คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ขอ Fed มีมติเป็นเอกฉันท์ (10:0)ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.25-2.50%
BF Economic Research การเคลื่อนไหวของค่าเงิน ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ที่ระดับ 1371 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1355 ดอลลาร์ฯ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ1.2622 ดอลลาร์ฯ จากระดับ 1.2638 ดอลลาร์ฯดอลลาร์ฯอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 35 เยน จากระดับ 112.53 เยน ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงทั้งสามกระดานภายหลังจากที่ Fed ปรับประมาณการเศรษฐกิจลง ด้วยความกังวลต่อภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะข้างหน้า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ สองปีปรับลง (2.63 2.65 prior), ส่วน 10 ปียืนต่ำกว่า 2.8 ( มาอยู่ที่ 2.77 vs. 2.81 prior) ในการประชุมครั้งนี้ Fed มองว่า Windfall ต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อจะมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลง พร้อมทั้งได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปี 2018 […]
ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Tankan) ในไตรมาส 4 สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้
BF Economic Research ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ประกาศดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Tankan Index) ที่สำรวจความเห็นของผู้ประกอบการญี่ปุ่นต่อสภาวะธุรกิจเป็นประจำทุกไตรมาส ว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ สำหรับธุรกิจภาคการผลิตขนาดใหญ่ในไตรมาส 4/2018 ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ +19 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดมองว่าจะลดลง -1 เป็น +18 ในขณะที่ธุรกิจภาคบริการขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ที่ +22 เป็น +24 สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะลดลง -1 เป็น +21 โดยตัวเลขดัชนี Tankan ในไตรมาส 4/2018 นี้ นับเป็นภาพเชิงบวกต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ดัชนี Tankan ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในไตรมาส 4/2017 นอกจากนี้ผลของพายุไต้ฝุ่น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ฉุดภาคธุรกิจของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ได้เริ่มบรรเทาลงในไตรมาส 4 ธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 นี้ […]
B-NIPPON Economic Update Japan
ญี่ปุ่นปรับตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/2018 ลงจากประมาณการเบื้องต้น โดยการลงทุนภาคเอกชนถูกปรับลดลงมากที่สุด
BF Economic Research เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3/2018 ถูกปรับลดลงจากหดตัวที่ -1.2% QoQ saar (-0.3% QoQ) เป็น -2.5% QoQ saar (-0.6% QoQ) หลังจากขยายตัวสูงถึง +3.0% QoQ saar ในไตรมาส 2 โดยการปรับตัวเลขจีดีพีลงนี้เป็นผลมาจากการปรับลดลงของการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลัก จาก -0.2% QoQ เป็น -2.8% QoQ อย่างไรก็ดี เรายังมองว่า การลงทุนที่ติดลบเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้งในไตรมาส 4 เห็นได้จากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 4.2% YoY สูงที่สุดในรอบ 1 ปีในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ในขณะที่ปี 2019 เราคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะมีโมเมนตัมการเติบโตต่อเนื่อง โดยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลของการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Consumption Tax) ในเดือนต.ค. […]
เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนพ.ย.ขยายตัวชะลอลงที่ 6.0% ต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือน
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนพ.ย.ขยายตัวที่ 6.0% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.7% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.2% และต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือน แต่ยังคงเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP ที่ตั้งไว้ที่ 2-4% เป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน หลักๆเป็นผลจากราคาอาหารซึ่งมีน้ำหนักในตะกร้าเงินเฟ้อกว่า 38.3% ลดลง ประกอบกับราคาที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า น้ำประปา และแก๊ส) ที่ลดลงเล็กน้อย โดยช่วงที่เหลือของปี คาดว่า BSP ยังจะคงชะลอการนโยบายการเงินแบบเข้มงวดไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการขึ้นดอกเบี้ยครั้งต่อไปในไตรมาสที่ 1 ของปี 2019 อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ขยายตัวที่ 6.0% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.7% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.2% และต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือน แต่ยังคงเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP […]
GDP สิงคโปร์ไตรมาส 3/2018 โต 2.2% YoY ต่ำที่สุดในรอบ 8 เดือน
BF Economic Research GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 4.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 2.4% YoY และต่ำสุดในรอบ 8 เดือน สำหรับช่วงที่เหลือของปี GDP ของสิงคโปร์น่าจะยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนทางการค้าในตลาดโลก กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (MIT) ได้ประกาศเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ปี 2018 ที่ 3.0-3.5% GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 4.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 2.4% YoY และต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เนื่องมาจากภาคการผลิตที่ขยายตัวชะลอลงที่ 3.5% YoY (Prev.+10.7% YoY) เช่นเดียวกันกับภาคบริการที่ขยายตัวชะลอลงที่ 2.4% (Prev.+2.8% […]
ส่งออกไทยพลิกกลับมาบวกจากฐานต่ำปีก่อน แต่ไส้ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ค่อยดี
BF Economic Research การส่งออกไทยเดือน ต.ค. มีมูลค่า 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 20,699.8 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว 8.7% YoY (prev. -5.2% YoY) ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 22,038 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 20,212.6 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว 11.2%YoY (prev. 9.9% YoY) ส่งผลให้การค้าขาดดุล -280 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. เกินดุล 487.2 ล้านดอลลาร์ฯ) รวม 10 เดือนของปี 2018 การส่งออก มีมูลค่า 211,488 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น 8.2% AoA) การนำเข้ามีมูลค่า 208,929 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น […]
Economic Update Thailand Uncategorized
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 เติบโต 3.3% YoY น้อยกว่าที่ตลาดคาด จากการท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นหลัก
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2018 เติบโต 3.3% YoY ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 4.6% YoY และน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 4.2% YoY (กองทุนบัวหลวงคาดไว้ที่ 4.0% YoY) โดยเป็นผลจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนในประเทศทั้งของภาครัฐและเอกชนยังขยายตัวได้ดี การส่งออกที่เติบโตน้อยลงจาก 12.3% YoY เป็น 2.6% YoY ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในช่วงครึ่งหลังของปี 2017 และการค้าโลกที่ชะลอตัวตามทิศทางการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกสำคัญต่างเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว อาทิ ยานยนต์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง เป็นต้น อย่างไรก็ดี เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว (+65.9% YoY) มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น 5.4% YoY ส่วนอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวในไตรมาส 3 คือภาคการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในหมวดการส่งออกบริการ โดยการท่องเที่ยวไทยในไตรมาส 3 ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ตในเดือนก.ค. […]
เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 3 เติบโต 4.4% YoY น้อยกว่าที่ตลาดคาด จากการส่งออกเป็นหลัก
BF Economic Research เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3/2018 เติบโต 4.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 4.5% YoY และน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยเป็นผลจากการส่งออกที่ได้รับผลจากความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงราคาน้ำมันปาล์ม และก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงทำให้มูลค่าการส่งออกชะลอตัว สำหรับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญในไตรมาสนี้ คือ การบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด เนื่องจากผลของการยกเลิกภาษี GST (Goods and Services Tax) ในเดือนมิ.ย.-ส.ค. และการอุดหนุนราคาน้ำมัน สามารถกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศซึ่งคิดเป็น 55% ของขนาดเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวได้ถึง 9.0% YoY ในไตรมาส 3 ด้านการลงทุนในประเทศเติบโต 3.2% YoY เพิ่มขึ้นจาก 2.2% YoY ในไตรมาส 2 โดยได้อานิสงส์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศในช่วงหลังการเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้น และนโยบายของภาครัฐที่หนุนการลงทุน ทั้งนี้ ด้วยมุมมองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียที่ยังขยายตัวได้ บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในกรอบของธนาคารกลาง ทำให้เรามองว่า […]
ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis points เป็น 4.75%
BF Economic Research ธนาคารธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis points เป็น 4.75% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันนี้ (15 พ.ย. 2018) นับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 5 ติดต่อกัน รวม 175 basis points นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2018 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ BSP ยังปรับประมาณการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2018 เพิ่มเป็น 5.3% YoY จาก 5.2% YoY แต่ปรับลดอัตราเงินเฟ้อในปี 2019 เป็น 3.5% YoY จาก 4.3% YoY ธนาคารธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis […]
คณะรัฐมนตรีอังกฤษได้มีอนุมัติร่างข้อตกลง Brexit แล้ว ขณะที่ อิตาลียังคงยืนกรานไม่แก้ไขร่างงบประมาณ
BF Economic Research คณะรัฐมนตรีอังฤษได้มีอนุมัติร่างข้อตกลง Brexit แล้ววานนี้ หลังจากอังกฤษและ EU ได้บรรลุข้อตกลง Brexit เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษปรับตัวเเข็งค่าขึ้น มาอยู่ที่ 1.3012 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์ในวันนี้ ขณะที่ รัฐบาลอิตาลยังคงยืนกรานไม่แก้ไขร่างงบประมาณปี 2019 ที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนดังกล่าวผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปี พุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 3.543% เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีอังฤษได้มีอนุมัติร่างข้อตกลง Brexit แล้ววานนี้ หลังจากอังกฤษและ EU ได้บรรลุข้อตกลง Brexit เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา นับว่าเป็นการผ่อนคลายความกังวลต่อประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถบรรลุความตกลงกันได้ จนอาจนำไปสู่การที่อังกฤษต้องสิ้นสุดสถานะสมาชิก EU ทันทีเมื่อถึงกำหนดอย่างเป็นทางการ (29 มี.ค. 2019) […]