ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 19 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,563.96 จุด ลดลง 4.86 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 19 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,563.96 จุด ลดลง 4.86 จุด หรือ -0.31% มูลค่าการซื้อขาย 88,717.86 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.OR ปิดที่ 32.00 บาท ลดลง -1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,438.32 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 40.50 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 3,232.99 ลบ. 3.DELTA ปิดที่ 314.00 บาท ลดลง -6.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,727.15 ลบ. 4.PTTEP ปิดที่ 115.00 บาท […]
B-ASIA B-ASIARMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)
Highlight ตลาดเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก มุมมองเชิงบวกกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและวัคซีน หุ้นกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) เช่น กลุ่มการเงิน และสินค้าวัสดุอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีเป็นอันดับต้นๆ พอร์ตให้น้ำหนักในหุ้นอินเดีย และไต้หวันมากกว่าเกณฑ์มาตราฐาน (Overweight) และจีนน้อยกว่าเกณฑ์มาตราฐาน (Underweight) โดยให้น้ำหนักกับกลุ่มเทคโนโลยีและการเงิน ผู้จัดการกองทุนค้นหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (undervalued) และมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งหุ้นที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตของจีน เน้นลงทุนในหุ้นที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง ได้ประโยชน์จาก 5G และการเปลี่ยนแปลงการบริการบริโภค เช่น Work from home และ การซื้อของออนไลน์ เป็นต้น ภาพรวมตลาด ตลาดเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อมากขึ้นและมีการล็อคดาวน์เพิ่มขึ้นในบางประเทศ แต่นักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และความหวังในการเปิดประเทศจากการใช้วัคซีนที่เพิ่มขึ้น ทำให้หุ้นกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) เช่น กลุ่มการเงิน และสินค้าวัสดุอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ไต้หวันปรับตัวได้ดีขึ้นมากจากราคาของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและเซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งได้ประโยชน์อย่างมากจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น อินเดียปรับตัวเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลง และการที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ในขณะที่ตลาดหุ้นจีนเผชิญแรงกดดันหลายปัจจัย หลังจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนประเทศอื่นหลังการแพร่ระบาดโควิด ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงมีอยู่ และปัจจัยภายในประเทศที่ภาครัฐเข้มงวดกับบริษัทอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ […]
ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีนทุ่มงบสร้างโรงงานในเซินเจิ้น รองรับเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลน
รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีน บริษัท เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น หรือ SMIC กำลังจะสร้างโรงงานแห่งใหม่ในเซินเจิ้นซึ่งมีมูลค่า 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท SMIC และเมืองเซินเจิ้นศูนย์กลางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในประเทศจีน ร่วมทุนในโครงการของ SMIC ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในแผนของจีนที่ต้องการเพิ่มกำลังการผลิตให้พอเพียงในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ทั้งนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2020 สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำที่เรียกว่า Entity List กับบริษัท SMIC โดยห้ามไม่ให้บริษัทอเมริกันส่งออกเทคโนโลยีให้กับบริษัทที่อยู่ในบัญชีดำนี้ โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวสร้างผลกระทบต่อความสามารถของ SMIC ในการติดตามเทคโนโลยีรวมถึงการผลิตชิปที่ล้ำสมัย ทำให้บริษัทจีนอยู่ห่างจากคู่แข่งทั้ง ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง คอมพานี (TSMC) และซัมซุง ไปมากแล้ว โรงงานแห่งใหม่ในเซินเจิ้นจะช่วยให้ SMIC เพิ่มการผลิตชิป 28 นาโนเมตรขึ้นไป ซึ่งชิปดังกล่าวถือเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างเก่า ขณะที่ TSMC และซัมซุงกำลังผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขนาด […]
