กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INDIAMRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INDIAMRMF)

อัพเดทสถานการณ์จากผู้จัดการกองทุนหลัก Kotak India Mid Cap Fund ตลอดปี 2019 หุ้นอินเดียขนาดกลางและขนาดเล็ก (Mid to Small Cap) สร้างผลตอบแทนได้น้อยกว่าหุ้นอินเดียขนาดใหญ่ (Large Cap) เพราะเศรษฐกิจมหภาคมีอัตราการเติบโตที่ลดลงชัดเจน สภาพคล่องในระบบทรงตัว ต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น ในวัฎจักรดังกล่าวหุ้นขนาดกลางและเล็กมักจะให้ผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบด้อยกว่าหุ้นขนาดใหญ่อยู่เสมอ ประกอบกับบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มมิดแคปส่วนใหญ่มีรายได้มาจากภาคชนบทและรัฐต่างๆ นอกจากนี้ยังมีประเด็น การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ เช่น การปฏิรูปภาษี GST (Goods and Services Tax), Insolvency Bankruptcy Code, Real Estate Regulatory Act และการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการผลิตรถยนต์ สิ่งทั้งหมดที่ว่านี้ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ลดลงต่อเนื่องมา 5 ไตรมาสติดต่อกัน จากระดับ 8% สู่ 7% (ในไตรมาส 3 ปี […]

หุ้นไทยวันที่ 18 ก.พ. 2563 ปิดตลาดที่ 1,513.68 จุด ลดลง 13.57 จุด

หุ้นไทยวันที่ 18 ก.พ. 2563 ปิดตลาดที่ 1,513.68 จุด ลดลง 13.57 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 18 ก.พ. 2563 ปิดตลาดที่ 1,513.68 จุด ลดลง 13.57 จุด หรือ -0.89% ระหว่างวันสูงสุดที่ 1,522.33 จุด ต่ำสุดที่ 1,510.52 จุด มูลค่าการซื้อขาย 49,275.59 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.BAM ปิดที่ 29.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,961.16 ลบ. 2.AOT ปิดที่ 69.25 บาท ลดลง -0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,664.08 ลบ. 3.PTTGC ปิดที่ 50.00 บาท ลดลง -2.50 […]

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI) และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI) และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)

