B-GLOB-INFRA BF Knowledge Center
BF Knowledge Tips: ลงทุนกิจการโครงสร้างพื้นฐานแบบไหนในช่วงเงินเฟ้อ
โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นที่กระทบต่อการลงทุนมาตั้งแต่ต้นปี 2565 เป็นสัญญาณเตือนให้นักลงทุนทราบว่า จากนี้ไปการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ อาจมีความยากขึ้น ผลตอบแทนของการลงทุนก็ไม่น่าจะให้ตอบแทนที่ดีได้ง่ายๆ เหมือนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสภาพคล่องสูงทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงและมีส่วนช่วยผลักดันราคาหุ้นในอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น และสภาพคล่องจะค่อยๆ ลดลง และผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้ก็มีแรงจูงใจให้มีการลงทุนมากขึ้นกว่าในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา การลงทุนจากนี้ไป การปรับและบาลานซ์พอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงลง การปรับพอร์ตที่ดีไม่ใช่การขายหรือลดหุ้น เพราะอย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นยังเป็นช่องทางสำคัญสำหรับที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสู้กับเงินเฟ้อได้ในระยะยาว เพียงแต่หุ้นในพอร์ตจากเดิมที่เต็มไปด้วยหุ้นเติบโตที่ให้ผลตอบแทนสูง ก็อาจจะต้องบาลานซ์โดยการเติมหุ้น defensive หรือมีความผันผวนต่ำ แต่สามารถให้ตอบแทนโดยรวมสู้กับเงินเฟ้อ อย่างกิจการที่มีรายได้จากโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้ กองทุนบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ หรือ B-GLOB-INFRA เป็นกองทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเน้นการลงทุนในกิจการที่มีรายได้สม่ำเสมอจากโครงสร้างพื้นฐาน เป็นสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา สนามบิน โทรคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภคต่างๆ รวมไปถึงพลังงานสะอาด ถนนทางด่วน ทางรถไฟ ปัจจุบันกิจการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั่วโลกอยู่ในช่วงเติบโตและกำลังมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ประเทศใหญ่จำนวนมากมีการลงทุนเพื่อปรับปรุงซ่อมแซม ขยายขนาดของโครงสร้างพื้นฐาน […]
BF Knowledge Tips: ลดหย่อนภาษีปีนี้ เลือกลงทุนยังไงดี?
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ใกล้เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว วัยทำงานที่ต้องเสียภาษีแล้วอย่างเรา น่าจะกำลังมองหาการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีกันอยู่ โดยการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีมีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ประกันแบบบำนาญ รวมถึงการลงทุนภาคสมัครใจ (กึ่งบังคับนิดๆ) ที่ทางบริษัทจัดหาให้อย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD : Provident Fund) หรือที่ทางหน่วยงานรัฐจัดหาให้กับเจ้าหน้าที่ อย่าง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ฯลฯ การลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนต่างๆ นี้ ช่วยให้เราสามารถนำค่าเบี้ยประกันที่ได้ชำระไปในทุกๆ ปี หรือเงินส่วนของตัวเองที่ได้สะสมเข้าไปลงทุน มายื่นเป็นรายการลดหย่อนเพื่อแบ่งเบาภาระภาษีของเราในแต่ละปีได้ แต่โดยทั่วไปแล้วก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลงตามที่ต้องการ การลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF และ RMF จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยคำถามที่หลายคนน่าจะอยากรู้คือ เราควรเลือกลงทุนอะไรดี? ระหว่างกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF : Super Saving Fund) […]
BF Knowledge Tips: กระจายลงทุน ต้องทำแบบไหนถึงจะใช่