ค่าเช่าถูกลงและพื้นที่ว่างเพิ่มหนุนค้าปลีกสหรัฐฯ สนใจเปิดหน้าร้านมากขึ้น
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ปีนี้เป็นปีแรกในรอบหลายๆ ปี ที่ผู้ค้าปลีกทั่วสหรัฐฯ วางแผนขยายหน้าค้ามากขึ้นกว่าจำนวนร้านค้าที่จะปิด โดยหลายธุรกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด และมีการปัดฝุ่นแผนขยายธุรกิจจากที่ระงับเอาไว้ก่อนหน้านี้ ตัวอย่างล่าสุดคือ ฟาเบลติกส์ ผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายกีฬา มีแผนการเปิดหน้าร้านเพิ่มกว่า 20 แห่งในสหรัฐฯ ในปีนี้ ส่วนทอย อาร์ อัส ซึ่งเป็นเครือร้านของเล่น ที่เคยถูกฟ้องล้มละลายเมื่อปี 2017 และเลิกกิจการไป ก็ได้เจ้าของกิจการใหม่แล้ว ซึ่งก็กำลังมองหาลู่ทางเปิดร้านแห่งใหม่ในปีนี้ ผู้ค้าปลีกต่างก็กระตือรือร้นที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งของแบรนด์ให้กลับมาหลังจากการแพร่ระบาด ประกอบกับะพวกเขามีความตื่นเต้นที่จะทดลองแนวคิดใหม่ที่จะมอบให้กับผู้บริโภค รวมทั้งค่าเช่าที่ราคาถูกลง ทำให้พวกเขารู้สึกมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการเปิดร้านค้าใหม่ๆ จากข้อมูลล่าสุดของ คอร์ไซต์ รีเสิร์ช ระบุว่า จากข้อมูลตั้งแต่ต้นปีถึงตอนนี้มีผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ ประกาศเปิดร้านค้าแล้ว 3,199 แห่ง และปิดร้านค้า 2,548 แห่ง ขณะที่ปีที่ผ่านมา มีการปิดร้านค้า 8,953 แห่ง และเปิดร้านค้าเพียง 3,298 แห่ง จากผลกระทบการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งกระทบอุตสาหกรรมค้าปลีก และทำให้ธุรกิจกว่าหลายสิบรายต้องเผชิญกับภาวะล้มละลาย Adam […]
เมื่อเป้าหมายเงินเฟ้อไม่ได้เป็นเป้าหมายต่อไป
โดย…ทนง ขันทอง หน้าที่หลักของธนาคารกลางคือดูแลเสถียรภาพของราคา โดยมีเป้าหมายของเงินเฟ้อเป็นกรอบอยู่ในใจ หรืออาจจะประกาศออกมาเป็นนโยบายที่เป็นทางการก็ได้ ว่าจะให้เงินเฟ้อเคลื่อนไหวอยู่ในระดับใดถึงจะเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% โดยจะดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลเงินเฟ้อไม่ให้หลุดกรอบนี้ ตัวเลขเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ยกมาจากไหนไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มันดูเหมือนว่ามันเป็นภาระที่ศักดิ์สิทธิ์ของเฟด และธนาคารกลางอื่นๆ ที่ร่วมขบวนในการที่จะต้องปกป้องเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ให้ได้ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวิกฤติปี 2008 เงินเฟ้อไม่ได้เป็นปัญหา เพราะว่าเศรษฐกิจตกต่ำ แต่มีปัญหาเงินฝืดมากกว่า แม้ว่าจะมีการกดดอกเบี้ยลงระดับ 0% และทำคิวอีเพื่ออัดสภาพคล่องอย่างมโหฬารเข้าไปในระบบการเงินผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของเอกชนเพื่อปั๊มเศรษฐกิจและดูแลระบบการเงิน เงินเฟ้อก็ไม่มา อย่างน้อยตามตัวเลขของทางการ เมื่อเงินเฟ้อไม่เป็นภัย หรือไปไม่ถึง 2% เฟดจึงถือโอกาสกดดอกเบี้ยต่ำเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินพอดี ซึ่งเกื้อหนุนตลาดหุ้น และสินทรัพย์เสี่ยงเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะค่อยๆ ปล่อยให้ดอกเบี้ยปรับอัตราสูงขึ้น รวมท้ังลดปริมาณการทำคิวอีลง แต่พอเกิดการระบาดของโควิด-19 เฟดรีบเร่งกลับมาใช้นโยบายดอกเบี้ย 0% อีกคร้ังตั้งแต่เดือนมี.ค. ปีที่แล้ว พร้อมกับคิวอี จนในขณะนี้พิมพ์เงินเข้าระบบในอัตรา 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (พันธบัตรรัฐบาล 80,000 […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 18 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,566.76 จุด เพิ่มขึ้น 2.73 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 18 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,568.82 จุด เพิ่มขึ้น 2.06 จุด หรือ 0.13% โดยระหว่างวันดัชนีสูงสุดที่ 1,583.30 จุด ต่ำสุดที่ 1,567.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 81,007.58 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.OR ปิดที่ 33.00 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 4,720.12 ลบ. 2.KBANK ปิดที่ 147.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,642.04 ลบ. 3.STA ปิดที่ 47.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย […]
BF Knowledge Center BMAPS BMAPS100 BMAPS25 BMAPS55
BMAPS พอร์ตลงทุนสำเร็จรูปสำหรับวัยทำงาน
โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPT™ กองทุนบัวหลวง วัยทำงานที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุนอย่างพวกเรา มักจะได้รับคำแนะนำให้จัดพอร์ตลงทุน ด้วยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเภทกัน หรือที่เรียกกันว่า Asset Allocation เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ใด สินทรัพย์หนึ่งมากจนเกินไป โดยแนวคิดนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า ไม่มีสินทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดอยู่ตลอดเวลา เพราะสินทรัพย์การลงทุนแต่ละชนิดก็มีจังหวะการขึ้นลงตามสภาวะของเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน การจัดพอร์ตลงทุน จึงเป็นการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์แต่ละชนิดให้เหมาะสม โดยคาดหวังให้ได้รับผลตอบแทนตามเป้าหมาย ภายใต้ความเสี่ยงที่เราแต่ละคนสามารถยอมรับได้ ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคน แตกต่างกันด้วยหลายปัจจัย อาทิ ความรู้ความเข้าใจเรื่องการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน สถานะการเงินส่วนบุคคล รวมไปถึงเป้าหมายในชีวิตของแต่ละช่วงวัย โดยวัยทำงานส่วนใหญ่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ปานกลางค่อนข้างสูง เนื่องจากอายุยังไม่มาก ยังทำงานได้อีกนานจึงทำให้สามารถลงทุนระยะยาวได้ ดังนั้น ในการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง จึงเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างมากได้ แต่การจัดพอร์ตลงทุนของวัยทำงานก็ยังมีอุปสรรค นั่นคือ “ไม่มีเวลา” และ “ไม่มีเงินมากพอ” อุปสรรคที่วัยทำงานต้องยอมรับเป็นอย่างแรกก็คือ เราไม่มีเวลา ที่จะศึกษาข้อมูลสินทรัพย์การลงทุนได้ทุกตัว ได้ทุกประเภท สมมติว่าเราต้องการจัดพอร์ตลงทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และทองคำ โดยเน้นสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยให้มากหน่อย วัยทำงานอย่างเราก็คงไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลหุ้นคราวละหลายๆ ตัวได้ จนในหลายครั้งอาจพบว่า […]
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) สำหรับแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ยังคงชี้ว่า เฟด จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี 2023 เป็นอย่างน้อย แต่ความเห็นของคณะกรรมการมีท่าทีที่ Hawkish มากขึ้น โดยคณะกรรมการ 7 ท่านจากทั้งหมด 18 ท่านที่มองว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือน ธ.ค. ที่มีคณะกรรมการ 5 จากทั้งหมด 17 ท่าน (นาย […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 17 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,566.76 จุด เพิ่มขึ้น 2.73 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 17 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,566.76 จุด เพิ่มขึ้น 2.73 จุด หรือ 0.17% โดยระหว่างวันดัชนีสูงสุดที่ 1,571.53 จุด ต่ำสุดที่ 1,559.22 จุด มูลค่าการซื้อขาย 92,178.77 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.OR <XD> ปิดที่ 33.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.25 บาท (+10.92%) มูลค่าการซื้อขาย 12,053.78 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 40.50 บาท ลดลง 0.25 บาท (-0.61%) มูลค่าการซื้อขาย 3,802.83 ลบ. 3.HANA ปิดที่ 56.75 […]
หัวเว่ยจะเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี 5G ของบริษัท
รายงานข่าวจากซินหัว ระบุว่า หัวเว่ย บริษัทยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีของจีน ประกาศว่าจะเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี 5G ที่จดสิทธิบัตรแล้ว หัวเว่ย เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ที่สำนักงานใหญ่ในเซินเจิ้น โดยระบุว่า บริษัทได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่ที่สุดของโลก จากการลงทุนด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายในสิ้นปี 2020 หัวเว่ยถือครองสิทธิบัตรที่ใช้งานอยู่มากกว่า 100,000 รายการ ครอบคลุมสิทธิบัตรมากกว่า 40,000 ตระกูลทั่วโลก Jason Ding หัวหน้าฝ่ายสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย กล่าวว่า สำหรับสมาร์ทโฟน 5G แบบหลากหลายโหมดทุกรุ่น บริษัทจะให้อัตราค่าสิทธิตามเปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมของราคาขายโทรศัพท์มือถือและค่าลิขสิทธิ์สูงสุดต่อหน่วยที่ 2.5 ดอลลาร์สหรัฐ “เราต้องการแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของนวัตกรรมที่เรามีตลอด 30 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งความมุ่งมั่นระยะยาวของเราในการเคารพ ปกป้อง และการมีส่วนร่วมในนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา โดยในสมุดปกขาวนี้ เราต้องการที่จะให้ทุกคนเข้าใจดีขึ้นว่าหัวเว่ยมาจนถึงทุกวันนี้ได้อย่างไร” Song Liuping ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย หัวเว่ย กล่าว เมื่อปี 2008 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก บันทึกรายชื่อหัวเว่ยเป็นอันดับ 1 […]