บทสัมภาษณ์ทิศทางตลาดยูเอสไฮยิลด์จาก Mr. Charl Pepper Whitbeck, Head of AXA US High Yield Bond Fund หากมองในปี 2019 ท่านผู้ถือหน่วยคงจำได้ว่าเป็นปีที่ตลาดยูเอสไฮยิลด์มีความผันผวนต่ำมาก ตลาดยูเอสไฮยิลด์เป็นขาขึ้นตลอดทางเพราะช่วงก่อนหน้าเคยเผชิญกับแรงขายในช่วงปลายปี 2018 แต่ในปี 2019 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยยูเอสไฮยิลด์กับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Spread) แคบลงตลอดทาง ดัชนีตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์ให้ผลตอบแทนรายเดือนติดลบเพียงเดือนเดียว ด้วยเหตุที่ว่า นักลงทุนเกรงว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จึงขยับไปถือครองตราสารหนี้ซึ่งมีคุณภาพที่ดีแต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับมีทิศทางตรงกันข้ามกับที่ตลาดมอง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้กลับลำ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่เคยทรงตัวอยู่ในรูปแบบ Flattening Yield curve (ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้นเท่ากันกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุยาว) วกกลับมาเป็น Inverted yield Curve (ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้นน้อยกว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุยาว) กองทุนหลักถือครองตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์ที่มีอายุยาวจึงให้ผลตอบแทนดีกว่าดัชนี ในช่วงเวลาดังกล่าวกองทุนหลัก เริ่มทยอยปรับเพิ่มน้ำหนักกับตราสารหนี้ยูเอสไฮยิลด์ที่มีอายุสั้นมากขึ้น เพราะเป็นกลยุทธ์ของกองทุนหลักที่จะ stay Defensive สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมของตราสารหนี้ที่กองทุนหลักถือครองอยู่นั้น ตราสารหนี้ในกลุ่มพลังงานให้ผลตอบแทนโดดเด่น กองทุนหลักลงทุนตราสารหนี้ในกลุ่มนี้โดยคัดเลิอกบริษัทผู้ให้บริการท่อส่งน้ำมันที่รายได้ไม่ผันผวนไปตามราคาน้ำมันดิบโลก […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นโลก ผลตอบแทนของกองทุนหลัก และมุมมองต่อหุ้นรายตัวที่กองทุนหลักถือครอง  ผลตอบแทนในไตรมาส 4Q2019 กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนได้ 8.7% เทียบกับดัชนี MSCI AC World ที่ 9.0% (ขณะที่ผลตอบแทนรายปี (CY2019) กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนได้ 26.0% ใกล้เคียงกับดัชนีที่ 26.6%) หากมองผลตอบแทนรายภูมิภาคของดัชนี เช่น จีน ตลาดเกิดใหม่ อเมริกาเหนือ ยุโรป และญี่ปุ่น ผลตอบแทนที่โดดเด่นของตลาดหุ้นจีนมาจากช่วงโค้งสุดท้ายของปีเหตุจากความคืบหน้าด้านการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ กราฟ: แสดงผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคต่างๆเฉพาะในไตรมาส 4Q2019 (สีน้ำเงินเข้ม) เทียบกับผลตอบแทนดัชนีทั้งปี 2019 (สีฟ้าอ่อน) และหากจำแนกผลตอบแทนของดัชนี MSCI แยกตามรายกลุ่มอุตสาหกรรม จะเห็นว่า หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีให้ผลตอบแทนรายปีสูงสุดถึง 48% ขณะที่กลุ่มซึ่งมีรายได้ผันเป็นไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เช่น วัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ราคาหุ้นมีทิศทางฟื้นตัวชัดเจนในไตรมาสสี่ กราฟ 2: แสดงผลตอบแทนของดัชนี MSCI จำแนกตามรายกลุ่มอุตสาหกรรม […]

มาเลเซียเผยมีหน่วยงานดูแลมาตรฐานความปลอดภัยพิจารณาว่าใครจะร่วมแผนเปิดตัว 5G ปีนี้

มาเลเซียเผยมีหน่วยงานดูแลมาตรฐานความปลอดภัยพิจารณาว่าใครจะร่วมแผนเปิดตัว 5G ปีนี้

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า กระทรวงการสื่อสารของมาเลเซียให้ข้อมูลว่า หน่วยงานดูแลมาตรฐานความปลอดภัยมาเลเซียจะกำหนดว่าบริษัทใดเข้ามามีส่วนร่วมในแผนเปิดตัว 5G ปีนี้ได้ ท่ามกลางกระแสที่สหรัฐฯ กำลังกดดันประเทศต่างๆ ไม่ให้เปิดรับหัวเว่ยของจีนเข้าร่วม หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นรายสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ ออกแคมเปญจำกัดการใช้เทคโนโลยีจีนพัฒนาแพลตฟอร์มโทรคมนาคมรุ่นต่อไป เพราะมีข้อกังวลว่าอุปกรณ์หัวเว่ยอาจถูกรัฐบาลจีนใช้สอดแนม โดยสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำการค้ากับหัวเว่ย เดือน พ.ค. 2019 ส่วนเดือน ก.พ. นี้อัยการของสหรัฐฯ กล่าวหาว่า หัวเว่ยขโมยความลับทางการค้าและช่วยเหลืออิหร่านติดตามผู้ประท้วง ซึ่งหัวเว่ยปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ Gobind Singh Deo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารของมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียตระหนักถึงความกังวลที่เผยแพร่ทั่วโลกเกี่ยวกับหัวเว่ย แต่เรื่องนี้จะถูกควบคุมดูแลโดยหน่วยงานดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของรัฐในการเลือกพันธมิตรเข้าร่วมแผนเปิดตัวเครือข่าย 5G ของประเทศในไตรมาส 3 นี้ “มุมมองเราชัดเจนมาก เรามีหน่วยงานดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของเรา เรามีข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของตัวเอง ถ้าใครก็ตามมาพร้อมข้อเสนอเพื่อตกลงกับเรา เราต้องแน่ใจว่าผ่านมาตรฐานความปลอดภัย”  Singh Deo กล่าว Singh Deo กล่าวอีกว่า เมื่อพูดเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าหัวเว่ยหรือรายอื่น คุณก็ต้องแน่ใจว่าระบบที่พวกเขานำเสนอเป็นอย่างไร เหมาะสมกับคุณหรือไม่ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ)

ในปี 2019 ที่ผ่านมา ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศจีน GDP เติบโตลดลงอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ การประท้วงในฮ่องกง อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้เอกชนหลายแห่ง ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการหลายอย่างเพื่อปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้บรรยากาศการลงทุนไม่สดใสนัก แต่กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) สามารถผงาดทำกำไรได้สูงถึงกว่า 38% และสูงกว่าดัชนีชี้วัดเกินเท่าตัวโดดเด่นเป็นที่หนึ่งในอุตสาหกรรมกองทุนหุ้นจีนประเภทที่ลงทุนได้ในทุกตลาด หรือกลยุทธ์แบบ All China Strategy ทั้งนี้ปัจจัยสำเร็จมาจากการเลือกลงทุนในบริษัทที่เติบโตสอดคล้องกับเศรษฐกิจยุคใหม่ การยกระดับการบริโภค การยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง เช่น การวิจัยและพัฒนาเครือข่าย 6G เป็นต้น ปัจจุบัน หน่วยลงทุนมีหุ้นที่โดดเด่นสำคัญๆ ได้แก่ บริษัท Jiangsu Hengli Hydraylics ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฮดรอลิกรายใหญ่ที่สุดในจีน และรายใหญ่อันดับ 8 ของโลก จำหน่ายสินค้าให้ลูกค้าทั้งในประเทศ ลูกค้าต่างประเทศ อาทิ Caterpillar ธุรกิจมีผู้แข่งขันในตลาดน้อยราย บริษัท Ping An Insurance […]

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)

มุมมองต่อประเด็นทางการเมืองต่อระบบเฮลธ์แคร์ของสหรัฐฯ กองทุนหลักมองว่าโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่โครงสร้างเฮลธ์แคร์ของสหรัฐฯ จะเปลี่ยนจากปัจจุบันไปสู่ระบบที่รัฐเข้าดูแลจัดการสวัสดิภาพของพลเมืองทั้งหมดหรือที่เรียกว่า Universal or government run healthcare system หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากจะใช้งบประมาณประเทศที่สูงเกินจะแบกจะรับไหว ข้อเสนอระบบประกันสุขภาพที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้บริการเท่าเทียมกันหรือ Medical for all ของพรรคเดโมแครทนั้น ใช้งบประมาณสูงถึง 30 -50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานรวม 10 ปี ตัวเลขนี้อยู่สูงกว่าขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในตอนนี้ที่คิดเป็นมูลค่า 21 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์อีกอย่างหนึ่งที่ฝั่งนักการเมืองผู้เสนอยังไม่ได้ประเมินคือ มีชาวอเมริกันจำนวน 180 ล้านครัวเรือนที่ใช้บริการประกันสุขภาพภาคเอกชน ผู้ให้บริการประกันสุขภาพภาคเอกชนดังกล่าว เมื่อนับรวมกับความร่วมมือภาครัฐผ่านสวัสดิการโอบามาแคร์แล้ว ก็แทบจะครอบคลุมคนสหรัฐฯ ในกลุ่มอยู่แล้ว หากจะเหลือก็มีเพียงแค่ พลเมืองสหรัฐฯ อีก 10 ล้านคน ซึ่งยังไม่มีหลักประกันสุขภาพค่ารักษาพยาบาล ณ จุดนี้ ทำให้ดูเหมือนว่าการที่รัฐจะเข้ามาดูแลกลุ่มคนเพียง 10 ล้านคน ด้วยการรื้อถอนโครงสร้างระบบประกันสุขภาพของประเทศใหม่หมดไม่เมคเซนซ์เอาเสียเลย ด้วยเงินจำนวนมหาศาลที่ต้องใช้ ในเชิงยุทธศาสตร์การเมืองการบริหารประเทศ จึงเป็นไปได้ยาก […]

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 และประมาณการเศรษฐกิจปี 2020

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 และประมาณการเศรษฐกิจปี 2020

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2019 ขยายตัว 1.6% YoY (0.2% QoQ หลังปรับฤดูกาล) จากที่โต 2.6% ในไตรมาสก่อน ทำให้ทั้งปี 2019 โต 2.4% จากปีก่อนที่ 4.2% ด้านการใช้จ่าย: การบริโภคยังขยายตัวเกิน 0% ขณะที่การส่งออกสุทธิเป็นบวกจากการนำเข้าที่ติดลบมากกว่าการส่งออก การส่งออกสุทธิ (Net exports) ช่วยหนุน GDP ในไตรมาสนี้ จากการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวแรงกว่าการส่งออกสินค้าและบริการ (นำเข้า -8.3% vs ส่งออก -3.6%) โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องสี่ไตรมาสติดต่อกัน จากอุปสงค์ต่างประเทศที่อ่อนแอและความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงจากเงินบาทแข็งค่า การใช้จ่ายทั้งการบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลง (การบริโภคภาคเอกชน 4.1% YoY จาก 4.3% ไตรมาสก่อน, การลงทุนรวม 0.9% จาก 2.7% ไตรมาสก่อน) […]

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) เตรียมจ่ายเงินปันผลและจ่ายคืนเงินทุน รวม 0.215 บาท/หน่วย วันที่ 13 มี.ค. นี้

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) เตรียมจ่ายเงินปันผลและจ่ายคืนเงินทุน รวม 0.215 บาท/หน่วย วันที่ 13 มี.ค. นี้

นายพรชลิต พลอยกระจ่าง รองกรรมการผู้จัดการ Head of Real Estate & Infrastructure Investment บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ประกาศจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 25 ในอัตรา 0.181 บาทต่อหน่วย และจ่ายคืนเงินทุนครั้งที่ 7 ในอัตรา 0.034 บาทต่อหน่วย หรือรวมแล้วจ่ายเงินปันผลพร้อมจ่ายคืนเงินทุนเป็นเงินทั้งสิ้น 0.215 บาทต่อหน่วย สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2562/63 หรือระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2562 โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนในการรับเงินปันผลและรับคืนเงินทุน ในวันที่ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)

สรุปประเด็นทางเศรษฐกิจอินเดีย หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นอินเดีย (MSCI India USD Index) แกว่งขึ้นลงตลอดครึ่งปีที่แล้ว (2H2019) จากการชะลอตัวของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศและสงครามการค้าที่เข้ามากระทบ ในเดือน ม.ค. ปีนี้ (ปี 2020) ดัชนีปรับตัวเพิ่มจากหุ้นในกลุ่มหุ้นมิดแอนด์สมอลแคป จากระดับมูลค่า Valuation ลดลงในปีก่อนหน้า มาตรการที่รัฐบาลอินเดียได้ประกาศใช้หลายอย่างตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว เช่น ลดภาษีนิติบุคคล/บริษัทลงจากเดิม 30% เป็น 22% ลดภาษีนิติบุคคล/บริษัทที่เริ่มดำเนินการผลิตสินค้าจากเดิม 25% เป็น 15% ได้ช่วยให้บริษัทมีเงินเหลือนำไปลงทุนในกิจการต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค หรือนำเงินไปชำระหนี้สินเพิ่มเติม ส่งผลบวกต่อธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ยอดการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนชาติซึ่งเคยเป็นผู้ขายสุทธิตลาดหุ้นอินเดีย -3.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสสามปี 2019 และเป็นผู้ซื้อสุทธิ +1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ปี 2019 ต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีแล้วนั้น ในเดือนมกราคมปีนี้ยังพบว่านักลงทุนต่างชาติยังเป็นผู้ซื้อสุทธิ +2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศก็เป็นผู้ซื้อสุทธิเช่นกันที่ +316 […]