อินเดียขึ้นแซงสหราชอาณาจักร เป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 5 ของโลก
อินเดียแซงหน้าสหราชอาณาจักร (UK) กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก เพราะ UK เจอภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจหนัก ทางกลับกันอินเดียเติบโตมากกว่า 7% ในปี 2565 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า อินเดียแซงหน้าสหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK) กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ตามตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยอินเดียอยู่หลังสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าวบลูมเบิร์ก) ทั้งนี้ เศรษฐกิจอินเดียโค่นล้มสหราชอาณาจักรจากตำแหน่งในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2564 ซึ่งทศวรรษที่ผ่านมา อินเดียอยู่ในอันดับที่ 11 ในกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ในขณะที่สหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับที่ 5 การเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สหราชอาณาจักรกำลังจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยมีรายงานว่าการจัดอันดับของสหราชอาณาจักรตกต่ำ เนื่องจากค่าครองชีพในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 สหราชอาณาจักรประเทศมีอัตราเงินเฟ้อ ราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขสองหลัก (10.1%) […]
เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวต่ำกว่าคาดในไตรมาส 2/2022 แต่ Domestic Demand ยังเติบโตได้ดี
GDP อินเดียในไตรมาส 2/2022 หรือไตรมาสแรกของปีงบประมาณขยายตัว 13.5% YoY จากที่ขยายตัว 4.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้อานิสงส์จากฐานที่ต่ำในช่วงการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ระหว่างเม.ย.-พ.ค. 2021 แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 15.2% การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวถึง 25.9% YoY ขณะที่การลงทุนปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ Domestic Demand เติบโตได้ดีในไตรมาส 2/2022 ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสุทธิยังสะท้อนภาพอ่อนแออยู่ โดยแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ แต่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า ส่งผลให้ดุลการค้ามีสัดส่วนมากขึ้นและเป็นตัวฉุดรั้ง GDP (เพิ่มขึ้นเป็น -8.1% ต่อ GDP จากเดิม -5% ในไตรมาสก่อนหน้า) เมื่อเทียบรายไตรมาสชะลอตัวลง -9.6% QoQ ซึ่งมากกว่าอัตราเฉลี่ยที่ไตรมาส 2 จะชะลอตัวลงจากไตรมาส 1 ประมาณ -7% […]
B-CHINE-EQ B-GLOB-INFRA B-INNOTECH B-SIP B-VIETNAM Press Release
BBLAM หั่นครึ่งค่าธรรมเนียมการขาย ชวนนักลงทุนปรับพอร์ต
BBLAM หั่นครึ่งค่าธรรมเนียมการขาย ชวนนักลงทุนปรับพอร์ต หาประโยชน์จากเงินเฟ้อสูง และเริ่มสะสมโอกาสจาก Growth Stock รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า ในช่วงปลายไตรมาส 3 และต้นไตรมาส 4 ปีนี้ สถานการณ์ลงทุนกำลังปรับเปลี่ยนทิศทางไปจากต้นปีที่ผ่านมา โดยนักลงทุนเริ่มมองว่า เงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่ก็มองว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงเงินเฟ้อให้มาอยู่ระดับที่เหมาะสม แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยอาจไม่ได้พุ่งแรงเหมือนในช่วงครึ่งปีแรก เมื่อสถานการณ์ลงทุนเป็นเช่นนี้ BBLAM จึงมองว่า การปรับพอร์ตในช่วงนี้โดยยังให้ความสำคัญกับเงินเฟ้อ ควบคู่กับเริ่มสะสมโอกาสจาก Growth Stock จะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นไปตามสถานการณ์กับโอกาสที่จะมาในอนาคต และเพื่อเป็นการสนับสนุนการปรับพอร์ตครั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2565 BBLAM ทำการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) กองทุนต่างประเทศ 5 กองทุน ลงเหลือ 50% จากอัตราที่เก็บจริง ได้แก่ […]
B-ASEAN B-ASEANRMF B-GLOB-INFRA B-INNOTECH B-INNOTECHRMF B-INNOTECHSSF B-SIP B-SIPRMF B-SIPSSF B-VIETNAM B-VIETNAMRMF BBLAM Weekly Investment Insights BCARE BCARERMF
BBLAM Weekly Investment Insights 5-9 กันยายน 2022
2022 – Opportunities are never lost INVESTMENT STRATEGY ดูเหมือนพอร์ตที่เหมาะสมตอนนี้ น่าจะเป็นการบาลานซ์ให้ดีระหว่างการหาประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อสูง และเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ต้องมีหุ้นสู้เงินเฟ้อ และหุ้น Defensive ขณะเดียวกันก็ต้องมีหุ้น Growth ซึ่งราคาปรับตัวลงมาอย่างมาก ก็เป็นจังหวะสะสมเพื่อรอโอกาส เพียงแต่ต้องเลือกธีมที่ใช่ และกองทุนที่เน้นการคัดเลือกหุ้นลงทุน คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ให้ความเห็นถึงตลาดในช่วงนี้ว่า ที่ตลาดขึ้นมาได้เยอะๆ เป็นบางช่วง ยังถือว่าอยู่ในช่วง Bear Market Rally ซึ่งอธิบายได้ว่า ดัชนีสามารถปรับตัวเด้งขึ้นมาในระยะสั้น ๆ แต่ยังไม่ใช่การขึ้นที่เป็นเทรนด์ถาวรหรือเป็นตลาดขาขึ้น ตลาดตอนนี้เหมือนเสียงแตก กลุ่มหนึ่งมองว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยถึง 3.5% ในปีหน้าและอาจเริ่มลดดอกเบี้ยลงเพราะเริ่มกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่อีกกลุ่มหนึ่งมองว่า Fed น่าจะยังเอาเงินเฟ้อเป็นหลัก ถ้ายังไม่ลดลงมาสู่ระดับเป้าหมายก็ยังไม่จำเป็นต้องรีบร้อนปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทาง […]
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ใกล้ระดับสูงสุดรอบ 2 ทศวรรษ
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ว่า ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน และใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ เนื่องจากนักลงทุนให้ความสนใจกับข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่จะครบกำหนดในวันศุกร์นี้ ซึ่งอาจหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นสูงตั้งแต่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวล กล่าวในการประชุมสัมมนา Jackson Hole ในไวโอมิงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า อัตราดอกเบี้ยจะต้องสูงเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งติดตามค่าเงินเทียบกับคู่สกุลเงิน 6 สกุล พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 109.99 โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงตัวเลขการว่างงานลดลง ดัชนีหลุดออกจากจุดเดือดในช่วงต้นชั่วโมงการซื้อขายของยุโรปในวันศุกร์ โดยลดลง 0.2% มาอยู่ที่ 109.43 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่ในการติดตามโดยเพิ่มขึ้น 0.5% ต่อสัปดาห์ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ จะต้องจับตาอย่างใกล้ชิด นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่ม 300,000 […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,622.15 จุด เพิ่มขึ้น 0.20 จุด (+0.01%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,622.15 จุด เพิ่มขึ้น 0.20 จุด (+0.01%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,611.19 จุด และสูงสุดที่ 1,626.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 61,344.55 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 166.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 (+0.30%) มูลค่าการซื้อขาย 3,044. 96 ลบ. IVL ปิดที่ 40.75 บาท ลดลง 1.00 (-2.40%) มูลค่าการซื้อขาย 2,277.12 ลบ. BANPU ปิดที่ 13.90 บาท ลดลง 0.10 (-0.71%) […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,621.95 จุด ลดลง 16.98 จุด (-1.04%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ก.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,621.95 จุด ลดลง 16.98 จุด (-1.04%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,617.75 จุด และสูงสุดที่ 1,640.65 จุด มูลค่าการซื้อขาย 79,411.84 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ BANPU ปิดที่ 14.00 บาท ลดลง 0.50 (-3.45%) มูลค่าการซื้อขาย 4,698.13 ลบ. BDMS ปิดที่ 29.00 บาท ลดลง 0.25 (-0.85%) มูลค่าการซื้อขาย 3,748.23 ลบ. TLI ปิดที่ 15.60 บาท ลดลง 0.40 (-2.50%) มูลค่าการซื้อขาย 3,325.14 […]
จีนปิดเมืองเฉิงตู สั่ง ปชช. 21.2 ล้าน อยู่บ้าน-เร่งตรวจหาเชื้อ คุมโควิดลาม
เมื่อวันที่ 1 กันยายน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นครเฉิงตู หนึ่งในเมืองใหญ่ที่สุดของจีนและเป็นเมืองเอกของมณฑลเสฉวน เป็นเมืองล่าสุดของจีนที่ได้ประกาศล็อกดาวน์เมือง ที่มีประชากรราว 21.2 ล้านคนแห่งนี้ โดยมีผลในวันเดียวกันนี้ เพื่อสกัดการระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้ยุทธศาสตร์โควิดเป็นศูนย์ของรัฐบาลปักกิ่ง โดยในวันเดียวกันนี้ เฉิงตูยังมีรายงานผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 157 ราย โดยเป็นผู้ไม่ได้แสดงอาการ 51 ราย ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์นี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเฉิงตูทั้งหมดถูกสั่งห้ามออกนอกบ้านเริ่มจากเวลา 18.00 น.ของวันพฤหัสบดี (1 ก.ย.) เป็นต้นไป โดยจะอนุญาตให้แต่ละครัวเรือนส่งคนในครอบครัวเพื่อออกไปซื้อหาอาหารข้าวของเครื่องใช้จำเป็นได้วันละ 1 คนเท่านั้น และจะเริ่มทำการตรวจเชื้อโควิดให้กับประชาชนทุกคนในเมืองเป็นเวลา 4 วัน อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า จะมีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ในทันทีหรือไม่ หลังจากการตรวจหาเชื้อหมู่ให้กับชาวเมืองเฉิงตูที่จะดำเนินไปถึงวันอาทิตย์ (4 ก.ย.) นี้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ พนักงานในภาคธุรกิจที่ไม่จำเป็นในเฉิงตู ยังถูกร้องขอให้ทำงานที่บ้านและขอให้ประชาชนไม่ออกนอกเมือง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ส่วนผู้ที่ต้องออกจากเคหะสถานเพื่อไปพบแพทย์หรือกิจธุระจำเป็นอื่นๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ในแต่ละพื้นที่เสียก่อน ขณะที่ ข้อมูลจากไฟลท์มาสเตอร์ระบุว่า เที่ยวบินเข้า-ออกนครเฉิงตู […]
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาสสองออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุดนับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ Fed […]