ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 มี.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,643.64 จุด เพิ่มขึ้น 25.54 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 มี.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,643.64 จุด เพิ่มขึ้น 25.54 จุด (+1.52%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,643.87 จุด และต่ำสุดที่ 1,610.34 จุด มูลค่าการซื้อขาย 115,051.73 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 159.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท (+2.24%) มูลค่าการซื้อขาย 7,112.59 ลบ. 2.PTTEP ปิดที่ 146.00 บาท ลดลง 6.50 บาท (-4.26%) มูลค่าการซื้อขาย 6,734.34 ลบ. 3.BBL ปิดที่ 134.50 […]
B-GLOB-INFRA B-HY (H75) AI B-HY (UH) AI BF Knowledge Center
ความหลากหลายของหุ้นและตราสารหนี้ในพอร์ตลงทุน
สรุปความสัมภาษณ์ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® วันนี้จะขอมาชวนคุยเรื่องหลักทรัพย์ที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุน ที่ผ่านมาเวลาจัดพอร์ต จะเจอหลักทรัพย์ใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ก็คือ หุ้น หรือกองทุนหุ้น หรืออาจรวมตราสารทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงมาก เช่น ทองคำ ไว้ด้วย ส่วนอีกกลุ่มก็จะเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือมีความปลอดภัยสูงกว่า เช่น ตราสารหนี้ต่างๆ เงินฝากธนาคาร พันธบัตร หรือสลากออมสิน แต่จริงๆ ในเรื่องการลงทุน การทำ Asset Allocation หรือการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน ไม่ได้มีหลักทรัพย์เพียง 2 ประเภทเท่านั้น ยังมีหลักทรัพย์อีกแบบก็คือ หลักทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่าอาจจะจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้ ส่วนอีกประเภทก็เป็นหลักทรัพย์ทางเลือกที่มองว่าอาจจะไม่ได้มีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นเท่าไหร่ คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ซึ่งมีลักษณะของการเก็บกินค่าเช่า มีรายได้จากค่าเช่าหรือค่าบริการที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ขณะเดียวกันธุรกิจก็มีความหวือหวาต่ำ โดยรวมจึงมองว่าเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ เวลาทำ Asset […]
สหรัฐฯ ประกาศห้ามนำเข้าน้ำมันรัสเซีย ตอบโต้เพิ่มเติมกรณีโจมตียูเครน
ประธานาธิบดี Joe Biden ออกมาประกาศว่า สหรัฐฯ จะแบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ถือเป็นการตอบโต้สำคัญจากนานาชาติ กรณีที่รัสเซียโจมตียูเครน ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากพันธมิตรชาติตะวันตกทำงานร่วมกันเพื่อแยกรัสเซียออกจากเศรษฐกิจโลก เป็นการลงโทษประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่ประกาศรุกรานโดยปราศจากการยั่วยุใดๆ “วันนี้ขอประกาศว่าสหรัฐฯ กำลังพุ่งเป้าไปที่หลอดเลือดหลักที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจรัสเซีย เรากำลังห้ามการนำเข้าน้ำมัน ก๊าซ และพลังงานทั้งหมดจากรัสเซีย หมายความว่าน้ำมันของรัสเซียจะไม่ได้รับการยอมรับต่อไปจากท่าเรือของสหรัฐฯ และคนอเมริกันจะออกมาจัดการกับเครื่องจักรสงครามของ Putin ซึ่งสิ่งนี้คือขั้นตอนที่เราดำเนินการเพื่อสร้างความเจ็บปวดให้ Putin ต่อไป” Biden กล่าว ขณะที่อังกฤษก็ประกาศการจำกัดการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียก่อนที่ Biden จะออกมากล่าว โดยระบุว่า อังกฤษจะเลิกนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียภายในสิ้นปีนี้ ส่วนสหภาพยุโรป ก็ประกาศออกมาก่อนหน้าเช่นกันว่า กำลังวางแผนที่จะเลิกใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจากรัสเซีย ข้อมูลจากสำนักข้อมูลพลังงาน หรือ EIA เผยว่า เมื่อปี 2021 สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมัน 672,000 บาร์เรลต่อวันจากรัสเซีย ซึ่งคิดเป็นประมาณ 8% ของยอดนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์กลั่นทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่สหรัฐฯ จะนำเข้าน้ำมันดิบและปิโตรเลียมจากแคนาดา […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 มี.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,619.10 จุด ลดลง 7.60 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 มี.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 1,619.10 จุด ลดลง 7.60 จุด (-0.47%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,633.50 จุด และต่ำสุดที่ 1,580.80 จุด มูลค่าการซื้อขาย 149,938.39 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 156.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท (+1.30%) มูลค่าการซื้อขาย 7,007.95 ลบ. 2.SCB ปิดที่ 114.50 บาท ลดลง 0.50 บาท (-0.43%) มูลค่าการซื้อขาย 4,476.82 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 38.25 […]
BBLAM Monthly Economic Review – กุมภาพันธ์ 2022 ตอน 2
สรุปความ Economic Research ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ข้อมูลเศรษฐกิจไม่ใช่ประเด็นหลักที่ต้องติดตาม เนื่องจากตัวเลขออกมาดี โดยประเด็นหลักที่ต้องให้ความสนใจคือ ประเด็นเชิงการเมืองและความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์มากกว่า BBLAM ขอประมวลภาพสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตให้เห็นภาพก่อน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2018 คือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ต่อมาในปี 2019-2021 ก็เกิดประเด็นเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนในภาคอุปทาน หรือ supply shortage เกิดปัญหาหยุดชะงักในภาคอุปทาน หรือ supply disruption รวมทั้งเกิดเรื่องปัญหาคอขวดในภาคโลจิสติกส์ ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่ง จากประเด็นเหล่านี้อง จึงนำไปสู่เรื่องเงินเฟ้อ แต่ในช่วงที่เกิดโควิด-19 ก็ยังมีเรื่องนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาช่วยไว้อยู่ ส่วนอีกประเด็นที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันก็คือ เรื่องสภาวะภูมิอากาศ โดยเกิดพายุที่สหรัฐฯ ส่วนในปี 2022 สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจไม่เหมือนเดิมแล้ว มีเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมกับเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งเวลามีความไม่แน่นอน ก็จะเกิดประเด็นเรียกว่า uncurtainty โดยรวมแล้วเศรษฐกิจมหภาคเวลานี้มีโจทย์เรื่องเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น แถมการเมืองยังมีความไม่แน่นอนอีก ซึ่งในโจทย์แบบนี้ BBLAM ขอนำทางเลือกมาให้ทุกคนพิจารณาว่าควรจะทำเช่นไรดี […]
ธุรกิจอเมริกันในจีนเผยความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ-จีน กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับยุคที่ตึงเครียดของ Trump แล้ว
ธุรกิจอเมริกันในจีนไม่ได้คาดหวังมานานแล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน จะดีขึ้น หลังจากที่มีความตึงเครียดตั้งแต่ช่วงรัฐบาลบริหารของ Donald Trump ตามข้อมูลผลสำรวจของสมาคมธุรกิจ ทั้งนี้ หลังจาก Joe Biden เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ภายหลังการเลือกตั้งปลายปี 2020 ก็ทำให้ภาคธุรกิจมีมุมมองบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น โดย 45% ของผู้ตอบแบบสำรวจของหอการค้าอเมริกันในจีน คาดการณ์ว่า ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯและจีน จะดีขึ้น อย่างไรก็ตามระดับมุมมองเชิงบวกลดลงไปเหลือ 27% ในการสำรวจครั้งล่าสุด ที่จัดทำขึ้นช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2021 เท่ากับในช่วงที่ Trump ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และออกนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับจีน โดยผลสำรวจยังระบุอีกว่า ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน เป็นปัจจัยท้าทาย 1 ใน 5 อันดับแรกของการทำธุรกิจในจีน นับตั้งแต่ปี 2019 “นี่คือระดับที่มีความหวังและมีมุมมองบวก หลังจากที่ Biden เข้ามาเป็นประธานาธิบดี ความสัมพันธ์ก็เริ่มดีขึ้น แต่เราก็เริ่มเห็นว่า ช่วงปีที่ผ่านมามีความจริงใหม่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่มีการพูดถึงนโยบายและห้วงอารมณ์เดียวกับสมัยทีมบริหาร Trump ที่ยังคงอยู่ในทีมบริหารของ […]
B-GLOB-INFRA News Update Press Release
เมื่อโลกชัดเจนกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่อนาคต BBLAM แนะเก็บโอกาสกับ B-GLOB-INFRA IPO 9-15 มี.ค. นี้
ข่าวประชาสัมพันธ์ Press Release นายสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า ในภาวะที่ตลาดทุนมีความผันผวนอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผนวกกับการที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณว่า อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 4 ครั้งด้วยกัน จึงทําให้นักลงทุนมีความกังวลต่อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ ทางผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก ที่จะได้อานิสงส์จากการที่ประเทศต่างๆ จะต้องมีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าหลังและเพื่อรองรับโลกในยุคที่ต้องเดินหน้าสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ net zero carbon emission อีกด้วย ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โรงไฟฟ้า ท่าเรือ สนามบิน ทางด่วน รถไฟ พลังงาน น้ำ และโครงข่ายการสื่อสารถือเป็นธุรกิจที่ล้วนมีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศ และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานมีสัญญาบริการแบบระยะยาวและมีความต้องการใช้สม่ำเสมอ ไม่ค่อยเป็นไปตามวัฏจักรธุรกิจ รายรับมักสามารถปรับขึ้นได้ตามเงินเฟ้อ จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจในภาวะความผันผวนสูงเช่นปัจุบัน ทั้งนี้ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้ประเมินว่า ระหว่างปี […]
BBLAM Monthly Economic Review – กุมภาพันธ์ 2022 : ตอน 1
สรุปความ Economic Research ยูโรโซน ในครั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจหนีไม่พ้นประเด็นร้อนอย่างวิกฤติยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งส่วนใหญ่ผลกระทบจะเกิดกับเศรษฐกิจยูโรโซนเป็นหลัก เริ่มแรกถ้าเราย้อนกลับไปดูพื้นฐานเศรษฐกิจยูโรโซนช่วงก่อนหน้านี้ GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ที่ประกาศออกมาก็ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นไปตามที่เราคาด จากผลของการขาดแคลนชิป และการระบาดของโควิดในยูโรโซน ส่วนในไตรมาสแรกปี 2022 เดือนมกราคม ยูโรโซนยังเผชิญการระบาดของโควิดอยู่ ขณะที่ในเดือนกุมภาพันธ์ เริ่มเป็นภาพที่ฟื้นตัวขึ้นหลังจากการแพร่ระบาด รัฐบาลแต่ละประเทศเริ่มทยอยผ่อนคลายล็อคดาวน์ เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่บ่งบอกว่าภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ฟื้นตัวขึ้นมา ซึ่งเรามองว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะชะลอตัวแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในประเด็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบันเป็นหลัก ซึ่งอาจใช้ดัชนี PMI ในเดือนมีนาคม ที่กำลังจะประกาศออกมาเป็นตัวชี้วัดได้ หากสถานการณ์จบได้เร็ว น่าจะกระทบเพียงไตรมาสแรกเท่านั้น ก่อนที่จะทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป สำหรับสาเหตุที่ระบุว่า วิกฤติยูเครน-รัสเซีย จะมีผลต่อยูโรโซนมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากรัสเซียเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของยุโรป โดยเฉพาะเป็นแหล่งของก๊าซธรรมชาติ เราจะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปก็มีการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งกดดันกำลังซื้อของผู้บริโภค และต้นทุนของภาคธุรกิจมาระยะหนึ่งแล้ว การคว่ำบาตรรัสเซียด้วยการที่เยอรมนีเข้าไประงับกระบวนการอนุมัติเปิดใช้งานท่อส่งก๊าซ Northstream […]
ส่องโอกาสลงทุนเอาชนะเงินเฟ้อด้วย B-GLOB-INFRA
สรุปความ โดย…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์, AFPTTM ขณะนี้หลายประเทศกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ผู้คนเริ่มกลับมามีความมั่นใจใช้จ่ายกันมากขึ้น และถ้าเรากลับมาดูที่โลกของการลงทุน การที่เงินเฟ้อ ก็หมายความว่า จำนวนเงินในมือที่มีอยู่เท่าเดิม กำลังมีมูลค่าลดลงไป แล้วเราจะไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนดี ถึงจะมีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินเฟ้อได้ ศิวกร มิตรสันติสุข, CFA® ทีม Investment Strategy ของ BBLAM วิเคราะห์โอกาสว่า ปัจจุบัน เราจะเจอ อยู่ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ เงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ราคาต้นทุนสินค้าแพงขึ้น น้ำมันแพงขึ้น ความไม่แน่นอนทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะ ที่เกิดขึ้นในยูเครน ความกังวลที่วัฏจักรของเศรษฐกิจอาจจะเข้าสู่จุดสูงสุด เรื่องเหล่านี้ ส่งผลให้ ทั้งแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ หรือนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง มีความไม่แน่นอนมากขึ้น คำถามก็กลับมาที่ว่า พอจะมีสินทรัพย์ ใดบ้างที่อาจจะเป็นหลุมหลบภัย สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน? ด้วยเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ มองว่า ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน หรือเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน มีความน่าสนใจ โดยสินทรัพย์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โรงไฟฟ้า […]
Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.พ. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในระดับใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป เปลี่ยนแปลงในช่วง -4 ถึง +7 bps สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน ก.พ. อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.19% (+6 bps จากสิ้นเดือนก่อน) ซึ่งยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี โดยในช่วงต้นเดือน ก.พ. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ม.ค. ที่เพิ่มขึ้น 4.67 แสนตำแหน่ง สูงกว่าตลาดคาดที่ 1.25 แสนตำแหน่ง และอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงสุดในรอบ […]