ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงอย่างมาก อย่างไรก็ดี ECB กล่าวว่าจะยังคงทำการ Reinvestment ในพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุที่ได้ซื้อผ่านมาตรการ APP ยาวนานตราบเท่าที่จำเป็น และสำหรับพันธบัตรที่เข้าซื้อผ่านโครงการพิเศษช่วง COVID-19 อย่าง PEPP ที่ยุติไปแล้วเมื่อเดือน มี.ค. ก็จะยังคงทำการ Reinvestment ไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปี 2024 ด้านประมาณการเศรษฐกิจ ECB ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อขึ้นอย่างมากจากเมื่อเดือนมี.ค. โดยคาดเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัว 6.8% ในปีนี้ จากเดิม 5.1% และจะชะลอตัวลงเป็น 3.5% […]

การค้ารัสเซีย-จีน 5 เดือน โต 28.9%

การค้ารัสเซีย-จีน 5 เดือน โต 28.9%

กรมศุลกากรจีน เผยตัวเลขออกมาว่า การค้าระหว่างจีนและรัสเซียเติบโตขึ้นรวดเร็วในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2022 โดยรัสเซียเร่งย้ายห่วงโซ่อุปทานของตัวเองมายังเอเชีย ท่ามกลางการถูกสหรัฐฯ และชาติตะวันตกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่ามูลค่าการค้าระหว่างจีนและรัสเซียน่าจะทะลุ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีนี้ เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีเป้าหมายจะขยายเศรษฐกิจและความร่วมมือทางการค้า เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน สำนักงานศุลกากรทั่วไปของจีน ระบุว่า การค้าทวิภาคีจีน-รัสเซีย อยู่ที่ 65,810 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 28.9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการเติบโตนี้เร่งตัวขึ้นอีกเมื่อเทียบกับยอดรวมเดือน มกราคม-เมษายน ที่เติบโต 25.9% ในช่วง 5 เดือนแรก จีนมียอดนำเข้าจากรัสเซียในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 46.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวจาก 37.8% ในช่วง 4เดือนแรก แต่การส่งออกจากจีนไปรัสเซีย มีอัตราการเติบโตที่น้อยลง จาก 11.3% ในช่วง […]

BBLAM Monthly Economic Review – ส่องสัญญาณบวกเศรษฐกิจจีน

BBLAM Monthly Economic Review – ส่องสัญญาณบวกเศรษฐกิจจีน

สรุปความสัมภาษณ์ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist BBLAM ภาพเศรษฐกิจในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2022 นี้ BBLAM จะขอนำเสนอเรื่องจีน ส่วนสหรัฐฯ นั้น ถ้าจะให้มีภาพที่ชัดเจนอาจจะต้องรอไปอีกในรอบการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ รอบกลางเดือนมิถุนายน 2022 ในตอนนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณบางอย่างในจีน เริ่มจะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เราฉายภาพแรกด้วย China is back ซึ่งมีเรื่องของการกลับมาเปิดเมือง (Reopening) เห็นเรื่องการผ่อนคลายด้านนโยบายเกี่ยวกับบริษัทเทคโนโลยี (Policy & Tech Easing) รวมทั้งจุดที่แย่ที่สุดของจีนน่าจะจบลงแล้ว (Bottoming Out) เริ่มที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ตั้งแต่ปี 2018-ปัจจุบัน สิ่งที่เห็นคือ ดัชนีหุ้นจีนวิ่งค่อนข้าง sideway คือปรับขึ้นลงเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าตัดภาพดูแต่ละปี จะเห็นภาพตั้งแต่ปี 2017-2020 จีนเจอเหตุการณ์มากมาย เริ่มด้วยปี 2017- ต้นปี 2018 ที่ดัชนีปรับขึ้นมาเนื่องจากกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่เฟื่องฟู ต่อด้วยปี […]