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® “อย่าใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียว” คำนี้เราได้ยินกันบ๊อยบ่อย นั่นหมายถึง เรามีไข่หลายใบ ก็ควรวางไข่ในหลายตะกร้า เผื่อตะกร้าตกลงมา ไข่ในตะกร้าแตกหมดจะได้แตกหมดแค่ตะกร้าเดียว ยังเหลือไข่ในตะกร้าใบอื่นๆ ให้เราได้เอาไปกินบ้าง เช่นเดียวกับการลงทุน หากเรามีการกระจายการลงทุนอย่างหลากหลาย แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ไม่ดีมากระทบการลงทุนของเราก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย แต่อาจจะได้รับผลกระทบไม่เท่ากันในแต่ละกองทุน บางกองทุนติดลบ แต่ก็อาจจะมีบางกองทุนบวกสวนทางก็เป็นไปได้ แล้วเรากระจายการลงทุนกันแบบไหนดีล่ะ โดยทั่วไป นักลงทุนมักเลือกกระจายการลงทุนหลายสินทรัพย์ เพราะการลงทุนมีหลากหลาย เราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ อย่างเช่น พันธบัตร หุ้นกู้ ที่แม้ว่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนน้อยหน่อย แต่ก็มีความมั่นคงค่อนข้างสูง หรือการลงทุนในหุ้น การลงทุนในทองคำ การลงทุนโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราสามารถเลือกลงทุนได้เองโดยตรง หรือจะเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีหลากหลายนโยบายให้เลือกลงทุนก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ยังมีการกระจายการลงทุนตามภูมิภาค กระจายการลงทุนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น การเลือกลงทุนในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ทางฝั่งเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม รวมถึงประเทศไทย วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นักลงทุนหลายคนเลือก เพราะเป็นการกระจายการลงทุนไปในภูมิภาคต่างๆ […]
B-INNOTECH B-INNOTECHRMF B-INNOTECHSSF BBLAM Weekly Investment Insights
BBLAM Weekly Investment Insights 19-23 กันยายน 2022
2022 – Opportunities are never lost INVESTMENT STRATEGY นักลงทุนต้องกลับไปสำรวจพอร์ตของตัวเองว่า หุ้นเทคฯที่มีอยู่ในพอร์ตเป็นหุ้นเทคประเภทไหน มีแต่เทคฯ ที่โตมากๆ แต่ไม่มีกำไร และลองดูว่าที่ผ่านมา ช่วงที่ Nasdaq ปรับฐาน นักลงทุนมีโอกาสเข้าสะสมหุ้นเทคฯเพิ่มแล้วหรือยัง ถ้ายังควรจะใช้จังหวะที่หุ้นเทคฯ ปรับฐาน ทยอยเข้าสะสมภายในปีนี้ โดยเฉพาะกองทุนลดหย่อนภาษีที่เป็นการลงทุนระยะยาวอย่าง SSF และ RMF ก็เป็นจังหวะที่ดีมากที่จะเข้าลงทุน เพราะถ้าช่วงเวลาผ่านไปจนถึงวันที่ตลาดไม่กังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย หรือเงินเฟ้อ หุ้นเทคฯ ก็จะปรับตัวกลับขึ้นไปมา ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา BBLAM เริ่มทยอยส่งสัญญาณต่อเนื่องถึงการที่เฟดจะเริ่มทำจริงจังเรื่องของ QT เพื่อดึงเงินออกจากระบบ และจะส่งผลต่อดอกเบี้ยที่จะมีการปรับเพิ่มขึ้นตามมา แต่พอเกิดเหตุความไม่สงบขึ้นในยุโรปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากอันนำมาสู่ปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง และ Fed ก็เริ่มเพิ่มดอกเบี้ยอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่ง BBLAM ในช่วงต้นปีก็ส่งสัญญาณปรับพอร์ตสู้เงินเฟ้อ โดยส่งกองทุน B-GLOB-INFRA เข้ามาเป็นตัวเลือกเพิ่มในพอร์ตลงทุน และผลจากดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นทำให้ Growth stocks […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 16 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,630.40 จุด ลดลง 11.93 จุด (-0.73%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 16 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,630.40 จุด ลดลง 11.93 จุด (-0.73%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,629.31 จุด และสูงสุดที่ 1,642.73 จุด มูลค่าการซื้อขาย 95,907.27 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 166.50 บาท ลดลง 0.50 (-0.30%) มูลค่าการซื้อขาย 3,779.32 ลบ. PTT ปิดที่ 36.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,542.51 ลบ. SCC ปิดที่ 341.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,498.21 ลบ. BH ปิดที่ 219.00 บาท ลดลง […]
IMF ชี้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง Q3/65 คาดบางประเทศเข้าสู่ “ภาวะถดถอย” ในปี 2566
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ว่า เจอร์รี ไรซ์ โฆษกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ยังมีความเสี่ยงด้านลบครอบงำแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และบางประเทศคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 แต่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่า จะเกิดภาวะถดถอยทั่วโลกในวงกว้างหรือไม่ โดยมีข้อมูลจำนวนมากที่สะท้อนว่า เศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และสภาวะตลาดการเงินที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือนกรกฎาคมปรับลดการเติบโตทั่วโลกเป็น 3.2% ในปี 2565 และ 2.9% ในปี 2566 โดยจะเปิดเผยแนวโน้มใหม่ในเดือนหน้า “ชัดเจนว่าสิ่งที่เรามองว่าเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์และหลายเดือนที่ผ่านมาเท่านั้น การล็อกดาวน์จากโควิด-19 อย่างต่อเนื่องและปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์กำลังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีน ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นมีผลกระทบต่อหลายประเทศ ความเสี่ยงด้านลบยังคงครอบงำแนวโน้มด้วยความไม่แน่นอนจำนวนมหาศาลที่ต้องนำมาพิจารณา คาดว่าบางประเทศจะเผชิญกับภาวะถดถอยในปี 2566″ ทั้งนี้ แม้ว่าบางประเทศจะไม่อยู่ในภาวะถดถอยในทางเทคนิค แต่ก็รู้สึกเหมือนเป็นภาวะถดถอยสำหรับผู้คนจำนวนมากทั่วโลก โดยไรซ์ตั้งข้อสังเกตว่า ในแอฟริกาเพียงประเทศเดียว ความหิวโหยเพิ่มสูงขึ้นถึง 1 ใน 3 ในช่วง 2 […]
Fund Comment สิงหาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมกนง. ยังยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และปรับเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ทำให้ความกังวลที่ทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกับของสหรัฐฯ ผ่อนคลายลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-7 ปีปรับตัวลดลง 13-25 bps จากเดือนก่อน ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนส.ค. กลับมาเป็นยอดซื้อสุทธิอีกครั้งที่ 1.13 พันล้านบาท แบ่งเป็น การซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น 12.19 พันล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 8.72 พันล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 19.78 พันล้านบาท สำหรับรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนส.ค.อยู่ที่ 8.3% ลดลงจากเดือนก่อนที่ 8.5% แต่ยังคงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% โดยราคาสินค้าหมวดบริการยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ราคาสินค้าพลังงานเริ่มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 7.86% เพิ่มขึ้นจาก 7.61% ในเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 15 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,642.33 จุด ลดลง 14.25 จุด (-0.86%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 15 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,642.33 จุด ลดลง 14.25 จุด (-0.86%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,642.07 จุด และสูงสุดที่ 1,661.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 72,795.39 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ DELTA ปิดที่ 584.00 บาท ลดลง 38.00 (-6.11%) มูลค่าการซื้อขาย 3,863.51 ลบ. MINT ปิดที่ 28.25 บาท ลดลง 1.50 (-5.04%) มูลค่าการซื้อขาย 2,810.14 ลบ. PTTEP ปิดที่ 167.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 (+1.52%) มูลค่าการซื้อขาย 2,543.68 […]
WHO เผยชาวยุโรปไม่ต่ำกว่า 17 ล้านคนเจอภาวะ ‘ลองโควิด’
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยผลการศึกษาใหม่เมื่อวันอังคาร (13 ก.ย.) ระบุว่า มีชาวยุโรปไม่ต่ำกว่า 17 ล้านคนที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังคงเผชิญกับอาการไม่พึงประสงค์ที่หลงเหลืออยู่ หรือที่เรียกกันว่า “ลองโควิด” (Long Covid) ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีแรกที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ระบาด คือ 2020-2021 ผู้ป่วยในยุโรปราว 10-20% พบว่า ตัวเองมีอาการผิดปกติหลงเหลืออย่างน้อย 3 เดือนหลังจากที่หายป่วย เช่น อ่อนเพลียง่าย สมองล้า หรือหายใจลำบาก เป็นต้น ผลการศึกษายังพบว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็น “ลองโควิด” มากกว่าผู้ชายประมาณ 1 เท่าตัว และในกลุ่มผู้หญิงที่ป่วยโควิดรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล พบว่า 1 ใน 3 คนเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ที่มา: ซีเอ็นบีซี
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาส 2 ออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุด นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ […]