Economic Update: Japan: BoJ คงนโยบายการเงินตามคาด สวนทาง Fed และธนาคารกลางอื่นทั่วโลก

Economic Update: Japan: BoJ คงนโยบายการเงินตามคาด สวนทาง Fed และธนาคารกลางอื่นทั่วโลก

ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ Bank of Japan (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ในการประชุมวันนี้ ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเยนอ่อนค่าแรงทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ แต่ยิ่งทำให้นโยบายการเงินของญี่ปุ่นสวนทางกับธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลกที่ต่างพากันใช้นโยบายคุมเข้มมากขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว สำหรับในเดือนส.ค. เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและเป็นเงินเฟ้อเป้าหมายของ BoJ เร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 31 ปีที่ 2.8% YoY จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ราคาไฟฟ้า และอาหารแปรรูป ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นเป็น 3.0% YoY จาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ในแถลงการณ์หลังการประชุม นาย Haruhiko Kuroda […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,645.29 จุด เพิ่มขึ้น 11.84 จุด (+0.72%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,645.29 จุด เพิ่มขึ้น 11.84 จุด (+0.72%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 22 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,645.29 จุด เพิ่มขึ้น 11.84 จุด (+0.72%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,627.34 จุด และสูงสุดที่ 1,649.29 จุด มูลค่าการซื้อขาย 67,375.23 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 173.50 บาท ลดลง 1.00 (-0.57%) มูลค่าการซื้อขาย 3,790.09 ลบ. CPALL ปิดที่ 57.00 บาท ลดลง 1.00 (-1.72%) มูลค่าการซื้อขาย 3,601.62 ลบ. KBANK ปิดที่ 151.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+0.67%)  มูลค่าการซื้อขาย 2,623.09 […]

‘ดอลลาร์’ แข็งค่าสูงสุดในรอบ 20 ปี เฟดย้ำไม่ปรับลดดอกเบี้ยจนถึงปี 2567

‘ดอลลาร์’ แข็งค่าสูงสุดในรอบ 20 ปี เฟดย้ำไม่ปรับลดดอกเบี้ยจนถึงปี 2567

‘ดอลลาร์’ แข็งค่าสูงสุดในรอบ 20 ปี เฟดย้ำไม่ปรับลดดอกเบี้ยจนถึงปี 2567 ด้านปูตินระดมพลหนุนสงครามยูเครน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษเมื่อเทียบกับประเทศสำคัญๆ ในวันพฤหัสบดี โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ประกอบกับวลาดาเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศระดมทหารเพื่อทำสงครามในยูเครน ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งวัดค่าสกุลเงินเทียบกับตะกร้าของคู่สกุลเงิน 6 สกุล รวมทั้งยูโรและปอนด์ เพิ่มขึ้นสูงถึง 111.65 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2545 ค่าเงินดอลลาร์ยังสร้างระดับสูงสุดใหม่เมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคตั้งแต่ดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ไปจนถึงหยวนจีนและวอนเกาหลี เช่นเดียวกับดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทไทย เฟดออกประมาณการใหม่ ซึ่งแสดงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 4.6% ในปีหน้า โดยไม่มีการปรับลดจนถึงปี 2567 หลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%  สู่ระดับ 3.00-3.25% ตามที่คาดไว้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ได้รับการสนับสนุนจากความต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุด หลังจากที่ปูตินประกาศว่า เขาจะเรียกกองกำลังสำรองมาสู้รบในยูเครน และกล่าวว่า […]

BBLAM Economic Note: เมื่อ Fed พร้อมแลกทุกอย่างเพื่อจัดการเงินเฟ้อ นักลงทุนจะหลบพายุจากพ่อพาวเวรได้อย่างไร   

BBLAM Economic Note: เมื่อ Fed พร้อมแลกทุกอย่างเพื่อจัดการเงินเฟ้อ นักลงทุนจะหลบพายุจากพ่อพาวเวรได้อย่างไร   

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM  ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ (12: 0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75 bps เป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ขยับขึ้นมาที่ 3.0-3.25% ในการประชุมเดือนก.ย. เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ 75 bps สามครั้งติดต่อกันแล้ว และเป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายขยับมาสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 โดยในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการต่างเห็นพ้องกันว่า จะต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งถัดๆ ไปอีก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ประธาน Fed ได้ให้สัมภาษณ์ในช่วง Press Conference ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการเปิดเผย Dot Plot และข้อมูลประมาณการทางเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติมด้วย โดย Dot Plot ในรอบนี้ได้สะท้อนว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะวิ่งไปถึง 4.4% สิ้นปีนี้ (สูงกว่าประมาณการครั้งก่อนที่ 3.4%) และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะวิ่งขึ้นไปต่อในปีหน้าที่ 4.6% ด้านประมาณการทางเศรษฐกิจนั้นถูกปรับลงมาโดย Fed มองว่าปีนี้ […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,633.45 จุด ลดลง 5.14 จุด (-0.31%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,633.45 จุด ลดลง 5.14 จุด (-0.31%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 21 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,633.45 จุด ลดลง 5.14 จุด (-0.31%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,633.41 จุด และสูงสุดที่ 1,642.82 จุด มูลค่าการซื้อขาย 70,140.73 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 174.50 บาท เพิ่มขึ้น 5.00 (+2.95%) มูลค่าการซื้อขาย 4,604.27 ลบ. ADVANC ปิดที่ 193.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 (+1.31%) มูลค่าการซื้อขาย 3,253.89 ลบ. SCC ปิดที่ 328.00 บาท ลดลง 9.00 (-2.67%) มูลค่าการซื้อขาย 3,033.44 […]

ฟันด์โฟลว์จ่อทิ้ง ‘ตลาดเกิดใหม่’ หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง

ฟันด์โฟลว์จ่อทิ้ง ‘ตลาดเกิดใหม่’ หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง

“นักวิเคราะห์” ชี้หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง อาจเร่งกองทุนต่างชาติแห่ถอนลงทุนจากตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ของเอเชียเร็วขึ้น “เวิลด์แบงก์” แนะจีนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้ง ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ อาจเป็นตัวเร่งให้กองทุนต่างชาติแห่ถอนการลงทุนออกจากตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ของเอเชียรวดเร็วขึ้น ซึ่งซ้ำเติมตลาดกลุ่มนี้ให้ย่ำแย่ลงอีก จากเดิมที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้วจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. โดยหากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งนี้ ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือน มิ.ย.และ ก.ค. ด้านบลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ ระบุว่า นักลงทุนต่างชาติถอนการลงทุนออกจากตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ยกเว้นจีน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 20 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,638.59 จุด เพิ่มขึ้น 7.02 จุด (+0.43%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 20 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,638.59 จุด เพิ่มขึ้น 7.02 จุด (+0.43%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 20 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,638.59 จุด เพิ่มขึ้น 7.02 จุด (+0.43%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,636.20 จุด และสูงสุดที่ 1,645.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 65,130.39 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ CPALL ปิดที่ 58.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,338.35 ลบ. DELTA ปิดที่ 614.00 บาท ลดลง 4.00 (-0.65%) มูลค่าการซื้อขาย 2,766.22 ลบ. TLI ปิดที่ 17.60 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+6.02%) มูลค่าการซื้อขาย 2,004.47 ลบ. PTT ปิดที่ […]

‘เงินเฟ้อญี่ปุ่น’ เดือนส.ค.พุ่ง 2.8% สูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี แรงกดดันต้นทุนสูง-เยนอ่อนค่า

‘เงินเฟ้อญี่ปุ่น’ เดือนส.ค.พุ่ง 2.8% สูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี แรงกดดันต้นทุนสูง-เยนอ่อนค่า

