กองทุน B-SENIOR, B-SENIOR-X, B-INCOME และ B-INCOMESSF Q4/2022

กองทุน B-SENIOR, B-SENIOR-X, B-INCOME และ B-INCOMESSF Q4/2022

กองทุนผสมบีซีเนียร์สาหรับวัยเกษียณ (B-SENIOR) , กองทุนผสมบีซีเนียร์สาหรับวัยเกษียณ เอ็กซ์ตร้า (B-SENIOR-X), กองทุนเปิดบัวหลวงอินคัม (B-INCOME) และ กองทุนเปิดบัวหลวงอินคัมเพื่อการออม (B-INCOMESSF) ตราสารหนี้• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สำหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง• นอกจากนี้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาช่วงกลางเดือนตุลาคม ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลข Core CPI ออกมาสุงสุดในรอบ […]

กองทุน BMAPS25, BMAPS55, BMAPS100, BMAPS25RMF, BMAPS55RMF และ BMAPS100RMF

กองทุน BMAPS25, BMAPS55, BMAPS100, BMAPS25RMF, BMAPS55RMF และ BMAPS100RMF

กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55)กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS25RMF), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS55RMF)กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS100RMF) ภาพรวมตลาด• ตลาดหุ้นโลกกลับมาปรับตัวขึ้นได้ 6.4% ในเดือนตุลาคม หลังจากปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า หรือ ลดลงจากจุดสูงสุดช่วงต้นปีมาราว 27.0% โดยความเข้มงวดทางการเงินโลกที่เร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ที่ปรับขึ้นมาที่ระดับ 4.0% และ Real Yield ที่ปรับขึ้นมาเป็นบวกในเกือบทุกช่วงอายุนั้น เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจจริงและสภาพคล่องในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง กอปรกับ US 10Y Yield และ ค่าเงินสหรัฐฯ […]

กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q4/2022

กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q4/2022

กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) ตราสารหนี้• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สาหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง• นอกจากนี้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาช่วงกลางเดือนตุลาคม ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลข Core CPI ออกมาสุงสุดในรอบ 40 ปี […]

BBLAM Weekly Investment Insights 28 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2022

BBLAM Weekly Investment Insights 28 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2022

2022 – Opportunities are never lost สัญญาณอะไรที่ทำให้เราน่าจะเห็นสัญญาณตลาด bottom? ในก้าวย่างที่เรากำลังเดินหน้าเข้าสู่เดือนธันวาคม 2022 และกลิ่นอายของปี 2023 กำลังย่างก้าวเข้ามาทุกขณะ สัปกดาห์นี้ BBLAM จึงมาชวนดูกันว่า โอกาสฟ้าเปิด หุ้นเมื่อไรจะพ้นจุด bottom เสียที ซึ่งก็ไม่มีใครบอกเวลาที่แน่นอนได้ว่าเมื่อไร แต่เราก็พอมองไปที่บทเรียนในอดีตและมาสรุปว่าสัญญาณอะไรบ้างที่เราสังเกตุได้ สัปดาห์นี้ จึงนำบทความของ คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ที่กล่าวถึงประเด็นข้างต้นไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ ถ้าดู ช่วงที่ตลาด bottom หลังจากที่เกิดตลาดหมี ไม่ว่าจะเป็นช่วงปี 1982 , 1987, 2002, 2009, 2020 สิ่งหนึ่งที่เราเห็นคล้าย ๆ กันคือ เราสามารถใช้สัญญาณจากตลาดอื่น ๆ มาเป็นสัญญาณในตลาดหุ้นได้ สัญญาณชัดเจนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าค่าเงินดอลลาร์แข็งก็แปลว่าคนยังวิ่งหาเงินสด หาสินทรัพย์ปลอดภัยอยู่ จะเห็นได้ว่าในแต่ละช่วงของตลาดหมี ก่อนที่ตลาดหุ้นจะเจอจุดต่ำสุด ค่าเงินดอลลาร์ต้องหยุดขึ้นให้ได้ก่อน หุ้นถึงจะขึ้นได้ ซึ่ง BBLAM […]

“อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค” เมืองหลวงญี่ปุ่น พุ่งเร็วสุดในรอบ 40 ปี ส่งสัญญาณกระทบวงกว้าง

“อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค” เมืองหลวงญี่ปุ่น พุ่งเร็วสุดในรอบ 40 ปี ส่งสัญญาณกระทบวงกว้าง

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (CPI) ในเมืองหลวงของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นในอัตราประจำปีที่เร็วที่สุดในรอบ 40 ปีในเดือนพฤศจิกายน และสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ซึ่งส่งสัญญาณการขยายตัวของเงินเฟ้อในวงกว้าง นักวิเคราะห์บางคน กล่าวว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักในเมืองหลวงของญี่ปุ่นที่สูงขึ้น ได้แรงหนุนส่วนใหญ่มาจากค่าอาหารและเชื้อเพลิง แต่กระจายไปยังสินค้าในวงกว้าง ทำให้เกิดข้อสงสัยต่อมุมมองของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)  โดยดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (CPI) ของโตเกียว ซึ่งไม่รวมอาหารสด แต่รวมเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 3.6% ในเดือนพฤศจิกายนจากปีก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นเกินการคาดการณ์ของตลาดเฉลี่ยที่ 3.5% และเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนตุลาคม ซึ่งครั้งสุดท้ายที่อัตราเงินเฟ้อของโตเกียวเร็วขึ้น คือ เดือนเมษายน 2525 เมื่อ CPI พื้นฐานสูงกว่าปีก่อนหน้า 4.2% ขณะที่ การเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากค่าไฟฟ้าและราคาอาหาร บริษัทต่างๆ ก็เรียกเก็บค่าสินค้าคงทนมากขึ้นเช่นกัน […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 พ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,624.96 จุด เพิ่มขึ้น 0.56 จุด (+0.03%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 พ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,624.96 จุด เพิ่มขึ้น 0.56 จุด (+0.03%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 พ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,624.96 จุด เพิ่มขึ้น 0.56 จุด (+0.03%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,621.57 จุด และสูงสุดที่ 1,630.08 จุด มูลค่าการซื้อขาย 45,928.19 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTT ปิดที่ 33.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,813.29 ลบ. BANPU ปิดที่ 13.10 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,548.89 ลบ. PTTEP ปิดที่ 190.00 บาท ลดลง 3.50 (-1.81%) มูลค่าการซื้อขาย 1,443.55 ลบ. BDMS ปิดที่ 29.50 บาท ลดลง […]

BF Knowledge Tips: ซื้อ SSF ทุกเดือน อีก 10 ปีตอนขายคืนจะยุ่งยากหรือเปล่า

BF Knowledge Tips: ซื้อ SSF ทุกเดือน อีก 10 ปีตอนขายคืนจะยุ่งยากหรือเปล่า

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM หลายคนถามกันเข้ามาบ่อยเลยว่า ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นประจำทุกเดือนๆ แล้วในอนาคตเมื่อครบกำหนดสามารถขายคืนได้ จะยุ่งยากมั้ย ต้องทำรายการขายคืนทุกเดือนๆ หรือเปล่า ต้องบอกว่า ถ้าเป็น RMF ไม่ยุ่งยากเลยค่ะ เพราะเมื่อครบกำหนดลงทุนตามเงื่อนไข จะขายคืนทั้งหมดก้อนเดียว หรือจะทยอยขายคืนเดือนละครั้ง หรือหลายๆ ครั้งก็สามารถทำได้ ส่วนกองทุนรวม SSF นั้น ต้องบอกว่า ไม่ยุ่งยากเลย ถ้าใช้เทคนิคตามที่แนะนำ กรณีแรก คือ ลงทุน SSF สม่ำเสมอทุกเดือน แต่วันที่ไม่แน่นอน ให้ใช้เทคนิคขายคืนทุกวันสุดท้ายของเดือนเมื่อครบกำหนด สำหรับกองทุนรวม SSF นั้น เงื่อนไขการลงทุนแตกต่างจาก RMF โดยเฉพาะเงื่อนไขที่ว่า เมื่อลงทุนแล้วต้องถือการลงทุนนั้นไป 10 ปีเต็มจึงจะขายคืนได้ ดังนั้น หากเราลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนๆ โดยวันที่ลงทุนไม่แน่นอน เดือนนี้อยากลงทุนวันที่ 1 เดือนหน้าอยากลงทุนวันที่ 5 หรือลงทุนตามวันที่สะดวก […]

“ก.ล.ต.โลก” เร่งกำกับดูแลแพลตฟอร์มคริปโทฯ หลัง FTX ล้มละลาย

“ก.ล.ต.โลก” เร่งกำกับดูแลแพลตฟอร์มคริปโทฯ หลัง FTX ล้มละลาย

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 24 พฤศจิายน 2565 ว่า ฌอง-พอล เซอร์เวส์ ประธานคนใหม่ขององค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions – IOSCO) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านหลักทรัพย์ระดับโลกเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์ว่า การล้มละลายของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทเคอเรนซี อย่าง FTX  ทำให้เกิดความเร่งด่วนมากขึ้นในการควบคุมภาคคริปโทฯ  และจะให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มต่างๆ ของกลุ่มบริษัทในปี 2566  ทั้งนี้ การควบคุมแพลตฟอร์มคริปโทฯ สามารถใช้หลักการเดียวกับภาคส่วนอื่นๆ ที่ใช้ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ต่างๆ เช่น หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และหน่วยงานซึ่งรวบรวมเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ของตลาด โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด สำหรับสินทรัพย์คริปโทฯ เช่น บิทคอยน์ มีมานานหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลใดเข้าไปเขียนกฎเกณฑ์ใหม่อย่างจริงจัง แต่การล่มสลายของ FTX ซึ่งทำให้เจ้าหนี้ราว 1 ล้านรายต้องเผชิญกับความสูญเสียมูลค่ารวมหลายพันล้านดอลลาร์นั้น จะเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลงเรื่องดังกล่าวอย่างแน่นอน “ความรู้สึกเร่งด่วนไม่เหมือนเดิม แม้เมื่อ 2 หรือ 3 ปีที่แล้ว […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 23 พ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,624.40 จุด เพิ่มขึ้น 9.07 จุด (+0.56%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 23 พ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,624.40 จุด เพิ่มขึ้น 9.07 จุด (+0.56%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 23 พ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,624.40 จุด เพิ่มขึ้น 9.07 จุด (+0.56%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,617.56 จุด และสูงสุดที่ 1,626.22 จุด มูลค่าการซื้อขาย 64,614.28 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 193.50 บาท เพิ่มขึ้น 8.50 (+4.59%) มูลค่าการซื้อขาย 3,330.44 ลบ. PTT ปิดที่ 33.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 (+1.50%) มูลค่าการซื้อขาย 2,291.28 ลบ. PLOY ปิดที่ 13.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 (+2.27%) มูลค่าการซื้อขาย 1,600.92 […]

OECD คาดเศรษฐกิจโลกปีหน้าชะลอตัว โตแค่ 2.2% หนุนแบงก์ชาติสกัดเงินเฟ้อ

OECD คาดเศรษฐกิจโลกปีหน้าชะลอตัว โตแค่ 2.2% หนุนแบงก์ชาติสกัดเงินเฟ้อ

OECD คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทั่วโลกในปี 2566 จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 2.2% จากระดับ 3.1% ในปี 2565 เนื่องจากผลกระทบของการที่ธนาคารกลางทั่วโลกพากันใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทั่วโลกในปี 2566 จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 2.2% จากระดับ 3.1% ในปี 2565 เนื่องจากผลกระทบของการที่ธนาคารกลางทั่วโลกพากันใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยระบุว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นนั้น มาจากผลกระทบของการที่รัสเซียทำสงครามกับยูเครน OECD ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 38 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี […]