BF Monthly Economic Review – ม.ค. 2564
BF Economic Research ประเด็นหลักๆ ที่ต้องติดตาม การเลือกตั้งสหรัฐฯ นโยบายการเงิน ประมาณการเศรษฐกิจทั่วโลก ก่อนจะกล่าวถึง 3 ประเด็นนี้ มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับผลตอบแทนของตลาดให้นักลงทุนพิจารณา จากข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 2021 เมื่อดูผลตอบแทนในรอบ 1 ปี จากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน น้ำมัน และทองคำ จะพบว่า ลงทุนอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่เงินสด ให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก การลงทุนในหุ้นยังให้ผลตอบแทนที่ดี โดยหากลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามเมื่อ 12 เดือนก่อน ก็จะให้ผลตอบแทนเท่าตัว ส่วนตลาดหุ้นอื่นก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดี ทั้งในตลาดเซี่ยงไฮ้ ตลาดเอสแอนด์พี 500 ที่ให้ผลตอบแทนในอัตราเลข 2 หลัก หากแช่เงินสดไว้จะไม่ได้อะไร แต่หากลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งนอกเหนือจากการลงทุนในหุ้น การลงทุนในประเทศต่างๆ แล้ว การลงทุนในทองคำ […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ไทย
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020-2021 GDP ไทยในไตรมาส 3/2020 หดตัว -6.4% ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัว -12.1% ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว -8.8% YoY ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนปีนี้ GDP ไทยหดตัวที่-6.7% YTD ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนหนุนให้เศรษฐกิจไตรมาส 3/2020 หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อนหน้า มาจากการส่งออกสินค้าและบริการ การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลและการลงทุนของภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้ ภายใต้แนวโน้มสถานการณ์ต่างๆ ทั้งจากปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ หากไม่มีปัจจัยใดที่เข้ามากระทบรุนแรงก็คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 จะดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 เนื่องจากจะเห็นได้จากดัชนีที่เป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนมีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีมาตรการคลายล็อคดาวน์ในช่วงโควิด ในขณะที่ตลาดส่งออกจะติดลบน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2020 นี้จะหดตัวที่ -6.4% และเรามองว่าในปี 2021 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 3.8% โดยจะเป็นอัตราการขยายตัวที่ยังไม่กลับไปในระดับของ […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : อินเดีย
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020-2021 เศรษฐกิจอินเดียหดตัวรุนแรงในไตรมาส 2/2020 ถึง -23.9% YoY มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี 1996 โดยเป็นผลจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทำให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์ในช่วงระหว่างปลายเดือนมี.ค.-พ.ค. ซึ่งการล็อคดาวน์ของอินเดียนั้นนับว่ามีความเข้มงวดสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักในเกือบทุกภาคส่วน ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายองค์ประกอบของ GDP พบว่าการลงทุนได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยหดตัวสูงถึง -47.1%YoY แม้การใช้จ่ายของภาครัฐจะขยายตัวได้ 16.4% YoY แต่ก็ยังไม่สามารถพยุงเศรษฐกิจจากวิกฤติ COVID-19 ได้ ทั้งนี้ แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวหลังจากผ่อนคลายล็อคดาวน์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 และทำให้ GDP ในไตรมาส 3/2020 หดตัวน้อยลงมาอยู่ที่ -7.5% YoY แต่ก็ยังถือว่าชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากอินเดียมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด และแตะระดับสูงสูดที่ประมาณวันละ 1 แสนรายในช่วงเดือนก.ย. ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่องจนอยู่ที่ราว 2-3 หมื่นคนต่อวัน สอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือน อาทิ […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : จีน
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 ประเทศจีน เป็นประเทศที่ประสบกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก่อนชาติอื่นๆ ในโลก และได้ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคอย่างเข้มงวดตั้งแต่เดือนม.ค. 2020 โดยเริ่มจากปิดเมือง Wuhan ในมณฑล Hubei ก่อนจะใช้โมเดลล็อคดาวน์นี้กับเมืองอื่นๆที่ประสบกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งเมื่อจีนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว จึงเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆทยอยกลับมาเดินเครื่อง เราจึงเห็นเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน มิ.ย. เป็นต้นมา นักลงทุนจึงให้สมญานามกับจีนในช่วง COVID-19 ว่า FIFO (First-in, First-out) กล่าวคือจีนเป็นก่อนและหายก่อนนั่นเอง การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนได้สะท้อนไปยัง GDP จีนในช่วงไตรมาส 2/2020 -3/2020 โดยที่จีนสามารถขยายตัวได้ 3.2% YoY ในไตรมาส 2/2020 และบวกต่อเนื่องที่ 4.9% YoY ในไตรมาส 3/2020 เป็นผลให้ทั้งสามไตรมาสขยายตัว 0.7% YoY YTD […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ญี่ปุ่น
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา และทิ ศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 เป็นระลอกที่ 3 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่าในระลอกแรกและระลอกที่ 2 ซึ่งสาเหตุนอกเหนือจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้ว การเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้สถานที่ต่าง ๆ ต้องปิดประตูหน้าต่าง การระบายอากาศจึงลดลง และมีส่วนสำคัญให้เกิดการกระจายของเชื้อโรค อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ที่เผชิญการระบาดเช่นเดียวกันจะพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันในญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนไม่มาก และยอดผู้เสียชีวิตมีอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับระลอกแรก เศรษฐกิจไตรมาส 3/2020 ขยายตัว 22.9% QoQ saar จากที่หดตัว -29.2% ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวดี ประกอบกับการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP และยอดส่งออกที่เติบโต 7.0% QoQ อย่างไรก็ดี ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ อันเนื่องมาจากมุมมองของภาคธุรกิจที่ยังมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 สำหรับในปี 2021 เรามองว่า […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ยุโรป
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 จากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่นำมาซึ่งมาตรการล็อคดาวน์และการปิดพรมแดนระหว่างประเทศในยุโรปช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 2/2020 หดตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่มีการรวมกลุ่มยูโรโซนในปี 1999 ที่ -11.8% QoQ โดยเป็นการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนเป็นหลัก แต่หลังจากนั้นในไตรมาส 3/2020 ที่แต่ละประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ธุรกิจต่างๆ กลับมาเปิดดำเนินงาน และมีการเดินทางระหว่างประเทศในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) การค้าปลีก และการผลิต ต่างฟื้นตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ตัวเลข GDP ของไตรมาส 3/2020 พลิกกลับมาขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาดถึง 12.5% QoQ นับเป็นการขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนจะพบว่าเศรษฐกิจยังหดตัวอยู่ -4.3% YoY ในรายประเทศ GDP ไตรมาส 3/2020 ของประเทศเศรษฐกิจหลักต่างพลิกกลับมาขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส จากความต้องการสินค้าในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการบริโภคและการลงทุน […]
Economic Review Uncategorized US
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : สหรัฐอเมริกา
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 ภายหลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯถูกกระทบจาก COVID-19 เป็นผลให้ GDP ไตรมาส 2/2020 หดตัวหนักที่ -31.4% QoQ saar , สหรัฐฯ ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ในไตรมาสถัดมา (Third Estimate) ในอัตรา 33.4% QoQ saar เป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายล็อคดาวน์ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวได้ดี (และเป็นองค์ประกอบหลักที่ผลักดัน GDP) หนุนโดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่ให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชนเพื่อจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่สหรัฐฯประกาศล็อคดาวน์ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวได้ดีในทุกองค์ประกอบทั้งจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำสุด ส่งผลให้ยอดขายบ้านเติบโตได้ดี อีกทั้งรัฐบาลร่วมกับธนาคารกลางสหรัฐฯได้ออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจในช่วงล็อคดาวน์เช่นโครงการ Paycheck Protection Program และ Main Street Lending Program ก็มีส่วนช่วยหนุนการลงทุนของภาคธุรกิจด้วย ในรายองค์ประกอบ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 41.0% (vs. -33.2% ไตรมาสก่อน) จาก การฟื้นตัวของการใช้จ่ายซื้อสินค้าทั่วไป […]
Economic Review News Update Press Release
กองทุนบัวหลวงประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังมีหวังฟื้นตัว 3.8% โควิด-19 ระลอกใหม่เป็นความเสี่ยงหลัก
สรุปประเด็น กองทุนบัวหลวง ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวได้ 3.8% แม้จะยังไม่กลับมาเท่าระดับก่อนช่วงโควิด-19 ระบาด แต่ถือว่าดีขึ้นมากจากทั้งปี 2563 ที่คาดว่าจะหดตัว -6.4% โดยประเด็นความเสี่ยงหลักมาจากโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอีกครั้งส่งผลต่อภาคบริการ การจ้างงาน และการบริโภคในประเทศ ขณะที่การเมืองในประเทศเป็นอีกปัจจัยที่ต้องจับตา เพราะจะมีผลต่อเสถียรภาพของประเทศ กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021
BF Economic Research Core Macro Theme เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัวภายหลัง COVID-19 แต่เป็นการฟื้นตัวในอัตราที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ (สะท้อนจาก GDP ในไตรมาส 3/2020 ดังรูป) จากความแตกต่างด้านโครงสร้างของเศรษฐกิจ, การปรับตัวของธุรกิจ, และนโยบายจากทางการ/ธนาคารกลาง ของแต่ละประเทศ สหรัฐฯขยายตัวก้าวกระโดดที่ 33.4% QoQ saar (จากไตรมาสก่อนที่ -31.4%) หนุนโดยมาตรการกระตุ้นทางการคลังระยะที่ 3 เป็นหลัก ผ่านโครงการการจ่ายเงินให้เปล่ากับประชาชนเป็นรายสัปดาห์ จึงส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนดีดตัวขึ้นสูงในช่วงนั้น ขณะที่ GDP จีนในไตรมาส 3/2020 ขยายตัว 4.9% YoY ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน (3.2%YoY) หนุนโดยภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนเป็นหลัก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับเศรษฐกิจในเอเชียอื่นๆ (ยกเว้นเวียดนาม)ใน ไตรมาส 3/2020 โดยส่วนใหญ่ยังคงหดตัว เนื่องด้วยประเทศในเอเชียพึ่งพิงการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงฟื้นตัวได้ช้ากว่าสหรัฐฯและจีน และอาจจะใช้เวลาไปถึงปี 2021กว่าจะเริ่มฟื้นตัว […]
Economic Review Economic Update
BF Monthly Economic Review – ส่งท้ายปี 2563
BF Economic Research ในเดือน ธ.ค. นี้ กองทุนบัวหลวงขอนำเสนอมุมมองเศรษฐกิจมหภาคสำหรับการลงทุนในปี 2564 ทั้งนี้มุมมองเศรษฐกิจสำหรับการลงทุนอาจไม่เหมือนกับภาพเศรษฐกิจในความเป็นจริง จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สำหรับธีมการลงทุนที่ในตลาดคาดหวังกัน ได้แก่ 1.ภาพเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่การฟื้นตัว (Global economic recovery) 2.นโยบายการเงินและการคลังยังเป็นตัวหลักหล่อลื่นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไป ส่งต่อไปจนถึงปี 2564 สำหรับภาพเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่การฟื้นตัวเป็นธีมที่นักลงทุนคาดหวังกัน โดยในปี 2564 ตลาดมองเศรษฐกิจปรับตัวฟื้นคืนมาสู่ระดับก่อนที่จะเกิด COVID-19 หรือปี 2562 นั่นเอง ประเทศที่จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย คือ โควิด-19 หายไปแล้วฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง จะเป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สามารถหาสมดุลได้ทั้งฝั่งภาคบริการและภาคการผลิต คือไม่พึ่งพิงภาคการท่องเที่ยวมากเกินไป มีสัดส่วนการผลิตและภาคบริการค่อนข้างสมดุลกัน ได้แก่ ประเทศจีน และเวียดนาม ทั้ง 2 ประเทศนี้ แม้กระทั่งไตรมาส 2 ของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประเทศต่างๆ ปรับตัวลดลงแรงๆ เพราะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 […]