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ว่า กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสด ปรับตัวขึ้น 2.8% ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบเป็นรายปี ขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 8 ปี เนื่องจากแรงกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง นักวิเคราะห์ กล่าวว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของผู้บริโภคจะเกินเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางเป็นเวลา 5 เดือนติดต่อกัน แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ไม่น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ทุกเมื่อในเร็วๆ นี้ เนื่องจากการเติบโตของค่าจ้างและการบริโภคยังคงอ่อนแอ  ข้อมูลดังกล่าวเน้นย้ำถึงภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ BOJ ต้องเผชิญ ในขณะที่พยายามหนุนเศรษฐกิจที่เปราะบางโดยการรักษาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ในทางกลับกันก็กระตุ้นให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงซึ่งทำให้ค่าครองชีพของครัวเรือนสูงขึ้น BOJ จับตาดูดัชนีอย่างใกล้ชิดว่า เป็นมาตรวัดว่าแรงกดดันเงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์ในประเทศมากน้อยเพียงใด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแตะ 3.0% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2534 โดยเน้นย้ำถึงความเจ็บปวดของผู้บริโภคที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดาร์เรน เทย์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวญี่ปุ่น จาก […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 19 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,631.57 จุด เพิ่มขึ้น 1.17 จุด (+0.07%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 19 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,631.57 จุด เพิ่มขึ้น 1.17 จุด (+0.07%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 19 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,631.57 จุด เพิ่มขึ้น 1.17 จุด (+0.07%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,628.96 จุด และสูงสุดที่ 1,638.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 60,159.08 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ TLI ปิดที่ 16.60 บาท ลดลง 0.20 (-1.19%) มูลค่าการซื้อขาย 3,870.33 ลบ. BANPU ปิดที่ 13.30 บาท ลดลง 0.40 (-2.92%) มูลค่าการซื้อขาย 2,570.83 ลบ. DELTA ปิดที่ 618.00 บาท เพิ่มขึ้น 28.00 (+4.75%)  มูลค่าการซื้อขาย 2,418.21 […]

‘ผู้บริโภคจีนยุคใหม่’ โฟกัส ‘ออมเงิน’ มากกว่าใช้จ่าย สวนทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

‘ผู้บริโภคจีนยุคใหม่’ โฟกัส ‘ออมเงิน’ มากกว่าใช้จ่าย สวนทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ว่า หนึ่งในภาพสะท้อนของพฤติกรรมใหม่ผู้บริโภคของจีนที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากสู่วิถีของ “ความประหยัด” อย่างเช่น Doris Fu ที่ปรึกษาด้านการตลาดในเซี่ยงไฮ้วัย 39 ปี ระบุว่า ช่วงเวลาก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ได้วาดฝันถึงอนาคตของตัวเองและครอบครัว ที่จะมีรถใหม่ อพาร์ตเมนต์ที่ใหญ่กว่าเดิม ได้รับประทานอาหารรสเลิศในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่างๆ  แต่ขณะนี้กลับต้องลดการใช้จ่ายและประหยัดเงินเท่าที่ทำได้ ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของจีน การว่างงานของเยาวชนที่สูงขึ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ความประหยัดรูปแบบใหม่นี้ ขยายผลโดยผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียที่โน้มน้าววิถีชีวิตราคาประหยัดและแบ่งปันเคล็ดลับในการประหยัดเงิน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก  Benjamin Cavender กรรมการผู้จัดการของ China Market Research Group (CMR) กล่าวว่า “เราทำแผนที่พฤติกรรมผู้บริโภคที่นี่มาเป็นเวลา 16 ปีแล้ว และในช่วงเวลานี้สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือผู้บริโภคอายุน้อย” โดยนโยบาย zero-COVID ของจีน ซึ่งรวมถึงล็อกดาวน์ที่เข้มงวด การจำกัดการเดินทาง และการทดสอบจำนวนมาก ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของประเทศ การปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อแรงงานรุ่นเยาว์อีกด้วย การว่างงานในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง […]