Fund Comment มีนาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มีนาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนมากในระหว่างเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ด้วยแรงขายหนักในธุรกิจภาคการเงินทั่วโลก โดยมีจุดเริ่มต้นจากการล่มสลายของธนาคารในสหรัฐฯ 3 แห่งภายในเวลาไม่กี่วัน หนึ่งในนั้น คือ ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์มากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต้นเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องทำให้ตราสารหนี้ที่ธนาคารไปลงทุนมีการขาดทุนทางบัญชีขึ้น และทำให้ผู้ฝากเงินขาดความเชื่อมั่นจนเกิดการแห่ถอนเงิน ตามมาด้วยความกังวลต่อเสถียรภาพของธนาคารเครดิตสวิส แต่หลังจากที่ทางการสหรัฐฯ ได้เข้ามาสร้างความเชื่อมั่นด้วยการรับประกันเงินฝากของธนาคารที่มีปัญหา และธนาคาร UBS ได้เข้าควบรวมกิจการของเครดิตสวิส ทำให้ความกังวลของนักลงทุนจากประเด็นเหล่านี้บรรเทาลงไป และราคาหุ้นสามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้ หลังจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยที่มีต่อสถาบันการเงิน ทั้งในด้านความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่นต่อสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดมากขึ้นต่อการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะกดดันภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและการบริการของเดือนมีนาคมที่ออกมาต่ำกว่าคาด ล้วนทำให้ความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีมากขึ้น ส่งผลต่อมุมมองของตลาดว่า การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดน่าจะใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว นอกจากนี้ หลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของจีนนั้นก็ไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็วอย่างที่นักลงทุนคาดหวัง ดังนั้น ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจโลกจึงเป็นปัจจัยหลักที่ต้องจับตามากขึ้น ในเดือนมีนาคม SET Index ปรับตัวลดลง 0.81% โดยลงไปต่ำสุดมากกว่า -6% […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,593.13 จุด เพิ่มขึ้น 16.06 จุด (+1.02%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,593.13 จุด เพิ่มขึ้น 16.06 จุด (+1.02%)

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,593.13 จุด เพิ่มขึ้น 16.06 จุด (+1.02%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,571.14 จุด และสูงสุดที่ 1,596.54 จุด มูลค่าการซื้อขาย 36,411.84 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ CPALL ปิดที่ 61.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 (+1.23%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,750.66 ล้านบาท KBANK ปิดที่ 132.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+1.54%) มูลค่าการซื้อขาย 1,599.92 ล้านบาท BDMS ปิดที่ 30.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 (+1.67%) […]

‘คาซูโอะ อุเอดะ’ เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติญี่ปุ่นคนใหม่ นักลงทุนจับตาประชุมรอบแรก 27-28 เม.ย.66

‘คาซูโอะ อุเอดะ’ เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติญี่ปุ่นคนใหม่ นักลงทุนจับตาประชุมรอบแรก 27-28 เม.ย.66

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า คาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ของญี่ปุ่น เข้ารับตำแหน่งต่อจากฮารุฮิโกะ คุโรดะ ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระที่ 2 สิ้นสุดในวันเสาร์ที่ผ่านมา อาจต้องเผชิญกับเส้นทางที่ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากการเติบโตที่ชะลอตัวทั่วโลก ทำให้มีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อและค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการยุติมาตรการกระตุ้นทางการเงินที่เป็นที่ถกเถียงกัน ตลาดจับตาดูว่า คาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ของญี่ปุ่น จะยกเลิกนโยบายควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ไม่เป็นที่นิยมได้อย่างไร ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่า บิดเบือนตลาดและกระทบต่ออัตรากำไรของธนาคาร ในการพิจารณายืนยันของรัฐสภาในเดือนกุมภาพันธ์ อุเอดะ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้นโยบายที่ง่ายเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าญี่ปุ่นจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นอย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของค่าจ้าง แต่ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่เกินเป้าหมาย นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่า BOJ จะปรับหรือยุติการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งเป็นนโยบายที่รวมเป้าหมาย 0.1% สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น และสูงสุด 0% สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ภายในไตรมาสนี้ ฮิโรชิ นากาโสะ อดีตรองผู้ว่าการ BOJ กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์นิกเคอิว่า […]

BBLAM Weekly Investment Insights 10-14 เมษายน 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 10-14 เมษายน 2023

2023 – The Rise of Asia INVESTMENT STRATEGY By BBLAM “พอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 BBLAM ยังมองโอกาสอยู่ที่เอเชีย และจีน นอกจากนี้ การจัดพอร์ตที่มีหุ้นของธุรกิจ Premium brands และตราสารหนี้ ก็เป็นโอกาสลงทุนที่น่าสนใจ” สัปดาห์นี้ คุณมทินา วัชรวราทร CFA, Head of Investment Strategy, BBLAM พูดถึง B-SELECT ซึ่งเป็นมุมมองของโอกาสลงทุนในไตรมาส 2 ของปีนี้  B-SELECT เป็นการแนะนำกองทุนที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีใน 6-12 เดือนข้างหน้า กองทุนที่แนะนำให้เข้าซื้ออาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละไตรมาส โดยหลักการพิจารณากองทุนที่แนะนำจะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานด้านแมคโคร ด้านพื้นฐานของบริษัท พื้นฐานของกองทุน และราคาเป็นหลัก โดยในไตรมาส 2 นี้ BBLAM ยังมองโอกาสอยู่ที่เอเชีย และจีน นอกจากนี้ […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,577.07 จุด เพิ่มขึ้น 5.94 จุด (+0.38%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,577.07 จุด เพิ่มขึ้น 5.94 จุด (+0.38%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,577.07 จุด เพิ่มขึ้น 5.94 จุด (+0.38%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,571.26 จุด และสูงสุดที่ 1,582.96 จุด มูลค่าการซื้อขาย 34,001.19 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ BANPU ปิดที่ 10.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 (+0.93%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,167.00 ล้านบาท DELTA ปิดที่ 914.00 บาท เพิ่มขึ้น 32.00 (+3.63%) มูลค่าการซื้อขาย 932.08 ล้านบาท SCB ปิดที่ 103.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 (+0.49%) […]

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank – ADB) มองกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเชียจะเติบโตเร็วขึ้นในปีนี้ พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ประเทศในภูมิภาคมาอยู่ที่ 4.8% อันเป็นผลมาจากการที่จีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง จากรายงานการคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจฉบับล่าสุดของธนาคารพัฒนาเอเชีย เผยให้เห็นว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย นำโดยประเทศจีน มีแนวโน้มที่จะเติบโตเร็วขึ้นในปี 2566 แม้ว่าบรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังคงซบเซาอยู่ก็ตาม ส่วนหนึ่งได้แรงสนับสนุนจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มอ่อนตัวลง โดยธนาคารฯ คาดการณ์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ชาติจะอยู่ที่ 4.8% ในปีนี้และปีหน้า ขยับตัวจาก 4.2% เมื่อปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคในปี 2566 จะอยู่ที่ 4.2% ปรับตัวลงเล็กน้อยจาก 4.4% ในปี 2565 ธนาคารพัฒนาเอเชีย มองว่า การที่จีนกลับมาเปิดประเทศ จะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายชาติในเอเชีย โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ จีนยังสามารถจัดการปัญหาเงินเฟ้อได้ดี แม้จะขาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งความต้องการและอุปทานในจีนก็มีความสมดุล ทำให้ธนาคารฯ เชื่อว่า การเปิดประเทศของจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อ […]

BF Knowledge Tips: ปรับพอร์ตฝ่าวิกฤตการลงทุน

BF Knowledge Tips: ปรับพอร์ตฝ่าวิกฤตการลงทุน

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะผันผวน   และส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของเรา ทำให้เราต้องปรับพอร์ตการลงทุนไปตามสภาวะตลาดกันอยู่บ่อยๆ โดยในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา เราได้ผ่านทั้ง “วิกฤตโรคระบาด (Covid-19)” จนทำให้ทุกประเทศต้องปิดเมือง (Lock Down) และส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลก ต้องหยุดชะงักไปตามๆ กัน ซึ่งก็ได้สะท้อนออกมาผ่านตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวลดลงไปเฉลี่ยกว่า 22% (ที่มา : MSCI All Country World Index) แต่หลังจากที่เราเริ่มปรับตัว ปรับใจ และปรับพอร์ตการลงทุนไปบ้างแล้ว  วิกฤตต่อไปก็ตามมา นั่นก็คือ  “วิกฤตเงินเฟ้อ”  ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการรับมือกับวิกฤตโรคระบาด (Covid-19) ของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ประกอบกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีความพยายามที่จะหยุดปัญหาเงินเฟ้อ ด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ  กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย และส่งผลกระทบไปยังทุกประเทศทั่วโลก ทำให้นักลงทุนอย่างเราต้องปรับตัว ปรับใจ และปรับพอร์ตการลงทุนอีกครั้ง คำถามคือ  “เราควรจะต้องปรับพอร์ตยังไง? เพื่อให้ฝ่าฟันไปได้ในทุกวิกฤต”  […]

BF Knowledge Tips: เคล็ดลับบอกรักเงินในกระเป๋า ด้วยกองทุนรวม

BF Knowledge Tips: เคล็ดลับบอกรักเงินในกระเป๋า ด้วยกองทุนรวม

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM ใกล้สิ้นเดือน เหมือนจะสิ้นใจ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ แล้วทำยังไงถึงจะหลุดพ้นจากวังวนแบบนี้เสียที บอกได้เลยว่า ต้องปฏิวัติตัวเองอย่างจริงจัง เพราะไม่ใช่จะทำตัวเหมือนเดิมๆ แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ดังนั้น ใจเราต้องเข้มแข็ง ยอมลำบากในช่วงแรกๆ เพื่อจะได้สุขสบายในภายหลัง เคล็ดลับบอกรักเงินในกระเป๋าด้วยกองทุนรวม นั่นเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเราได้ ซึ่งตอนนี้เป็นช่วงสิ้นเดือนพอดี ดังนั้น ต้องตั้งสติกันให้ดีๆ แนะนำให้หยิบกระดาษ กับปากกา หรือจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยการเขียนจำนวนเงินที่เข้าบัญชีในวันที่เงินเดือนออก ว่า เรามีเงินเท่าไหร่ (เพราะตัวเราเองยังไม่รู้เลยว่าเรา มีเงินเข้าบัญชีทุกเดือนๆ เท่าไหร่) สำหรับใครที่ไม่เคยลงทุนโดยการหักเงินในบัญชี ก็แสดงว่า เงินที่เข้ามาทุกเดือนนั้น ยังไม่มีการออม การลงทุนใดๆ ดังนั้น แนะนำให้แบ่งเงินเป็น 4 ส่วนแบบนี้ ส่วนแรก สำหรับจ่ายหนี้ประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็น หนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หนี้ที่เผลอไปกู้ยืมใครมา ลองเขียนดูว่า มีเท่าไหร่ ส่วนที่ 2 […]

Fund Comment มีนาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มีนาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้น 1-5 bps. จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลง 10-27 bps. ตามการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ   คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย เดือนมีนาคม มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps จาก 1.50% เป็น 1.75% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสููงในรอบหลายปี โดยมองเศรษฐกิจโดยภาพรวมขยายตัวจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวของการส่งออก นอกจากนี้ เดือนมีนาคมมีประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 bps สู่ระดับ 3.0% ตามการคาดการณ์ของตลาด ท่ามกลางเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงยาวนาน แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยต่อจากนี้ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นเสถียรภาพในภาคสถาบันการเงิน เช่น ประเด็น SVB และ Credit Suisse ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,571.13 จุด ลดลง 22.92 จุด (-1.44%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,571.13 จุด ลดลง 22.92 จุด (-1.44%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 เม.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,571.13 จุด ลดลง 22.92 จุด (-1.44%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,569.37 จุด และสูงสุดที่ 1,594.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 48,873.95 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ KBANK ปิดที่ 129.50 บาท ลดลง 2.00 (-1.52%)  มูลค่าการซื้อขาย 3,088.32 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 61.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,222.51 ล้านบาท PTTEP ปิดที่ 159.50 บาท ลดลง 1.00 (-0.62%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,939.22 ล้านบาท […]