BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2563

BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2563

  BF Economic Research สรุปภาพเศรษฐกิจและการลงทุนเดือน มิ.ย. และมุมมองเดือน ก.ค. ช่วงเดือน มิ.ย. หลายประเทศเริ่มคลาย Lockdown จากโควิด-19 แล้ว เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นของภาพเศรษฐกิจหลายที่ เครื่องชี้รายเดือน เครื่องชี้ที่ถี่กว่ารายเดือน เริ่มเห็นกิจกรรมกลับเข้ามาแล้ว เช่น การกลับออกไปทานข้าวข้างนอก การไปท่องเที่ยวพื้นที่ใกล้เคียง ถือเป็นบรรยากาศที่ดี สำหรับ 3 ประเด็นหลัก เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง มีดังนี้ 1.ประมาณการเศรษฐกิจโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)   2.การใช้นโยบายการเงินของประเทศต่างๆ เพื่อดัดความชันของ Yield Curve ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้นๆ 3.การเลือกตั้งสหรัฐฯ 

ธนาคารโลกเผยผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ

ธนาคารโลกเผยผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ

ธนาคารโลก หรือ World Bank จัดทำรายงานเรื่องผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 อาจหดตัวกว่าร้อยละ 5 ในปี 2563 และน่าจะใช้เวลามากกว่าสองปีกว่าที่จะกลับไปสู่ระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ก่อนที่จะประสบปัญหาโควิด-19 ทั้งนี้ จากรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยของธนาคารโลกฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในวันนี้พบว่า การระบาดของเชื้อโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในไตรมาสที่สองของปี 2563 โดยมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลาง และครัวเรือนที่ยากจน แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการชะลอการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในสามเดือนที่ผ่านมา แต่ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจนั้นรุนแรง ภาคการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 15 ของ GDP ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ประเทศไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 การส่งออกน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 6.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลงร้อยละ 3.2 เนื่องจากมาตรการห้ามการเดินทางและรายได้ที่ลดลงซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในไตรมาสที่สองของปี 2563 จากการที่ประเทศไทยเริ่มผ่อนปรนการห้ามเดินทาง จะทำให้การบริโภคภายในประเทศที่เดิมมีความเข้มแข็งอยู่แล้วและเป็นเครื่องจักรผลักดันเศรษฐกิจเริ่มจะฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่สองของปี 2563 […]

แบงก์ชาติฟิลิปปินส์ส่งสัญญาณยังมีพื้นที่บริหารจัดการด้านนโยบายการเงินอีกมาก

แบงก์ชาติฟิลิปปินส์ส่งสัญญาณยังมีพื้นที่บริหารจัดการด้านนโยบายการเงินอีกมาก

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคงมีพื้นที่เหลือเฟือสำหรับการบริหารจัดการรับมือกับเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเผชิญกับการชะลอตัวท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 Benjamin Diokno ผู้ว่าการธนาคารกลางบอกกับ “Street Signs” ของซีเอ็นบีซี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังมีพื้นที่ในการบริหารจัดการด้านนโยบายทางการเงินอีกมาก ซึ่งนั่นทำให้เราแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในแดนลบ ความคิดเห็นของเขาเกิดขึ้นภายหลังการตัดสินใจของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าสุดลง 0.50% เป็น 2.25% ซึ่งเป็นการปรับลดที่เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจโดยรอยเตอร์ส เขา กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นหลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลง ขณะที่การคำนวณจากธนาคารกลางที่แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจทั้งปีนี้ และยาวไปอีก 3 ปีข้างหน้า ธนาคารจึงได้ดำเนิการกระตุ้น ด้วยการดำเนินมาตรการล่วงหน้า

Asset Allocation จำเป็นแค่ไหน

Asset Allocation จำเป็นแค่ไหน

โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท หรือ Asset Allocation เป็นการกระจายความเสี่ยงและจัดสรรสัดส่วนการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายผลตอบแทนของแต่ละคน ปัจจุบันผู้มีเงินออมจำนวนมากได้ทำ Asset Allocation กันอยู่แล้ว แต่อาจไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เก็บเงินไว้ที่ธนาคาร ซื้อหุ้นกู้ ซื้อกองทุนรวม ซื้อทองคำ หรือแม้แต่เล่นหุ้นเอง การแบ่งเงินไปฝาก/ ลงทุนที่หลากหลาย ก็นับว่าเป็น Asset Allocation อยู่แล้ว แต่ผู้ลงทุนควรพิจารณาว่า Asset Allocation ที่มีอยู่นั้นเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ทั้งนี้ เวลาดูทรัพย์สินลงทุน เราไม่ควรดูแค่กองทุนรวม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) อย่างเดียว ควรต้องพิจารณาเงินลงทุนทั้งหมดไปพร้อมๆ กัน แต่ต้องอิงตามเป้าหมายด้วย ทุกคนควรทำ Asset Allocation ใช่หรือไม่? คำตอบคือ […]

ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค.

ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค.

BF Economic Research ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. ระบุ เศรษฐกิจไทยหดตัวต่อเนื่อง โดยรายละเอียดสำคัญมีดังนี้ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. ระบุ เศรษฐกิจไทยหดตัวต่อเนื่อง โดยรายละเอียดสำคัญมีดังนี้ • นักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว -100% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง: โดยเป็นผลมาจากการปิดน่านฟ้าและได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว • ส่งออกไทย (ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์) ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่16,278.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,948.2 ล้านดอลลาร์ฯหรือ -22.50%YoY (vs. prev.2.12% YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -27.86% YoY (vs. prev.-10.31% YoY) มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 13,584.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 16,485.9 ล้านดอลลาร์ฯ […]

ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นปรับตัวลงแรงในไตรมาส 2/2020 ตามคาด สะท้อนผลกระทบของ COVID-19

ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นปรับตัวลงแรงในไตรมาส 2/2020 ตามคาด สะท้อนผลกระทบของ COVID-19

BF Economic Research ดัชนี Tankan ที่สะท้อนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ โดยการสำรวจรายไตรมาสของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงไตรมาส 2/2020 บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงอย่างมากแตะระดับ -34 จากระดับ -8 ในไตรมาส 1/2020 ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ -31 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 สอดคล้องกับดัชนีของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงจากระดับ -8 และ -15 เป็น -36 และ -45 ตามลำดับ โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดภาวะชะงักงัน การส่งออก และการผลิตลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนเม.ย. และพ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงความต้องการสินค้าในตลาดที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้หลายบริษัทต้องลดกำลังการผลิตลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ดัชนี Tankan ของบริษัทขนาดใหญ่ลดลงจากระดับ -17 เป็น -72 เนื่องจากตลาดส่งออกหลัก คือสหรัฐฯ และยุโรปซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 […]

ฮ่องกงจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางการเงิน?

ฮ่องกงจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางการเงิน?

โดย…ทนง ขันทอง ฮ่องกงจะสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางการเงินได้หรือไม่ หลังจากสภาประชาชนแห่งชาติของจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงฮ่องกงในวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ลงนามให้มีผลบังคับใช้ทันที ผู้นำของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนาโต้ ดาหน้าออกมาแสดงความเห็นคัดค้านกฎหมายความมั่นคงฮ่องกง โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายความมั่นคงจะทำลายพื้นฐานสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยตามหลักการ 1 ประเทศ 2 ระบบ เพราะว่าฮ่องกงยังมีเวลาปกครองตัวเอง 50 ปี ตามข้อตกลงที่จีนมีกับอังกฤษในการส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงในปี 1997 หลังอังกฤษครอบครองอาณานิคมฮ่องกงมาเป็นเวลา 99 ปี นายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่าจะยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้าที่ให้กับฮ่องกงตามกฎหมาย United States- Hong Kong Policy Act of 1994 ในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงก่อเหตุรุนแรงที่ฮ่องกงก่อนหน้านี้เพื่อต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน รัฐบาลจีนออกอาการกร้าวว่าจะจัดการกับผู้ชุมนุมประท้วงอย่างเด็ดขาด เพราะมองว่าการประท้วงถูกต่างชาติแทรกแซง และมีจุดมุ่งหมายแอบแฝงของมหาอำนาจตะวันตกที่ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของปักกิ่งที่กำลังเผชิญหน้ากับสหรัฐฯ ในเกมภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลก แต่จีนก็ไม่ได้ทำอะไรมาก คงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ฮ่องกงจัดการกับม็อบ เนื่องจากฮ่องกงไม่มีกฎหมายความมั่นคง การเอาผิดแกนนำผู้ชุมนุมประท้วงจึงไม่สามารถกระทำได้ อย่างมากแค่คุมตัวชั่วคราว […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด หรือ –0.04% โดยระหว่างวันสูงสุดที่ 1,351.59 จุด ต่ำสุดที่ 1,339.03 จุด มูลค่าการซื้อขาย 58,589.45 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. ADVANC ปิดที่ 185.00 บาท ลดลง 2.00 บาท (-1.07%) มูลค่าการซื้อขาย 2,042.54 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 37.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+1.34%) มูลค่าการซื้อขาย 1,854.99 ลบ. 3.KBANK ปิดที่ 93.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+0.54%) มูลค่าการซื้อขาย 1,851.57 ลบ. 4.CBG ปิดที่ 104.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท (+4.52%) มูลค่าการซื้อขาย 1,627.68 ลบ. 5.KCE ปิดที่ 22.80 บาท เพิ่มขึ้น 1.30 บาท (+6.05%) มูลค่าการซื้อขาย 1,622.86 ลบ.  

อังกฤษขยายแพคเกจช่วยเหลือครอบคลุมธุรกิจสตาร์ทอัพ-บริษัทในต่างแดน

อังกฤษขยายแพคเกจช่วยเหลือครอบคลุมธุรกิจสตาร์ทอัพ-บริษัทในต่างแดน

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษได้ขยายแพคเกจการช่วยเหลือสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงธุรกิจที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ภายใต้แพคเกจนี้ บริษัทสตาร์ทอัพต้องให้ผู้ร่วมทุนของบริษัทยื่นขอเงินกู้แบบชั่วคราว (bridge financing ) กับรัฐบาล เงินทุนดังกล่าวบริหารงานโดย British Business Bank ในรูปแบบของเงินกู้แปลงสภาพที่กลายเป็นหุ้นในรอบการระดมทุนรอบต่อไปของบริษัทสตาร์ทอัพ โดยทฤษฎีที่ว่านี้จะช่วยให้รัฐบาลสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนในภายหลัง กองทุน 500 ล้านปอนด์ (614 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประกอบด้วยภาระผูกพัน 250 ล้านปอนด์ จากกระทรวงการคลังคลังซึ่งจับคู่กับการระดมทุนของภาคเอกชน โดยสตาร์ทอัพจะได้รับการสนับสนุนถึง 320 ล้านปอนด์และรัฐบาล กล่าวว่า ยินดีที่จะเพิ่มขนาดกองทุนหากจำเป็น Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อังกฤษ กล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทด้านนวัตกรรมของอังกฤษเป็นหนึ่งในจุดแข็งทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มฟื้นตัวกลับจากการระบาดของโควิด-19 บริษัทเหล่านี้จะช่วยผลักดันการฟื้นตัวและสร้างงานใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ หมายความว่า ผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจที่พยายามอย่างดีที่สุดและมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากกองทุนในอนาคต

การปรับแก้พอร์ตโฟลิโอด้วยตัวเอง

การปรับแก้พอร์ตโฟลิโอด้วยตัวเอง

โดย…พิชญ ฉัตรพลรักษ์ กองทุนบัวหลวง ในตลาดการลงทุนของไทยเริ่มมีการโฆษณารับปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอออกมา รวมถึงมีผู้นำเสนอการจัดสรรเงินลงทุนในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบข้อเสนอกันแบบตรงๆ ก็ดูจะพิจารณากันได้ลำบาก เนื่องจากแต่ละที่ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาแตกต่างกัน น้ำหนักก็ต่างกัน หากลงทุนตามคำแนะนำในครั้งแรกและปล่อยไว้เฉยๆ โดยไม่ติดตามคงไม่ดีแน่ แต่ครั้นนักลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเงินคิดจะติดตามปรับเปลี่ยนการลงทุนเอง ก็อาจสงสัยว่า จะเริ่มต้นอย่างไรดี จะคอยติดต่อที่ปรึกษาก็คงต้องพึ่งพาเขาอยู่ร่ำไป เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจ มันก็ไม่สะดวกคล่องตัว ค่าใช้จ่ายถูกแพงก็ดูยาก บทความนี้จึงนำเสนอเกร็ดความรู้ในการเริ่มต้นลงมือจัดสรรเงินลงทุนและปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอด้วยตนเองในเจ็ดขั้นตอน (Clements & Clough, 2019) และเพื่อเป็นบันไดเริ่มต้นในการก้าวขึ้นสู่นักลงทุนที่สามารถพึ่งพาตัวเองและเพิ่มความช่ำชองมากขึ้นต่อไป ก้าวแรก คือ ต้องเรียนรู้การลงทุนในอดีตของเราโดยการมองย้อนกลับไป เช่นในช่วงที่ตลาดหุ้นลง เราเคยขายสินทรัพย์ออกไปในราคาถูกบ้างหรือไม่ หากเคยแสดงว่าเรารับความเสี่ยงได้ไม่มาก ควรที่จะปรับลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้โดยไม่เกิดความตื่นตระหนก การขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในอดีตมีจำนวนครั้งมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่บ่อยครั้งแสดงว่านักลงทุนอาจต้องการใช้เงินสดบ้างหรือปรับส่วนผสมการลงทุนให้เป็นไปตามกลยุทธ์ในระยะยาว แต่หากมีการซื้อขายที่ถี่เกินไปอาจแปลว่าเราอาจเปลี่ยนใจอยู่บ่อยครั้งและเป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีความไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการที่จะทำอะไรกันแน่ ก้าวที่ 2 กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับความต้องการใช้เงินของตัวเองโดยการพิจารณาลักษณะของแต่ละประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class) ตราสารทุนจะมีความผันผวนของอัตราผลตอบแทนในระยะสั้นแต่จะให้การงอกเงยของเงินลงทุนที่ดีในระยะยาวและชนะอัตราเงินเฟ้อได้ เงินฝากมีความเสี่ยงต่ำแต่อัตราผลตอบแทนหลังจากหักภาษีก็อาจจะน้อยกว่าเงินเฟ้อได้ ตราสารหนี้มีการจ่ายดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอและราคาก็ไม่ผันผวนเท่าตราสารทุน แต่ก็สามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทน (ตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น) จากตราสารหนี้พวก High Yield ตราสารหนี้ระยะยาว หรือหุ้นกู้ […]